ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยชนินทร์ เคนเนะดิ ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
การวางแผน การศึกษาระดับ จุลภาค Micro Planning
2
ความเชื่อพื้นฐานทางการวางแผน การศึกษา การวางแผนก็เปรียบเสมือนการจัดให้มี แนวปฏิบัติว่าในระยะเวลาหนึ่งจะต้องทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไร แต่ในการวางแผนที่ มีระดับความซับซ้อนอย่างไร ก็มีคติ ความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญร่วมกัน ประการหนึ่งคือ ความเชื่อเรื่อง “ ประสิทธิภาพ ” และ “ ประสิทธิผล ” “ ประสิทธิภาพ ” คือ สมรรถนะของ ทรัพยากรในองค์กร 4 M ได้แก่คน งบประมาณ วัสดุ และการจัดการ “ ประสิทธิผล ” คือ ผลที่เกิดขึ้นจาก “ ประสิทธิภาพ ” หลักและแนวคิดในการวางแผน การศึกษาในระดับจุลภาค
3
การวางแผนโดยทั่ว ๆ มุ่งเน้นการวางแผน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสองมิติคือ 1. วางแผนการศึกษาในลักษณะ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความ ต้องการของสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา เช่น วางแผนให้สอดคล้องกับ อัตราการเปลี่ยนแปลงหรืออัตราการเพิ่ม ของประชากรและวางแผนให้สอดคล้อง กับความต้องการทางแรงงาน 2. วางแผนการศึกษาในลักษณะที่ คำนึงถึงอัตราตอบแทนที่คุ้มค่ากับการ ลงทุน การวางแผนลักษณะนี้คำนึงถึงมิติ ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมและ การเมือง เป้าหมายหลักของการวางแผน การศึกษา
4
การวางแผนทั้ง 2 มิติ ยังมีการนำเรื่อง คุณภาพของการศึกษาเข้ามาเป็น จุดมุ่งหมายของการศึกษาอีกด้วยโดย เชื่อว่าระบบการศึกษาทั้งระบบสามารถ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมด้วย
5
ในการวางแผนถ้านักวางแผนไม่มี ความเข้าใจเบื้องต้นจะไม่สามารถ วินิจฉัยได้ว่า อะไรเป็นสภาพ ปัจจุบันที่เป็นอยู่ อะไรคือปัญหา และอะไรคือความต้องการ ก็ยากที่ จะวางแผนและนำแผนไปปฏิบัติให้ เป็นผลสำเร็จได้ ดังนั้นนักวางแผน ควรจะเข้าใจความหมายของคำ เหล่านี้ให้ชัดเจนก่อน สภาพปัจจุบัน หมายถึง สภาพ ความเป็นจริงที่กำลังเป็นอยู่ สภาพปัญหา หมายถึง สภาพที่ แตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือผลที่ปรากฏกับสิ่งที่ต้องการให้ เกิดขึ้นไม่ตรงกัน ความต้องการ หมายถึง แนวโน้มที่ จะให้ถึงจุดหมายที่พึงปรารถนา ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ วางไว้
6
การวางแผนการศึกษานอก โรงเรียนในระดับจุลภาค เศรษฐ กิจ ประชากร และสังคม วัฒนธร รม การเมืองการ ปกครอง การศึกษา นอกโรงเรียน สาธาร ณสุข อื่นๆ
7
1. ปก 2. คำนำ 3. ข้อมูลตำบล ด้านประชากร สภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ประเพณี วัฒนธรรม 4. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความ ต้องการของชุมชนจากข้อมูลตามข้อ 3 5. ปรัชญาของ กศน. ตำบล 6. วิสัยทัศน์ของ กศน. ตำบล 7. พันธกิจของ กศน. ตำบล รูปเล่มการวางแผนจัดการศึกษาใน ระดับจุลภาค
8
8. เป้าประสงค์ 9. โครงการต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ ของ กศน. ตำบล 9.1 โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยการนำข้อมูลจากการสำรวจ ประชากรผู้ไม่รู้หนังสือตามข้อมูล ประชากรในตำบลโดยการสำรวจ กลุ่มเป้าหมายอายุ 15 – 59 ปี อยู่ หมู่บ้านอะไร จำนวนเท่าไหร่ มีวิธีการ จัดอย่างไร ระยะเวลาในการจัด งบประมาณที่ใช้อย่างชัดเจน 9.2 โครงการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน จัดเพื่อยกระดับการศึกษา ให้กับประชากรในตำบล โดยใช้ข้อมูล ประชากรในตำบลที่ได้รับการศึกษาใน ระดับต่าง ๆ ทั้งในและนอกระบบมา กำหนดปริมาณในการจัดการศึกษา รูปเล่มการวางแผนจัดการศึกษา ในระดับจุลภาค ( ต่อ )
9
9.3 โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จัดเพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ ให้กับประชากรในตำบลโดยระบุ วิชา ที่จัด หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา งบประมาณให้ชัดเจน 9.4 โครงการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาทักษะชีวิต จัดเพื่อพัฒนาทักษะ ชีวิตให้กับประชาชนในตำบลโดยใช้ ข้อมูลสภาพทางสังคม การเมือง ประเพณีและวัฒนธรรม โดยระบุ เนื้อหา หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาและงบประมาณให้ชัดเจน 9.5 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและ ชุมชน จัดให้กับประชาชนในตำบล โดยใช้ข้อมูลสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประเพณีและ วัฒนธรรม โดยระบุเนื้อหา หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา งบประมาณ ที่ใช้ให้ชัดเจน
10
9.6 โครงการการจัดการศึกษาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัด ให้กับประชาชนในตำบลโดยใช้ข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ โดยระบุศูนย์การเรียนรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา ระยะเวลา งบประมาณให้ชัดเจน 9.7 โครงการส่งเสริมการอ่าน ระบุ กิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น ครอบครัวรัก การอ่าน มุมส่งเสริมการอ่านในชุมชน กศน. ตำบลเคลื่อนที่ อาสาสมัครรักการ อ่าน มุมหนังสือที่ท่ารถ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม สถานีอนามัย 9.8 โครงการจัดบริหารสื่อประเภท ต่าง ๆ เช่น นสพ. สื่อสาธิต สื่อทดลอง ฯลฯ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.