พระวาจา ทรง ชีวิต มีนาคม 2010
มีบ่อยครั้งใช่ไหมในชีวิตคุณ ที่คุณอยากได้คนมาช่วย แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็รู้สึกว่า ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหา ของคุณได้
เรามาฟังดูซิว่า พระองค์ตรัสอย่างไร ดังนั้น คุณจึงหันหน้าเข้าหาบุคคลผู้หนึ่ง ที่มีอำนาจบันดาลสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ให้กลับเป็นไปได้ บุคคลผู้นั้นมีนามว่า เยซู เรามาฟังดูซิว่า พระองค์ตรัสอย่างไร
“แท้จริง เรากล่าวแก่ท่านว่า ถ้าท่านมีความเชื่อสักเท่า เมล็ดมัสตาร์ด แล้วพูดกับภูเขานี้ว่า จงย้ายจากที่นี่ไปที่โน่น มันก็จะย้ายไป และไม่มีอะไรที่ท่านจะทำไม่ได้” (มธ.17,20)
แน่นอนว่า สำนวนที่ว่า “เคลื่อนย้ายภูเขาได้” เราต้องไม่ตีความหมายตามตัวอักษร พระเยซูเจ้ามิได้มอบอำนาจให้ศิษย์ของพระองค์ทำอัศจรรย์อะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้ผู้คนพิศวงงงงวย
และจริงๆแล้ว หากเราค้นหาในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร เราจะไม่พบนักบุญองค์ใดที่ได้เคลื่อนย้ายภูเขาเพราะความเชื่อ Gianna Beretta Molla Pier Giorgio Frassati Chiara Luce
“เคลื่อนย้ายภูเขาได้” เป็นการเปรียบเทียบเกินจริง เป็นวิธีการพูดเน้นแบบสุดโต่ง เพื่อว่าศิษย์ของพระองค์จะจำได้เป็นอย่างดีว่า หากมีความเชื่อแล้วทุกสิ่งจะเป็นไปได้
การอัศจรรย์ทุกอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ ไม่ว่าจะกระทำโดยตรง หรือโดยผ่านทางศิษย์ของพระองค์ เป็นไปเพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้า เพื่อพระวรสาร หรือเพื่อความรอดของมนุษย์ การเคลื่อนย้ายภูเขาไม่น่าจะอยู่ในหลักเกณฑ์นี้
และการเปรียบเทียบที่ว่า “ขนาดเท่าเมล็ดมัสตาร์ด” ก็หมายความว่า พระเยซูเจ้ามิได้ทรงเรียกร้องให้มีความเชื่อมาก ๆ แต่ทรงเรียกร้องให้มีความเชื่อแท้ เอกลักษณ์ของความเชื่อแท้คือ หยั่งรากลึกในพระเจ้า ไม่ไว้วางใจในพละกำลังของตนเอง
ถ้าหากว่าคุณมีความสงสัย ลังเล ก็หมายความว่า คุณยังไม่ไว้วางใจในองค์พระเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม ความเชื่อของคุณยังอ่อนแอ ไม่มีประสิทธิภาพ ยังวางใจในความสามารถของตน หรือคิดไปตามหลักเกณฑ์ประสามนุษย์
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่วางใจในองค์พระเจ้าอย่างแท้จริง จะปล่อยให้พระเจ้าทรงทำงานด้วยพระองค์เอง และสำหรับพระเจ้า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ ความเชื่อที่พระเยซูเจ้าประสงค์ให้ศิษย์ของพระองค์มีก็คือ ให้วางไว้ใจในองค์พระเจ้าอย่างแท้จริง และเช่นนี้ จะช่วยให้องค์พระเจ้าสำแดง พระอานุภาพ ของพระองค์ได้
ความเชื่อที่ว่านี้ (ซึ่งอาจเคลื่อนย้ายภูเขาได้) มิได้สงวนไว้สำหรับคนที่ดีเยี่ยมบางคนเท่านั้น แต่คริสตชนทุกคนมีได้ และเป็นหน้าที่ ที่จะต้องมีความเชื่อเช่นนี้ด้วย
“แท้จริง เรากล่าวแก่ท่านว่า ถ้าท่านมีความเชื่อสักเท่าเมล็ดมัสตาร์ด แล้วพูดกับภูเขานี้ว่า จงย้ายจากที่นี่ไปที่โน่น มันก็จะย้ายไป และไม่มีอะไรที่ท่านจะทำไม่ได้” (มธ.17,20)
มีท่านผู้รู้กล่าวว่า พระเยซูเจ้าตรัสพระวาจาตอนนี้ ขณะที่กำลังจะส่งพวกศิษย์ออกไปทำงานแพร่ธรรม
แน่นอน เมื่อพวกเขามองดูตนเองว่า เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ไม่พร้อม ไม่มีความ สามารถอะไรเป็นพิเศษ พวกเขาย่อมจะรู้สึกท้อแท้ กังวลเมื่อจะต้องเผชิญหน้ากับผู้คนมากมายที่พวกเขาจะต้องนำข่าวดีไปให้
ช่างเป็นงานที่ท้าทาย ไม่น่าเป็นไปได้ พวกเขาจะรู้สึกกลัว เมื่อต้องอยู่ต่อหน้าผู้คนที่สนใจ แต่เรื่องอื่น ไม่สนใจในเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า ช่างเป็นงานที่ท้าทาย ไม่น่าเป็นไปได้
