การจัดหา การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบ บทที่ 16 การจัดหา การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบ
การจัดหา การติดตั้ง และการรักษาระบบ หลังจากออกแบบระบบแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ การพิจารณาจัดหาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนของระบบที่ได้ออกแบบไปแล้ว จะต้องมีการติดตั้งเพื่อการใช้งาน การคัดเลือกบุคลากร การอบรมบุคลากรสำหรับการใช้ระบบ การบำรุงรักษาระบบ และการประเมินผลการใช้ระบบ เป็นกิจกรรมที่ ต้องดำเนินต่อไป
การจัดหาส่วนประกอบของระบบ ( Acquiring system components ) ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยบริษัทซึ่งสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง หรืออุปกรณ์รอบข้าง และอุปกรณ์การติดต่อสื่อสาร เป็นไปได้ที่ จะเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือซื้อเลย โดยมักจะผ่านบริษัทตัวกลาง ( A third – party firm ) มากกว่าซื้อจากผู้ผลิต
การจัดหาส่วนประกอบของระบบ ( ต่อ ) ( Acquiring system components ) 2. ซอฟต์แวร์ ( Software ) ไม่เหมือนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์จะต้องได้ รับอนุญาต ( License ) การใช้ต้องขออนุญาตโดยอาจจ่ายครั้งเดียว หรืออาจจะจ่ายเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้น ๆ 3. การบริการ ( Services ) จะบริการและจัดหาซอฟต์แวร์ บำรุงรักษา ฮาร์ดแวร์ สร้างและบำรุงรักษาข้อมูล เช่น การบริการที่รียกว่า “ ผู้ขายระบบพร้อมสรรพ ( The turnkey vendor ) ”
การติดตั้งระบบ ( Systems implementation ) จะเกิดขึ้นหลังจากผู้ขายได้จัดหาส่วนตัวเครื่องฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการระบบ การกำหนดตารางเวลา ( Scheduling ) มี 3 ชนิดคือ 1. CPM เป็นตารางเวลาการทำงานในลักษณะเส้นทางการทำงาน 2. PERT เป็นการกำหนดเวลาการทำงานและกำหนดทรัพยากร ที่ใช้แต่ละส่วน โดยให้แต่ละงานเป็นอิสระแยกจากกัน 3. Gantt chart เป็นแผนผังคุมกำหนดงาน โดยทำเป็นแผนภูมิแท่ง
การติดตั้งระบบ ( ต่อ ) ( Systems implementation ) การใส่รหัสโปรแกรม การแก้ไขจุดบกพร่อง และการทดสอบ ( Program coding, debugging and testing ) การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย เทคนิคโครงสร้าง ภาษา 4 GL และโปรแกรมเชิงวัตถุ การแก้ไขจุดบกพร่อง หมายถึง การขจัดปัญหาและจุดบกพร่อง ต่าง ๆ ในโปรแกรมให้หมดไปก่อนนำไปใช้งาน การทดสอบโปรแกรม หมายถึง การทดสอบการทำงานของ โปรแกรมที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ เพื่อตรวจสอบว่ามีปัญหาหรือไม่
การติดตั้งระบบ ( ต่อ ) ( Systems implementation ) การฝึกอบรมผู้ใช้ ( User training ) จะต้องวางแผนการอบรม และจัดหาหลักสูตรให้เหมาะกับผู้ใช้ การสับเปลี่ยนระบบ ( Conversion option ) มี 4 วิธี คือ สับเปลี่ยนโดยตรง ( Direct conversation ) สับเปลี่ยนแบบขนาน ( Parallel conversion ) สับเปลี่ยนแบบทิ้งช่วง ( Phase conversion ) วิธีศึกษานำทาง ( Pilot study )
การประเมินระบบหลังจากการติดตั้งใช้งาน ( Postimplementation review ) ศึกษาผลกระทบแบบเป็นทางการ ( Formal impact study ) เป็นวิธีการสืบหาและตัดสินใจว่าระบบทำงานตามที่คาดหวังหรือไม่ การศึกษาจะเริ่มหลังจากที่ระบบทำงานเต็มที่แล้ว แบบการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ( Regular audit ) เป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานตามหน้าที่ที่ควรจะเป็น เป็นการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยผู้ตรวจสอบมืออาชีพ การเฝ้าตรวจสมรรถนะ ( Performance monitors ) การใช้ซอฟต์แวร์วัดสมรรถนะการทำงานของคอมพิวเตอร์
การบำรุงรักษาระบบ ( Systems maintenance ) การใช้โปรแกรมปรับปรุงโครงสร้าง ( Restrucing engines ) เป็นโปรแกรมซึ่งนำโปรแกรมโครงสร้างที่ไม่ดีออกไป และปรับปรุง เป็นโครงสร้างที่อ่านง่ายและง่ายต่อการบำรุงรักษา การใช้รหัสสร้างโปรแกรม ( Code generations ) เช่น การใช้โปรแกรม 4 GL แก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม การใช้คลังรหัสที่นำมาใช้ใหม่ได้ ( Reusable – code – libraries ) ใช้รหัสห้องสมุดบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ โดยการกำหนดรหัสที่ปลอดภัย