คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 12 กันยายน 2554
สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้มิใช้บังคับแก่ - ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น - กิจการอื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ การบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1. มาตรา 8 ให้นายจ้าง จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง 2. ให้นายจ้างจัดทำเอกสารหรือรายงานใด โดยมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่กำหนดในกฎกระทรวง 3. ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ การดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้รับเหมาชั้นต้น และผู้รับเหมาช่วง 1. มาตรา 18 กรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกรายในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ 2. ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งใช้ในสถานประกอบการนั้นด้วย
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 3. มาตรา 23 ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วง ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างเช่นเดียวกับนายจ้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง การดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของนายจ้าง ผู้เช่าอาคาร สถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ 1. มาตรา 19 กรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในสถานประกอบการ และมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ให้เช่าจะเรียกร้องความเสียหายหรือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ การคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง 1. มาตรา 42 ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างดำเนินการฟ้องร้องหรือเป็นพยานหรือให้หลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย ทั้งนี้กรณีเลิกจ้าง ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 2. มาตรา 39 ระหว่างหยุดการทำงานหรือหยุดกระบวนการผลิตตามมาตรา 36 ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก้ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการหยุดทำงาน เว้นแต่ลูกจ้างจงใจกระทำให้เป็นเหตุให้มีการหยุดการทำงาน
จบการนำเสนอ