in the Second Semester of 2013 Self Directed Learning Readiness among the Second Year Diploma Students of Lanna Polytechnic Chiangmai Technological College in the Second Semester of 2013 ระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงปีที่ 2 ของวิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 นางสาวจันทนี กันโฑ
ที่มาและความสำคัญของปัญหา ยุคแห่งเทคโนโลยีและข่าวสาร การเปิดประชาคมอาเซียน นักศึกษามีการออกฝึกงาน พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสม ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน
วัตถุประสงค์ สมมติฐานในงานวิจัย เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สมมติฐานในงานวิจัย นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning Readiness : SDLR) จาก Guglielmino ปี 1977 การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ มโนคติของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ความรักในการเรียนรู้ การมองอนาคตในแง่ดี ความสามารถใช้ทักษะในการศึกษาหาความรู้ และทักษะการแก้ไขปัญหา ความริเริ่มและอิสระในการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นข้อความแบบตรวจรายการจำนวน 34 ข้อ และมาตรวัดประมาณค่าจำนวน 5 ระดับ โดยดัดแปลงมาจากแบบวัดระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของ Guglielmino 1997
รูปแบบการวิจัย การรวบรวมข้อมูล เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ โดยเน้นมุ่งศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 การรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย 1 กลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ให้ได้จำนวนนักศึกษาระดับปวส. 2 จำนวน 100 คน จากทุกสาขา
ตัวแปร ตัวแปรต้น ได้แก่ การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ ตัวแปรต้น ได้แก่ การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ มโนคติของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ความรักในการเรียนรู้ การมองอนาคตในแง่ดี ความสามารถใช้ทักษะในการศึกษาหาความรู้และทักษะการแก้ไขปัญหา ความริเริ่มและอิสระในการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ตัวแปรตาม ได้แก่ ระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา
สรุป ผลการวิจัย ผลการศึกษาการระดับความพร้อมในการเรียนรู้นักศึกษาระดับชั้น ปวส. ชั้นปีที่ 2 สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ คือ นักศึกษามีระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (3.31)
อภิปรายผลการศึกษา การสำรวจระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาชั้น ปวส. ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ทำให้นักศึกษามีการตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ไม่จำกัดแค่ในห้องเรียนหรือภายในสถานศึกษา เพราะปัจจุบันนี้เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี มนุษย์สามารถหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นยังส่งผลให้นักศึกษาใช้เวลาว่างได้อย่างมีประโยชน์ เพราะแหล่งการเรียนรู้ไม่ได้มีแค่ตำราเรียนหรือในสถานศึกษาเท่านั้น
ข้อเสนอแนะและประโยชน์ของการศึกษา ข้อเสนอแนะในการเรียนการสอน ผู้สอนควรกระตุ้นให้นักศึกษาศึกษาหาความรู้จากแหล่งเพิ่มเติมให้มากขึ้น เช่น แนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน หนังสือ หรือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่นักศึกษาสนใจ รวมถึงสื่อต่างๆ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาในเรื่องของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระดับความพร้อมใน การเรียนรู้ของนักศึกษาให้ครบทุกชั้นปี