ปัจจัยทีมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ความเข้มข้นของสารตั้งต้น อธิบายได้ด้วย ทฤษฎีการชน คือ เมื่อความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีมาก ทำให้จำนวนอนุภาคของสารตั้งต้นมีมากด้วย โอกาสในการชนกันของอนุภาคจึงเพิ่มขึ้น อนุภาคที่มีพลังงานสูงก็เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นด้วย
ธรรมชาติของสารตั้งต้นและผลิตผล ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสาร เช่น โดยทั่วไปสารที่ทําปฏิกิริยาเป็นสารไอออนิกทั้งคู่จะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารที่เป็นโควาเลนท์ สารที่ทําปฏิกิริยาเป็นแก๊สทั้งคู่จะทําปฏิกิริยาได้เร็วกว่าปฏิกิริยาที่สารอยู่ ในสถานะต่ างกัน
พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น สารตั้งต้นที่มีพื้นที่ผิวน้อย มักเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากว่าสารตั้งต้นที่มีพื้นที่ผิวมาก เช่น สารตั้งต้นที่เป็นผง เกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารตั้งต้นที่เป็นก้อน
อุณหภูมิ โดยทั่วไปปฏิกิริยาเคมีเมื่อเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูงจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่อุณหภูมิต่ำ อธิบายได้ว่าเมื่ออุณหภูมิสูงอนุภาคของสารมีพลังงานสูงจึงเคลื่อนที่ได้เร็ว โอกาสในการชนกันจึงมีมาก เมื่ออนุภาคชนกันมากอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็มากขึ้นด้วย
ตัวเร่งและตัวหน่วงปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยามีผลทำให้อนุภาคชนกันในทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้น ทำให้ค่า Ea หรือพลังงานก่อกัมมันต์ลดลง อัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามตัวหน่วงปฏิกิริยาจะเพิ่มค่า Ea หรือพลังงานก่อกัมมันต์ ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาช้าลง
ความดัน ความดันจะมี ผลต่อปฏิกิริยาในกรณีปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับแก๊ส กล่าวคือเมื่อ เพิ่มความดันโมเลกุลของแก๊สจะชนกันมากขึ้นปฏิกิริยาจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น
แบบฝึกหัด 1. ในปฏิกิริยา ถ้าเติมผงนิเกิลลงไปเล็กน้อยจะทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้น นักเรียนคิดว่าผงนิเกิลทำหน้าที่อะไร และมีผลต่อการดำเนินไปของปฏิกิริยาอย่างไร จงอธิบาย
2. เมื่อผสมแก๊สออกซิเจนและไฮโดรเจนที่อุณหภูมิห้อง จะไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นแต่ถ้าผสมกันบนผิวของโลหะแพลทินัม ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นทันที เพราะเหตุใด
3. แคลเซียมคาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ดังสมการ 3. แคลเซียมคาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ดังสมการ CaCO 3 (s) + 2HCl(aq) → CaCl 2 aq + H 2 O l + CO 2 (g) เมื่อใช้แคลเซียมคาร์บอเนตชนิดก้อนและชนิดผงซึ่งมีมวลเท่ากัน ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
4. ปัจจัยใดที่มีผลต่อค่า Ea หรือพลังงานก่อกัมมันต์ของการดำเนินไปของปฏิกิริยาจงอธิบาย