Green Village บ้านคลองกั่ว หมู่ 7 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ. สงขลา
หลักการทำงานหรือหลักเกณฑ์ / กฏเกณฑ์ หลักการทำงานหรือหลักเกณฑ์ / กฏเกณฑ์ ทำความเข้าใจกับผู้นำก่อน และทำให้เห็นว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ แนะนำ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวของชาวบ้านเอง ตั้งแต่ถิ่นที่อยู่ อาศัยมีร่มเงา มีรายได้เพิ่มจากการปลูกพืชชนิดอื่นแทรกในสวนยางพารา ทำฝายต้นน้ำกักตะกอนไม่ให้ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ทำให้น้ำใส คลองและแม่น้ำไม่ตื้นเขิน ทั้งยังไม่เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำท่วม จ.สงขลา ด้วย
หลักการทำงานหรือหลักเกณฑ์ / กฏเกณฑ์ หลักการทำงานหรือหลักเกณฑ์ / กฏเกณฑ์ มีกฎและกติกาการดูแลรักษาป่า บ้านคลองกั่ว ไว้ให้ปฏิบัติตาม เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ใช้สอยในบริเวณสวนยางพาราของตนเอง ห้ามทำลายป่าไม้ที่มีอยู่เดิมของหมู่บ้าน การตัดไม้ในที่สาธารณะ ของหมู่บ้าน หรือป่าอนุรักษ์ ต้องผ่านความเห็นชอบจากกรรมการหมู่บ้าน อย่างน้อย 2 ใน 3 ร่วมกันอนุรักษ์ฝายน้ำประจำหมู่บ้าน ส่งเสริมให้เยาวชนและชาวบ้านมีใจรักป่าและแม่น้ำลำคลอง
ความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงรักษาระบบนิเวศลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คืนสู่สภาพธรรมชาติเดิมมากที่สุด - พื้นที่ป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู - ป่าชายเลนและป่าพรุได้รับการฟื้นฟู และบำรุงรักษา - มีการจัดตั้งหมู่บ้านรักษ์ป่า (หมู่บ้านสีเขียว) ไม่น้อยกว่า 90 หมู่บ้าน - สามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาดุกรำพัน ปลาพรหม ปลาตุ่ม ปลาเม่น และปลาลำปำ เป็นต้น
ความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 2. ใช้ประโยชน์ทรัพยากรลุ่มน้ำให้สอดคล้องกับศักยภาพและสมดุล โดยประชาชนมีส่วนร่วม - เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำฯ มีการทำเกษตรผสมผสาน - ที่ดินเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟูเพื่อใช้ - มีคลองสายหลัก 22 สาย ได้รับการขุดลอกเพื่อระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม 3. ป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษให้อยู่ในระดับมาตรฐาน - มีแบบระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมชุมชนยางรมควัน 1 ชุด และวิธีการ บำบัดน้ำเสียที่ทำให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสลดลง และวิธีการกำจัดสาหร่ายหนาม - แหล่งกำเนิดมลพิษโดยรอบทะเลสาบสงขลาปฏิบัติตามกฎหมายมากขึ้น - ชุมชนขนาดเล็กมีความรู้ความสามารถดำเนินการบำบัดน้ำเสียของตนเอง
ข้อดี 1.ความชุ่มชื้นของป่าต้นน้ำมีมากขึ้น ปัญหาการชะล้างพังทลายลดลง 2. เกิดการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น 3. ยกระดับคุณภาพน้ำผิวดินในพื้นที่วิกฤตของทะเลสาบสงขลา 4. มีการใช้ประโยชน์น้ำบาดาลที่เหมาะสม ไม่เกินอัตราการทดแทนทาง ธรรมชาติ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น 5. ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นตามศักยภาพของทรัพยากร ข้อด้อย 1. ต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ 2.ผืนป่าต้นน้ำลดลงเนื่องจากผืนป่าที่สมบูรณ์ถูกบุกรุกทำลาย
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิด 1. การทำให้ชาวบ้านรับฟังและเข้าใจ พร้อมทั้งร่วมมือปฏิบัติในสิ่งที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้นำมาให้เป็นเรื่องยาก เพราะความสัมพันธ์ในอดีตไม่ดีนัก 2. จากที่จังหวัดสงขลา เกิดมีการก่อการร้ายทำให้การเข้าถึงของเจ้าหน้าที่รัฐถูกต่อต้านได้ง่ายจากชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ แนวความคิดในการแก้ไขอุปสรรค 1. พยายามสร้างความเชื่อมั่นและความใกล้ชิดของชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น จัดกิจกรรมทำร่วมกันในชุมชน 2. แนะนำให้ชาวบ้านรับรู้ถึงข้อดีและประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงการหมู่บ้านสีเขียว 3. ปลูกจิตสำนึกให้มีการรักและดูแลพื้นที่ในท้องถิ่นของตน
หากนำมาประยุกต์ใช้ต้องเตรียมการอย่างไร 1.ศึกษาสภาพพื้นที่ว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด 2. ศึกษาคุณภาพดินว่าเหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดใด 3. ให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากร 4. มีการแบ่งกลุ่มรับผิดชอบหน้าที่ในการดูแลโครงการ หมู่บ้านสีเขียว
จบการนำเสนอ