ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยแสงดาว สโตเกอร์ ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์ สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕ วันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๑๔ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) 1
2
วาระการประชุม ระเบียบวาระที่ ๑เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๒รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเพื่อทราบ ๓.๑สำเนาหนังสือสำนักงานประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยที่ สบอช(กบอ)/ ๓๒๐ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ๓.๒สำเนาหนังสือสำนักงานประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยที่ สบอช(กบอ)/ ๓๒๕ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และจัดสรรน้ำ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ ระเบียบวาระที่ ๔เรื่องเพื่อพิจารณา ๔.๑ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ๔.๒ร่างรายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำรายสัปดาห์ของคณะทำงาน ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ ระเบียบวาระที่ ๕เรื่องอื่น ๆ ๕.๑ นัดหมายการประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและ จัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ 2
3
3 ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา 3 ๔.๑ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ๑.กรมชลประทาน และกทม. รายงานข้อสรุปเกณฑ์และเงื่อนไขของการทดสอบการระบายน้ำเพื่อ เตรียมใช้ในการทดสอบต่อไป ๒.กฟผ. ส่งข้อมูลข้อจำกัดการระบายน้ำของทุกเขื่อนเพิ่มเติม ๓.สสนก. จัดทำระบบ monitoring เพื่อติดตามระดับน้ำในลำน้ำ ๔.หน่วยงานที่รับผิดชอบแบบจำลองของแต่ละพื้นที่ จัดทำบัญชีแบบจำลองที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและ Update สถานะของโครงการที่รับผิดชอบ (กรมชลประทาน, กรมทรัพยากรน้ำ, สำนักการระบายน้ำ และ กฟผ.) ๕.สสนก. เข้าไปดูรายละเอียดข้อจำกัดของโปรแกรมสมดุลน้ำที่กรมทรัพยากรน้ำ ๖.กรมทรัพยากรน้ำ ติดตามการเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขง ๗.กรมชลประทาน และกฟผ. ประสานงานกันในเรื่องการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลเพื่อให้เหมาะสม กับรูปแบบการใช้น้ำภาคการเกษตรโดยให้สรุปและรายงานผลในการประชุมครั้งต่อไป ๘.กรมทรัพยากรน้ำ จัดทำรูปแบบรายงานสถานการณ์น้ำประจำวันในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
4
สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ( วันที่ 8 ส. ค. 55) อ. เชียงแสน จ. เชียงราย ระดับตลิ่ง 11.80 ม. ระดับน้ำ 5.53 ม. ต่ำกว่า ตลิ่ง 6.27 ม. แนวโน้มลดลง อ. เชียงคาน จ. เลย ระดับตลิ่ง 17.40 ม. ระดับน้ำ 11.29 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 5.09 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้น อ. เมือง จ. หนองคาย ระดับตลิ่ง 12.20 ม. ระดับน้ำ 9.03 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 3.17 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้น อ. เมือง จ. นครพนม ระดับตลิ่ง 12.70 ม. ระดับน้ำ 8.69 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 4.01 ม. แนวโน้มลดลง อ. เมือง จ. มุกดาหาร ระดับตลิ่ง 12.60 ม. ระดับน้ำ 8.61 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 3.99 ม. แนวโน้มลดลง อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี ระดับตลิ่ง 16.20 ม. ระดับน้ำ 9.97 ม. ต่ำกว่า ตลิ่ง 6.23 ม. แนวโน้มลดลง ระดับน้ำในลุ่มน้ำโขง มีระดับน้ำ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
5
5 ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา 5 ๔.๒การวิเคราะห์สถานการณ์น้ำรายสัปดาห์ ๑. ติดตามสถานการณ์จากการคาดการณ์สัปดาห์ที่แล้ว ๒. การคาดการณ์สถานการณ์น้ำในสัปดาห์หน้า ๓. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์
6
6 สถานการณ์น้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อเสนอแนะจากคณะทำงานฯ 1 ส.ค. ๒๕๕๕ 1)สถานการณ์น้ำในเขื่อน เฝ้าติดตามปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนวชิราลงกรณ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหล ลงเขื่อนมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำสูงใกล้ระดับน้ำควบคุม และคาดว่าสัปดาห์หน้าจะ มีฝนตกต่อเนื่องทางด้านตะวันตกของประเทศไทย จึงเสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรม ชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาเพิ่มการระบายน้ำ ในปริมาณที่ เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ โดยไม่ให้ส่งผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมตั้งแต่ต้นปีน้อย จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อ สภาวะน้ำแล้ง เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัด ขอนแก่น ร่วมกันพิจารณาปรับลดการระบายให้เหมาะสม 2)คาดการณ์สถานการณ์ฝน เฝ้าติดตามฝนตกมากช่วงวันที่ 1-7 ส.ค. 55 เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศ พม่า ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้อาจ เกิดฝนตกค่อนข้างมากทางด้านตะวันตกของประเทศ และภาคตะวันออก บริเวณจังหวัด จันทบุรีและตราด
