การนำการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มาใช้ในงานห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนวคิดในการนำการจัดการความรู้ (KM) มาใช้ในงานห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์ 1. เพื่อแก้ปัญหาภายในงาน 2. เพื่อพัฒนางาน และนำไปสู่การหา Best Practice ของห้องสมุด ปัญหาที่กระทบต่อผู้ใช้บริการมากที่สุดคือ การหาหนังสือบนชั้นไม่พบ
1. เพื่อแก้ปัญหาภายในงาน สาเหตุของปัญหามี 2 สาเหตุ สาเหตุที่ 1 เกิดจากตัวเจ้าหน้าที่ขึ้นชั้นหนังสือไม่ถูกต้อง สาเหตุที่ 2 เกิดจากผู้ใช้บริการ - หาหนังสือไม่เป็น - หยิบหนังสือออกมาจากชั้น แล้วนำกลับเข้าชั้น ไม่ถูกที่
เป้าหมาย คือ หนังสือบนชั้น จะได้รับการจัดเรียงไว้อย่างถูกต้อง 100% 1. เพื่อแก้ปัญหาภายในงาน การนำวิธีการของการจัดการความรู้ (KM) มาใช้เป็นแนวทาง มีดังนี้ กำหนดวิสัยทัศน์ หรือ KV คือ “การจัดชั้นหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ” เป้าหมาย คือ หนังสือบนชั้น จะได้รับการจัดเรียงไว้อย่างถูกต้อง 100%
วิธีแก้ปัญหาการหาหนังสือบนชั้นไม่พบ จากสาเหตุที่ 1 ที่เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน ดำเนินการโดย - สับเปลี่ยนหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน - ปรับวิธีการขึ้นชั้นหนังสือ จากสาเหตุที่ 2 ที่เกิดจากผู้ใช้บริการ ดำเนินการโดย - จัดทำป้ายโปสเตอร์แนะนำวิธีการค้นหาหนังสือ ติดไว้ที่ตู้วางหนังสือ - จัดทำป้ายประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใช้บริการเก็บหนังสือ ใส่คืนชั้นเอง ให้วางไว้ที่ข้างตู้หรือที่โต๊ะวางหนังสือ ใช้แล้ว
ป้ายประกาศติดข้างตู้และชั้นหนังสือ
ป้ายโปสเตอร์แนะนำวิธีการค้นหาหนังสือติดไว้ที่ตู้วางหนังสือ
ป้ายประกาศติดที่ชั้นหนังสือ
ป้ายประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใช้บริการเก็บหนังสือใส่คืนชั้นเอง ให้วางไว้ที่ข้างตู้หรือที่โต๊ะวางหนังสือใช้แล้ว
แบบสำรวจ ความสำเร็จของการหาหนังสือบนชั้น (1) แบบฟอร์มด้านหน้า
แบบสำรวจ ความสำเร็จของการหาหนังสือบนชั้น (2) แบบฟอร์มด้านหลัง
2. เพื่อพัฒนางานและนำไปสู่การหา Best Practice ของห้องสมุด จากการทดลองปฏิบัติงานขั้นชั้นหนังสือ ทั้ง 2 รูปแบบ คือ 1. การสับเปลี่ยนหน้าที่กันระหว่างเจ้าหน้าที่ขึ้นชั้นหนังสือ กับเจ้าหน้าที่ให้บริการยืม – คืนหนังสือ 2. การให้นักศึกษาช่วยงานห้องสมุดขึ้นชั้นหนังสือในช่วงบ่าย ของทุกวัน และเช้าวันรุ่งขึ้นให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นผู้อ่านชั้น และตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือ หลังจากนั้นบรรณารักษ์ จะเป็นผู้เข้าไปตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และมีการบันทึก ผลการตรวจสอบทุกครั้ง พร้อมกับนำผลมาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ ขึ้นชั้นทราบ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขข้อผิดพลาดต่อไป
เมื่อเปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติงานทั้ง 2 แล้ว จะเห็นว่าวิธีการที่ 2 เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับการขึ้นชั้นหนังสือ ของห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์ มากกว่าวิธีที่ 1 แต่อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด หรือเป็น Best Practice ซึ่งห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์ คงต้องหาวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้ต่อไป
จบการนำเสนอ