ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยศิริพร ติณสูลานนท์ ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
ประชิด เกิดมาก ผู้วิจัย
2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียน การสอนด้วยจิกซอว์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน และหลังเรียนเรื่องการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะที่ มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์
3
ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 05- 072-207 รายวิชาสัมมนาการจัดการเรื่องการ จัดสัมมนาวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการจัดการ ที่ลงทะเบียน เรียนวิชา 05-072-207 รายวิชาสัมมนาการจัดการเรื่อง การจัดสัมมนา วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ที่ได้มา โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
4
ผลวิเคราะห์ (1) ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนและหลังเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 การทดสอบ n S.Dt ก่อนเรียน 4025.694.66 0.298* หลังเรียน 4033.692.42
5
ผลวิเคราะห์ (1) จากตารางที่ 1 เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนที่ ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรม การเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ ผลการศึกษา t-test = 0.298 แสดง ว่า จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียน แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง การจัด สัมมนา ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้
6
ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค จิกซอว์ รายการ NS.D. ร้อย ละ จำนวนนักศึกษา 40 คะแนนทดสอบก่อนเรียน 4025.694.6664.31 ผลรวมของคะแนนที่ได้จาก การทดสอบย่อย 4025.691.8383.00 ท้ายแผนและคะแนนใบ งาน คะแนนทดสอบหลังเรียน 4033.722.4185.00 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 83.00/85.00
7
จากตารางที่ 2 คะแนนจากการทำ แบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย กิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วย เทคนิคจิกซอว์เรื่องการจัดสัมมนา ทั้งสองชุด คะแนนใบงานจากแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อม คะแนนประเมินระหว่างเรียนมีค่าเฉลี่ย 25.69 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 83.00 และคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 33.72 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ดังนั้นแผนการ จัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ ร่วมมือเทคนิคจิกซอว์เรื่องการจัดสัมมนาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.00/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
8
สรุปผลการวิจัย 1. สภาพการจัดการเรียนการสอน ตามที่ ผู้สอนกำหนดเกณฑ์การผ่านร้อยละ 75 ขึ้นไป ผลการทดสอบก่อนเรียนนักศึกษา ได้คะแนนร้อย ละ 75 ขึ้นไป คิดเป็นจำนวนร้อยละ 64.31 ผล การทดสอบหลังเรียนนักศึกษาได้คะแนนร้อยละ 75 ขึ้นไป คิดเป็นจำนวนร้อยละ 85.00 2. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบ ร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ รายวิชาสัมมนาการจัดการ เรื่องการจัดสัมมนา จำนวน 40 คน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่ง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
9
3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อความ เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ ใน การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อ ความเหมาะสมในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิก ซอว์ ทั้ง 4 ด้าน ในการเรียนการสอนรายวิชาสัมมนาการจัดการ เรื่อง การจัดสัมมนา เมื่อพิจารณาภาพรวม ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิก ซอว์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.64 (SD = 0.44) สรุปผลการวิจัย (2)
10
ข้อเสนอแนะ 1. จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบ ร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ ทำให้มนุษยสัมพันธ์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ดังนั้น ครูผู้สอนควรศึกษาการ ใช้เทคนิคจิกซอว์ให้เข้าใจ วิเคราะห์หาความ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่สอนให้เหมาะสม 2. ครูควรอธิบายแนะนำขั้นตอน ประโยชน์ และความสำคัญของกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ให้กับผู้เรียน พร้อมทั้ง อธิบายถึงความสำคัญของทักษะและคุณสมบัติ ของผู้เรียนที่ต้องการจะพัฒนาควบคู่ไปกับ การ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ ผู้เรียนเข้าใจตรงกัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.