ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยมานิตย์ หงสกุล ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
คู่มือการยืมเงินราชการและเงินทด รองราชการ วัตถุประสงค์ การยืมเงินราชการและเงินทดรอง ราชการ เป็นกระบวนการหนึ่งของการเบิก จ่ายเงินจากคลัง คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง การยืมเงินราชการและเงินทดรองราชการ ฉบับนี้ เป็นแนวทางในการดำเนินงานบาง รายการที่จำเป็นต้องมีเงินงบประมาณเพื่อ สำรองไว้ใช้จ่าย เช่น การเดินทางไปราชการ การจัดอบรมสัมมนา ซึ่งหน่วยงานเห็น ความสำคัญในกระบวนการดังกล่าว จึงได้ จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ด้านการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ
2
ขอบเขต ๑. คู่มือนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงานของหน่วยงาน ๒. การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ในแต่ละกิจกรรม อยู่ภายใต้ระเบียบการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ. ศ. ๒๕๔๗ ๓. แนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับใบสำคัญต่างๆ เพื่อขอเบิกจ่ายเงินอยู่ภายใต้ระเบียบการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณตามหมวดรายจ่ายประเภทต่างๆ
3
คำจำกัดความ เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่ส่วนราชการมีไว้เพื่อ ทดรอง ใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่าย ดังต่อไปนี้ ๑. งบบุคลากรเฉพาะค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่าย เป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ แต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้าง แต่ละวันหรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง ๒. งบดำเนินงานยกเว้นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ๓. งบกลางเฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตรและเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาล ๔. งบอื่นที่จ่ายในลักษณะเช่นเดียวกับ ( ๑ ) หรือ ( ๒ ) เงินยืมราชการ เป็นการยืมเงินจากเงินงบประมาณ รายจ่าย ในหมวดรายจ่ายเช่นเดียวกับเงินทดรองราชการ ตามข้อ ๑ - ๔ ยกเว้น งบกลาง ( ตามข้อ ๓ )
4
ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. ผู้ยืมต้องได้รับอนุมัติให้ไปราชการหรือมี โครงการรองรับและได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว เท่านั้น ๒. ไม่ค้างชำระหนี้เงินยืมสัญญาเดิม ๓. ผู้ยืมส่งสัญญายืมเงิน จำนวน 2 ฉบับ ในการยืม เงินเงินในแต่ละครั้ง พร้อมเอกสารประกอบ เช่น ประมาณ การค่าใช้จ่าย หนังสือสั่งการหรือหนังสืออนุมัติให้ไป ราชการ โครงการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม ตาราง การฝึกอบรม ๔. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรายการ และจำนวนเงินที่ยืม ๕. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เสนอผู้มีอำนาจเพื่อ พิจารณาอนุมัติให้ยืม
5
การส่งใช้ใบสำคัญคู่จ่ายและเงินเหลือจ่าย - ส่งใช้ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับเงิน กรณี ดังต่อไปนี้ ๑. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ๒. เงินยืมราชการอื่นๆ - ส่งใช้ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันเดินทางกลับ กรณี ดังต่อไปนี้ ๑. เดินทางไปราชการชั่วคราว ๒. เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
6
เอกสารประกอบการส่งคืนเงินยืมเพื่อไปราชการ ๑. แบบรายงานการเดินทางไปราชการ ( แบบ ๘๗๐๘ ) ๒. ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ( บก. ๑๑๑ ) ๓. หลักฐานการจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ราชการ ( กรณีเบิกเป็นหมู่คณะ ) ๔. ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าห้องพักของโรงแรม ( ถ้ามี ) ๕. ใบแจ้งรายการของโรงแรม ( FOLIO ) ๖. กากตั๋วเครื่องบิน ( ถ้ามี ) ๗. หนังสือสั่งการหรือหนังสืออนุมัติให้ไปราชการ ประมาณการค่าใช้จ่าย
7
เอกสารประกอบการส่งคืนเงินยืมเพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ๑. หนังสือสั่งการหรือหนังสืออนุมัติ ๒. โครงการฝึกอบรม ๓. หลักสูตรการฝึกอบรม ๔. ตารางการฝึกอบรม ๕. ประมาณการค่าใช้จ่าย ๖. ค่าตอบแทนวิทยากร ประกอบด้วย หนังสือเชิญ วิทยากร, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาหนังสือ เดินทาง (PASTPORT) ๗. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๘. ค่าอาหารกลางวัน ๙. รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม / เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง
8
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล - ผู้ที่ต้องการใช้เงินทดรองราชการสามารถ ศึกษาขั้นตอนและวิธีการจัดทำสัญญาการยืมเงิน ได้ด้วยตนเอง - สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานแทนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ข้อกำหนดด้านกฎหมาย - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทด รองราช พ. ศ. ๒๕๔๗ - ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บ รักษาเงินและนำเงินส่งคลัง พ. ศ. ๒๕๕๑
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.