เลือดออก ไข้ haemorrhagic fever โรคไข้เลือดออกคืออะไร สาเหตุและการติดต่อ/อาการของโรค/การป้องกัน/การดูแลรักษาเบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก วิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย สีวิกา แสงธาราทิพย์ สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกคืออะไร โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่รุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ มียุงเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่มักเกิดการระบาดในฤดูฝน เกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิดมากกับเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี
สาเหตุและการติดต่อ เกิดจากยุงลายกัดกินเลือดเด็กที่เป็นไข้เลือดออก แล้วนำเชื้อไวรัสเดงกี่ไปถ่ายทอดให้เด็กคนอื่น ระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน ระยะฟักตัวในคนประมาณ 5-8 วัน คนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก เป็นแล้วเป็นอีกได้ ถ้าเป็นซ้ำ ๆ อาจทำให้รุนแรงถึงตายได้
อาการโรคไข้เลือดออก ไข้สูง เลือดออก ตับโต ช็อก 1. 2. 3. 4. สีวิกา แสงธาราทิพย์ สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก
การดูแลรักษาเบื้องต้น ระยะไข้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว กินยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอลได้ แต่ห้ามกินยาพวกแอสไพริน ดื่มน้ำผลไม้ หรือสารละลายน้ำตาล เกลือแร่บ่อย ๆ
การป้องกัน อย่าให้ยุงกัด โดย - นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด - อย่าอยู่ในที่มืด หรืออับลมที่มียุงลายหลบซ่อนอยู่ - เปิดพัดลม - ใช้ยากันยุง (จุดยา , ทายา) กำจัดลูกน้ำ และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งที่บ้านและโรงเรียน
ผลกระทบจากโรคไข้เลือดออก ด้านการแพทย์และสาธารณสุข รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย จำนวนหลายร้อยล้านต่อปี เสียค่าดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค 31.5 – 51.5 ล้านบาทต่อปี ด้านชีวิตและครอบครัว มีผู้เสียชีวิต ประมาณปีละ 100 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เป็นอนาคตของชาติ ปัจจุบันวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยและเสียชีวิตมากขึ้น
องค์ประกอบการเกิดโรคไข้เลือดออก คน ยุงลาย เชื้อเดงกี่
สาเหตุที่โรคไข้เลือดออกแพร่ระบาดมากในปัจจุบัน
1. จำนวนประชากรทุกประเทศในโลกเพิ่มมากขึ้น ประชากรเสี่ยงจึงมีมากขึ้น 2. ประชาชน เดินทางสะดวก อพยพย้ายถิ่นไปทำมาหากิน - นำเชื้อไข้เลือดออกไปแพร่ ในท้องถิ่นอื่น - ติดเชื้อกลับมาป่วยและแพร่ระบาดในหมู่บ้าน – ชุมชน 3. การแพร่เชื้อไข้เลือดออกระหว่างประเทศ จากการเดินทางโดย เฉพาะการท่องเที่ยว
4.ความเจริญของบ้านเมือง - ภาชนะใส่น้ำตามบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น เศษภาชนะที่เหลือทิ้งเพิ่มมากขึ้น เช่น ยางรถยนต์เก่า ยางจักรยาน/ มอเตอร์ไซด์ กระป๋อง ถุงพลาสติก ขวด 5.ชุมชน หรือบ้านเรือนแออัดไม่เป็นระเบียบ ทำให้สิ่งแวดล้อม ไม่ดี แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีมาก 6. ประชาชนนิยม ตั้งศาลพระภูมิตามอาคารบ้านเรือน ร้านค้า นิยมใช้กระถางปลูกต้นไม้ แจกัน
7 .ในชนบทส่วนใหญ่จะขาดแคลนน้ำ - จึงนิยมใช้โอ่งใส่น้ำไว้รอบบ้านมากๆ - การใช้ส้วมซึมมากขึ้น ทำให้มีอ่างอาบน้ำ อ่างราดส้วม ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมากขึ้น 8. ประชาชนไม่ตระหนัก ไม่ใส่ใจว่าเป็นปัญหา ให้ความร่วมมือน้อย 9. ผู้นำชุมชนบางแห่งไม่ตระหนัก ให้การสนับสนุนน้อย
10. ขาดการวางแผนแก้ปัญหาภาพรวม ระหว่างหน่วยงานในตำบล สาธารณสุข โรงเรียน เทศบาล อบต. ผู้นำหมู่บ้าน มหาดไทย