บทที่ 4 สื่อบันทึกข้อมูล จานแม่เหล็ก จานแสง DAT บัตรอัจริยะ
1. จานแม่เหล็ก 1. จานแม่เหล็กชนิดอ่อน ซึ่งใช้กับไมโคคอมพิวเตอร์ 2. จานแม่เหล็กชนิดแข็ง ซึ่งใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ลักษณะของแผ่นดิสก์ แผ่นปกคลุมพลาสติก ช่องหัวอ่านและเขียนข้อมูล ช่องป้องกันการเขียนข้อมูลทับ
ข้อควรระวังในการเก็บรักษา อย่าใช้มือหรือสิ่งอื่นใดสัมผัสช่องอ่าน/บันทึก เพราะจะทำให้เกิดรอยเปื้อย และทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือหายไปได้ อย่าใช้น้ำยาแอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ทำความสะอาดแผ่นจานบันทึกเป็นอันขาด อย่านำแผ่นจากบันทึกเข้าไปไว้ไกล้ ๆ บริเวณสนามแม่เหล็ก อย่าทำให้แผ่นจานบันทึกโค้งหรืองอ อย่าวางของหนัก ๆ เช่นหนังสือทับแผ่นจานบันทึก อย่าใช้ตัวหนีบหรือยางรัดแผ่นจานบันทึก
อย่าใช้ปากกาหมึกแห้งหรือดินสอเขียนบนป้าย บนจานบันทึก เพราะจะทำให้เป็นรอย ใช้ปากกาสีเมจิกจะปลอดภัยกว่า อย่าใช้ยางลบลบข้อความใด ๆ บนป้ายซอง เพราะเศษยางลยอาจเปรอะช่องอ่าน/บันทึก ติดป้ายบอกชื่อแผ่นจานบันทึกหรือแฟ้มข้อมูลในแผ่นจานให้เรียบร้อย เมื่อนำแผ่นจานบันทึกใส่ในตู้อ่าน/บันทึก ต้องใช้ความระมัดระวัง อย่าใช้แรง จนทำให้แผ่นงอ เก็บจานบันทึกไว้ในซองเสมอ เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปในช่องอ่าน เวลาเก็บแผ่นจานบันทึก จงเก็บไว้ในกล่องและวางในแนวตั้ง อย่าทิ้งจานบันทึกไว้ในที่มีอุณหภูมิร้อน/เย็นเกินไป เช่นในรถ ตู้เย็น ถ้าไม่จำเป็นอย่านำจานบันทึกติดตัวไปไหนมาไหนบ่อย ๆ เพราะเสี่ยงต่อการทำลายข้อมูลที่บันทึกในแผ่น
ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก สองแผ่นหรือมากกว่าจัดเรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียกว่า Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3,600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่าน/เขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่าน/เขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
2. จานแสง จุดเด่นที่สำคัญของจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลที่ไม่ต้องให้หัวอ่านกดลงหรือสัมผัสกับจาน การอ่านจะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ จานก็มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่ต้องกลับหัวอ่าน คงทน มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน
ซีดีรอม ประเภทของซีดีรอม 1. Yellow CD 2. Red CD / Audio CD 3. CD-ROM XA หรือ Multi-Session CD 4. ซีดีรอมที่ออกแบบผสมกันระหว่าง Data และ Audio