7
7 สถานการณ์น้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อเสนอแนะจากคณะทำงานฯ 1 ส.ค. ๒๕๕๕ (ต่อ) 3)การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ระยะยาว (ปัจจุบัน ถึง 1 พ.ย. 55 ) การคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 55 ถึงวันที่ 1 พ.ย. 55 พบว่าเขื่อนภูมิพลจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 5,339 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จะมี ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 4,434 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะมีปริมาณน้ำไหล เข้าสะสม 2,279 ล้าน ลบ.ม. โดยปริมาณน้ำไหลเข้าของทั้ง 3 เขื่อนอยู่ในเกณฑ์น้ำ ปานกลาง ควรบริหารเขื่อนทั้งสามโดยมีเป้าหมาย คือให้มีปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนภูมิพลไม่ ต่ำกว่า 74% เขื่อนสิริกิติ์ไม่ต่ำกว่า 82% และป่าสักชลสิทธิ์ไม่ต่ำกว่า 90% เมื่อสิ้น ฤดูฝน เพื่อให้เขื่อนทั้งสามแห่ง มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในช่วง ฤดูแล้งต้นปี 2556 ระยะสั้น เสนอให้ยังคงการระบายน้ำที่เขื่อนภูมิพล วันละ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร และลด การระบายน้ำที่เขื่อนสิริกิติ์เหลือวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 55 เป็น ต้นไป ทั้งนี้ช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. 55 อาจจะมีการปรับเพิ่มการระบายเนื่องจากต้องการใช้ น้ำเพื่อทดสอบระบบที่เขื่อนนเรศวร
8
สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน จากการคาดการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว 9 สิงหาคม 2555
9
แผนภาพฝนสะสมรายวัน (1 – 7 ส.ค. 55) 2 ส.ค. 55 1 ส.ค. 553 ส.ค. 55 4 ส.ค. 555 ส.ค. 556 ส.ค. 557 ส.ค. 55
10
ปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง 7 วัน
11
เรดาร์พิษณุโลก ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา 7 ส.ค. 558 ส.ค. 55 1 ส.ค. 55 2 ส.ค. 55
12
เรดาร์สัตหีบ ที่มา : สำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร 3 ส.ค. 556 ส.ค. 55 1 ส.ค. 55 2 ส.ค. 55
13
สถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล รับน้ำได้อีก 7,230 ล้าน ลบ. ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรายวัน ปริมาณน้ำกักเก็บ 46% (8 ส. ค.55) ปริมาณน้ำระบายรายวัน 27 ก.ค.- 8 ส.ค. 55 ระบายวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. ที่มา : กรมชลประทาน,การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
14
สถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรายวัน ที่มา : กรมชลประทาน,การไฟฟ้าฝ่ายผลิต รับน้ำได้อีก 5,010 ล้าน ลบ. ม. 47% (8 ส. ค.55) ปริมาณน้ำระบายรายวัน 6 - 8 ส.ค. 55 ระบายวันละ 13 ล้าน ลบ.ม.
15
สถานการณ์น้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, กรมชลประทาน ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง อย่างต่อเนื่อง แต่มี แนวโน้มลดลง ปริมาณน้ำไหลเข้า 2 ส.ค. 111.22 ล้าน ลบ.ม. 4 ส.ค. 102.63 ล้าน ลบ.ม. 5 ส.ค. 95.73 ล้าน ลบ.ม. 6 ส.ค. 73.30 ล้าน ลบ.ม. 7 ส.ค. 71.21 ล้าน ลบ.ม. 8 ส.ค. 69.17 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 2,729 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรายวัน ปริมาณน้ำกักเก็บ 69% (8 ส.ค.55) 8 ส.ค. 55 ระบาย 27.80 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายรายวัน
16
สถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, กรมชลประทาน ปริมาณน้ำไหลเข้า ค่อนข้างน้อยตั้งแต่ต้นปี ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม ณ วันที่ 8 ส.ค. 55 442 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรายวัน ปริมาณน้ำกักเก็บ 25% (8 ส.ค.55) 8 ส.ค. 55 ระบาย 2.86 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายรายวัน
17
สถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่มา : กรมชลประทาน ปริมาณน้ำกักเก็บ 13% (8 ส.ค.55) ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรายวัน 10 ก.ค. - 8 ส.ค. 55 ระบายวันละประมาณ 1 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าค่อนข้างน้อย ปริมาณน้ำระบายรายวัน
18
สรุปสถานการณ์น้ำและ การคาดการณ์ในสัปดาห์หน้า 18
19
19 การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF (ความละเอียด 3x3 กม.) ช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. 55 รายละเอียดเพิ่มเติมรายละเอียดเพิ่มเติม www.thaiwater.net 9 ส.ค. 5510 ส.ค. 55 11 ส.ค. 55
20
การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF (ความละเอียด 9x9 กม.) ช่วงวันที่ 12 – 15 ส.ค. 55 20 รายละเอียดเพิ่มเติมรายละเอียดเพิ่มเติม www.thaiwater.net 12 ส.ค. 55 14 ส.ค. 55 13 ส.ค. 55 15 ส.ค. 55
21
SSTA 6 สิงหาคม 2555 21 ONI= 0 IOD = 0.03 PDO = -2.2 Ocean Nino Index (ONI) เป็นค่าเฉลี่ย SSTA 3 เดือน (พฤษภาคม-มิถุนายน-กรกฎาคม) ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณ 5 o N-5 o S, 120 o -170 o W Pacific Decadal Oscillation (PDO) เป็นค่าเฉลี่ย SSTA เดือนมิถุนายนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือ 20 o N Indian Ocean Dipole (IOD) เป็นผลต่าง SSTA ของเดือนมิถุนายน บริเวณ 50-70 o E, 10 o S-10 o N และ 90-110E, 10 o S-0 o N ดัชนี PDO ต่ำกว่าปกติค่อนข้างมาก (แรงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจาก -1.7 เป็น -2.2) ดัชนี ONI ยังคงสภาพเป็นกลาง ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ 0 และจากนี้ไปมีแนวโน้มจะ เปลี่ยนสภาพเป็น Elnino ต่อเนื่องถึงปลายปี 2555 ดัชนี IOD ยังคงสภาพเป็นกลาง ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ 0.03
22
แผนที่ฝนสะสมเดือนกรกฎาคม 2555 OMT CMT เดือนกรกฏาคม 55 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวงจรการหมุนเวียนของอากาศ 2 กลุ่ม ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก (OMT) และมหาสมุทรอินเดีย (CMT)
23
คาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล 23 กราฟแสดงการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ เขื่อนภูมิพล (ระยะสั้น) กราฟแสดงการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ เขื่อนภูมิพล (ระยะยาว) ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน
24
คาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อนสิริกิติ์ กราฟแสดงการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ (ระยะสั้น) กราฟแสดงการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ (ระยะยาว) ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน
25
คาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กราฟแสดงการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (ระยะยาว) ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน
26
คาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อนวชิราลงกรณ กราฟแสดงการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ เขื่อนวชิราลงกรณ (ระยะยาว) ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน
27
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่มา : กรมชลประทาน 8 ส.ค. 2555
28
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่มา : สสนก. 9 ส.ค. 2555
29
สภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก-ตะวันตก ที่มา : กรมชลประทาน
30
การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์สมดุลน้ำ ประจำสัปดาห์
31
ผลการวิเคราะห์สมดุลน้ำ 9 สิงหาคม 2555
32
32 ผลการวิเคราะห์สมดุลน้ำ 32 1)สถานการณ์สมดุลน้ำเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่โดยรวมมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้ง สัปดาห์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อย ในขณะที่ความต้องการน้ำในภาพรวมมีแนวโน้ม ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่ Block 5 (ใต้เขื่อนภูมิ พล) พื้นที่ Block 10 และ 11 (ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก) มีปริมาณ ฝนตกน้อยทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าความต้องการ ส่วนพื้นที่อื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ ปกติ 2) สมดุลน้ำในสัปดาห์หน้า จากการคาดการณ์ปริมาณฝน พบว่าจะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นโดย เฉพาะที่ลุ่มน้ำยมและน่าน (Block 3,4) ทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเกินสมดุลเป็น ปริมาณมาก จากการตรวจสอบสภาพลำน้ำและสถานะของเขื่อนสิริกิติ์พบว่าอยู่ใน สภาวะปกติและคาดว่าจะไม่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ส่วนในพื้นที่อื่นๆ สมดุลเป็นบวกปกติ
33
33 สรุปข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน 33 1)การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน เขื่อนภูมิพล ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรขอให้กรมชลประทานเพิ่มการระบายน้ำ จากเขื่อนภูมิพลเพื่อลดการตายของปลาในกระชังของเกษตรกร แต่ปัจจุบันเขื่อนภูมิ พลมีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูแล้ง จึง เสนอให้กรมชลประทาน กฟผ. และจังหวัดกำแพงเพชร ลงทะเบียนผู้เลี้ยงปลาพร้อม สำรวจความเสียหาย และพิจารณาช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนก่อน ในระยะยาวควรปรับ การใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกและการเลี้ยงปลาให้สมดุลกัน เพื่อลดข้อจำกัดการระบาย ท้ายเขื่อน เขื่อนสิริกิติ์ โครงการชลประทานอุตรดิตถ์ ขอให้เขื่อนสิริกิติ์เพิ่มการระบายน้ำจากวัน ละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นวันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมระยะเวลา 14 วัน เริ่ม ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 55 เพื่อยกระดับน้ำให้สูงพอที่จะสูบน้ำได้และไม่ให้เกิดความ เสียหายกับผลผลิตของเกษตรกรประมาณ 20,000 ไร่ แต่ปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณ น้ำค่อนข้างน้อย ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าฤดูฝนปีนี้จะสิ้นสุดเร็วกว่า ปกติ จึงเสนอให้ระบายน้ำวันละ 15 ล้านลูกบาศก์เมตรเป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อ แก้ปัญหาในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวเสนอให้ปรับปรุงระบบสูบน้ำให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น
34
34 สรุปข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน 34 1)การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน (ต่อ) เฝ้าติดตามปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนวชิราลงกรณ ในช่วงที่ผ่านมาเขื่อนวชิราลง กรณมีน้ำไหลเข้าค่อนข้างมาก และคาดว่าในช่วงวันที่ 8-15 ส.ค. 55 จะมีปริมาณน้ำ ไหลเข้ามากถึง 698 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่อย่างไรก็ตามเขื่อนยังสามารถรับน้ำได้อีก 2,679 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนอุบลรัตน์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมตั้งแต่ต้นปีน้อย จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อ สภาวะน้ำแล้ง เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัด ขอนแก่น ร่วมกันพิจารณาปรับลดการระบายให้เหมาะสม
35
35 สรุปข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน 35 2)คาดการณ์สถานการณ์ฝน ตั้งแต่ต้นปี 2555 ปริมาณฝนบริเวณภาคเหนือมีลักษณะคล้ายกับปี 2544 (เกณฑ์ฝน ปานกลาง) และจากการคาดการณ์ฝนทั่วประเทศด้วยดัชนี ONI, PDO และ IOD พบว่า แนวโน้มของปริมาณฝนต่อจากนี้ มีลักษณะคล้ายกับปี 2551 และปี 2552 (เกณฑ์ฝน ปานกลาง) ล่วงหน้า 3 เดือน ประเทศไทยจะมีฝนมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือฝั่งตะวันออก ล่วงหน้า 1 เดือน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ซึ่งจะ ส่งผลให้ด้านตะวันตกของประเทศและแนวรับลมมรสุมมีฝนตกหนัก เฝ้าติดตามฝนตกหนักช่วงวันที่ 9-10 ส.ค. 55 เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้อาจเกิดฝนตกหนักทางด้าน ตะวันออกของภาคเหนือ และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
36
36 สรุปข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน 36 3)การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ในช่วงที่ผ่านมา (1 ม.ค. ถึง 8 ส.ค. 55) เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมตั้งแต่ต้นปี 1,530 ล้าน ลบ.ม. สูงกว่า ค่าเฉลี่ย 7% เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมตั้งแต่ต้นปี 2,221 ล้าน ลบ.ม. ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย แต่จากการระบายน้ำเพื่อการเกษตรและป้องกันอุกทกภัยตามแผนที่ ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ยังสามารถรับน้ำได้อีก 7,225 ล้าน ลบ. ม. และ 4,995 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ ในระยะต่อไปเสนอให้บริหารจัดการน้ำของเขื่อนทั้ง 2 แห่ง ดังนี้ ระยะยาว (ปัจจุบัน ถึง 1 พ.ย. 55 ) การคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 55 ถึงวันที่ 1 พ.ย. 55 พบว่าเขื่อนภูมิพลจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 5,339 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จะมี ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 4,434 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะมีปริมาณน้ำไหล เข้าสะสม 2,279 ล้าน ลบ.ม. โดยปริมาณน้ำไหลเข้าของทั้ง 3 เขื่อนอยู่ในเกณฑ์น้ำ ปานกลาง ควรบริหารเขื่อนทั้งสามโดยมีเป้าหมาย คือให้มีปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนภูมิพลไม่ ต่ำกว่า 74% เขื่อนสิริกิติ์ไม่ต่ำกว่า 82% และป่าสักชลสิทธิ์ไม่ต่ำกว่า 90% เมื่อสิ้น ฤดูฝน เพื่อให้เขื่อนทั้งสามแห่ง มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในช่วง ฤดูแล้งต้นปี 2556 ระยะสั้น ในส่วนของเขื่อนภูมิพล เสนอให้เพิ่มการระบายจากเดิมวันละ 8 ล้านลูกบาศก์ เมตร เป็นวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ เสนอให้ระบายวันละ 15 ล้านลูกบาศก์เมตรเป็นระยะเวลา 7 วัน
37
37 ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา 37 ระเบียบวาระที่ ๕เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ๕.๑ นัดหมายการประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการเสนอต่อ กบอ. วันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งต่อไป วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. สถานที่..................
38
38 จบการรายงาน
39
39
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.