งานพัสดุ สินทรัพย์ วัสดุ
สินทรัพย์ การขึ้นทะเบียนสินทรัพย์ ๑.๑. กรณีครุภัณฑ์ได้มาจากการจัดซื้อ จัดจ้าง และเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน จะต้องทำการขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ในระบบ GFMIS ก่อน ซึ่งจะทำให้ได้เลขทะเบียนครุภัณฑ์จากระบบ GFMIS (แต่ถ้าครุภัณฑ์ได้มาจากการรับบริจาคหรือซื้อจากเงินนอกงบฯ ไม่ต้องขึ้นทะเบียนในระบบ GFMIS) ๑.๒. บันทึกขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ในระบบ e-office ๑.๓. พิมพ์บาร์โค้ด สำหรับติดที่ตัวครุภัณฑ์
การขึ้นทะเบียนสินทรัพย์
การขึ้นทะเบียนสินทรัพย์
พิมพ์บาร์โค้ด
แจ้งซ่อมสินทรัพย์ ๒.๑ เมื่อครุภัณฑ์ชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่ผู้ถือครอง/ผู้รับผิดชอบ จะต้องทำการบันทึกแจ้งซ่อมครุภัณฑ์ เพื่อเสนอ หัวหน้างานพิจารณาเห็นชอบ ๒.๒ เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ ตรวจสอบอาการเสียหายของครุภัณฑ์ที่หน่วยงานต่างๆ แจ้งซ่อมมา - กรณีที่สามารถซ่อมเองได้โดยศูนย์ซ่อม ไม่ต้องเสนอพิจารณาอนุมัติ โดยให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ซ่อมทำการซ่อมและบันทึกประวัติการซ่อมครุภัณฑ์ได้เลย - กรณีที่จำเป็นต้องจัดจ้างซ่อม เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ จะประเมินราคามูลค่าซ่อมครุภัณฑ์จากบริษัท/ร้านค้าที่จะทำการจ้างซ่อมครุภัณฑ์ก่อนที่จะบันทึกขออนุมัติซ่อม และเสนอ ผู้รับผิดชอบงานบริหารพัสดุ ๒.๓ ผู้รับผิดชอบงานบริหารพัสดุ พิจารณาเห็นชอบ และเสนอ ผอ.รร. ๒.๔ เมื่อ ผอ.รร. อนุมัติซ่อมแล้ว เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ ทำการจัดจ้างซ่อมและทำการตรวจรับการซ่อม ๒.๕ เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ ทำการบันทึกประวัติการซ่อมครุภัณฑ์
การแจ้งซ่อมสินทรัพย์
การแจ้งซ่อมสินทรัพย์
ตัดจำหน่ายครุภัณฑ์ ๓.๑. เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ บันทึกขออนุมัติตัดจำหน่ายครุภัณฑ์ ตามรายการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาการตัดจำหน่ายครุภัณฑ์แล้ว ตามประเภทการจำหน่าย เช่น ขายทอดตลาด, ทำลาย, บริจาค, โอน (กรณีจำหน่ายโดยการโอน จะต้องระบุหน่วยงานรับโอนด้วย) และเสนอ ผู้รับผิดชอบงานบริหารพัสดุ พิจารณาเห็นชอบ ๓.๒. ผู้รับผิดชอบงานบริหารพัสดุ ที่รับผิดชอบงานบริหารพัสดุ พิจารณาเห็นชอบ และเสนอต่อ ผอ.รร. ๓.๓. กรณีเป็นการตัดจำหน่ายโดยวิธีการโอน หน่วยงานที่รับโอนจะต้องทำการบันทึกรับโอนครุภัณฑ์เพื่อสร้างเลขทะเบียนครุภัณฑ์ใหม่ในหน่วยงานของตนเองด้วย
การแจ้งซ่อมสินทรัพย์
การแจ้งซ่อมสินทรัพย์
วัสดุ การนำวัสดุเข้าคลัง ๑.๑ เจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ ตรวจสอบความถูกต้องของวัสดุ ตามรายการใบตรวจรับวัสดุ ๑.๒ เจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ ทำการบันทึกนำวัสดุเข้าคลัง เพื่อปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง (จะมีการกำหนดคลังวัสดุของตนเอง)
นำวัสดุเข้าคลัง
นำวัสดุเข้าคลัง
นำวัสดุเข้าคลัง
การเบิกวัสดุ ๒.๑. เจ้าหน้าที่ ที่ต้องการเบิกวัสดุ บันทึกขอเบิกวัสดุ เพื่อเสนอ หัวหน้างาน พิจารณาเห็นชอบ ๒.๒. หัวหน้างาน พิจารณารายการที่มีการแจ้งเข้ามาและบันทึกใบขอเบิกวัสดุ เพื่อเสนอ เจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ ตรวจสอบและตัดเบิกจ่ายวัสดุคงเหลือในคลัง ๒.๓. เจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ พิจารณาการขอเบิกวัสดุและทำการตัดยอดเบิกจ่ายวัสดุในคลัง ๒.๔. เมื่อเจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ ทำการบันทึกการตัดยอดเบิกจ่ายวัสดุแล้ว จะมีการแจ้งมาที่ผู้ขอเบิกและหัวหน้างาน ให้ทราบ ๒.๕. เจ้าหน้าที่ผู้ขอเบิกพิมพ์ใบแบบฟอร์มการเบิกวัสดุ เพื่อให้ หัวหน้างาน เซ็นรับรอง เพื่อนำมายื่นขอรับวัสดุจากเจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ
การขอเบิกวัสดุ
การขอเบิกวัสดุ
การขอเบิกวัสดุ
การปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง ๓.๑. เจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ ตรวจสอบรายการวัสดุที่ต้องปรับปรุงเพิ่ม-ลดยอดคงเหลือในคลัง เช่น วัสดุในคลังเกิดชำรุดเสียหาย ซึ่งจะต้องบันทึกลดยอดวัสดุในคลัง เป็นต้น ๓.๒. เจ้าหน้าที่บริหารคลังวัสดุ ทำการบันทึกปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง เพื่อให้ยอดวัสดุคงเหลือในคลังถูกต้องตรงกับวัสดุที่มีอยู่จริง
การปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง
การปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง
การปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง
การปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง
การปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในคลัง
การขอเบิกวัสดุ
การขอเบิกวัสดุ