แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคลสิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ ที่มา : http://prezi.com/tho8lguqbzay
ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ 1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล 2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ 3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ 3.1 สื่อทางด้านกายภาพ 3.2 สื่อทางด้านวิธีการ 3.2.1 สื่อท้องถิ่น 3.2.2 สื่อกิจกรรม 4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
ตัวอย่างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ
ประโยชน์ของแหล่งการเรียนรู้ 1. ทําให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ 2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง 3. ทําให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น 4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก 5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ 6. ทําให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 7. ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน 8. ทําให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก 9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้ 10. ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
แหล่งการเรียนรู้ไอซีที
ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง ขอบเขตแห่งความสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีลักษณะประสานติดต่อสัมพันธ์ เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรม ระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่ม และกลุ่มกับกลุ่ม กลุ่มเครือข่ายเทคโนโลยี ซึ่งใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสูงในภาคสังคมเมือง ธุรกิจ และสถาบันการศึกษา ที่มา : http://prezi.com/tho8lguqbzay
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้ คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้ 1. สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก 2. เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทํางานร่วมกันเป็นกลุ่ม 3. สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ 4. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน 5. จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือน ชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
องค์ประกอบด้านโทรคมนาคมกับเครือข่ายการเรียนรู้ 1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) 3. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในเครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย
องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ 5 ด้านคือ 1. Authentic learning การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง 2. Mental Model Building การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์อาจมองอีกมุมหนึ่งว่า เป็น authentic learning แนวหนึ่ง คือ การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อ 3. Internal Motivation การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ 4. Multiple Intelligence มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และเด็กแต่ละคนมีความ ถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน 5. Social Learning การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ก็จะสามารถออกแบบ กระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก
THE END