หากพวกเขามีความเชื่อ ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้ พระเยซูเจ้าจึงให้กำลังใจศิษย์ของพระองค์ว่า หากมีความเชื่อ พวกเขาจะ “ย้ายภูเขา” แห่งความเพิกเฉยที่จะพบในโลกได้ หากพวกเขามีความเชื่อ ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้
คำพูดประโยคนี้ เรานำมาใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ในชีวิตของเรา เพื่อความก้าวหน้าแห่งพระวรสาร และเพื่อความรอดของทุกคน
บางครั้ง เมื่อเราพบอุปสรรคที่ไม่สามารถเอาชนะได้ เรามักลืม ลืมหันหน้าเขาหาพระ และคิดไปเองตามประสามนุษย์ว่า พอแค่นี้แหละ ไม่มีประโยชน์อีกแล้ว ดังนั้น พระวาจานี้ เตือนใจเรามิให้ท้อแท้ และหันหน้าเข้าพึ่งองค์พระเจ้าด้วยความวางใจ พระองค์จะทรงทำทุกสิ่งให้สำเร็จไป
และสิ่งนี้ ได้เกิดขึ้นกับเลลล่า หลังจากที่มาทำงานได้หลายเดือนแล้วในประเทศเบลเยี่ยมท่ามกลางชาวเฟลมมิช แรกๆเธอมีความกระตือรือร้น เพราะเป็นงานแรกของเธอ แต่อยู่ไปๆ เธอกลับรู้สึกท้อแท้ โดดเดี่ยว และเป็นทุกข์
เธอรู้สึกว่ามีกำแพงสูง ขวางกั้นเธอกับเพื่อนร่วมงาน รู้สึกเหมือน อยู่ตัวคนเดียว เป็นคนแปลกหน้าในท่ามกลางผู้คนที่เธอพยายามรับใช้ด้วยความรัก
ก่อนที่จะมาประเทศเบลเยี่ยม เลลล่าได้เรียนภาษาฝรั่งเศส เพราะทราบว่าทุกคนพูดภาษานี้ แต่เมื่อมาถึงและใช้ชีวิตกับผู้คน เธอจึงทราบว่าชาวเฟลมมิชเรียนภาษาฝรั่งเศสก็เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น และดังนั้น พวกเขาไม่เต็มใจพูดภาษาฝรั่งเศสนัก
หลายครั้งที่เธอพยายามเคลื่อนย้ายภูเขาแห่งการแบ่งเขา แบ่งเราที่เกิดขึ้น เพราะเธอพูดภาษาเฟลมมิชไม่ได้ แต่ไร้ผล
เธอเห็นหน้าเพื่อนร่วมงานที่ชื่อกลอดี้ที่หน้าตาเศร้าหมอง เย็นวันหนึ่ง เธอหลบเข้าห้องนอนไป โดยไม่ยอมแตะต้องอาหารเย็น เลลล่าเดินตามเธอ แต่ก็ต้องหยุดที่หน้าประตู เลลล่ารู้สึกอาย ลังเลใจ และพยายามรวบรวมความกล้าที่จะเคาะประตู คิดว่าจะพูดอย่างไรดี เธอยืนนิ่งอยู่สองสามวินาที ที่สุดเธอหันหลังกลับ
เช้าวันรุ่งขึ้น เธอเข้าไปในวัดนั่งแถวหลังสุด เอามือปิดหน้า เพื่อมิให้ใครเห็นหยาดน้ำตา เธอคิดในใจว่า สถานที่นี้เป็นที่แห่งเดียวที่ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษา ไม่จำเป็นต้องพูดมาก เพราะมีผู้หนึ่งที่ทรงเข้าใจทุกอย่าง เธอมั่นใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจเธอดี ดังนั้น ด้วยหัวใจที่ปวดร้าว เธอสวดขอพระองค์ว่า “พระเยซูเจ้าข้า ทำไมลูกไม่อาจแบ่งปันกางเขนกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ทำไมลูกไม่อาจบอกพวกเขาเช่นเดียวกับที่พระองค์เคยบอกลูกเมื่อคราวพบพระองค์ว่า ความทุกข์ทุกชนิดคือความรัก”
เธออยู่ต่อหน้าตู้ศีล ราวกับรอคำตอบจากพระผู้ทรงเป็นแสงสว่างสำหรับเธอเสมอมาในทุกครั้งที่เธอพบกับความมืดมน เธอทอดสายตาไปที่พระวรสารของวันนั้น ที่ว่า “จงวางใจ จงมีความเชื่อ เราได้ชนะโลกแล้ว” พระวาจานี้ เป็นเสมือนน้ำมัน ชโลมจิตใจ เธอรู้สึก สบายใจขึ้น
ระหว่างเดินกลับบ้าน เธอได้พบกับแอน ซึ่งเป็นหญิงช่วยงานบ้าน เธอทักทาย และเดินไปบ้านด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างเงียบ เมื่อถึงบ้านเธอช่วยเตรียมอาหารเช้า คนแรกที่ลงมาจากห้องนอนก็คือกลอดี้ เธอเข้ามาในครัวเพื่อดื่มกาแฟ เธอรีบเพราะไม่ต้องการพบใคร แต่เธอกลับประทับใจใบหน้าของเลลล่าที่เต็มไปด้วยสันติสุข
เลลล่ารู้สึกว่า ภูเขาลูกใหญ่ ถูกย้ายออกไปแล้ว เย็นวันนั้น ขณะเดินทางกลับบ้านจากที่ทำงานกลอดี้ซึ่งขี่จักรยานอยู่ พยายามพูดกับเลลล่า อย่างกระหืดกระหอบว่า “เธอไม่จำเป็นต้องพูดอะไรหรอก ชีวิตของเธอบอกดิฉันแล้วว่า ฉันเองก็ต้องรักผู้อื่นด้วย” เลลล่ารู้สึกว่า ภูเขาลูกใหญ่ ถูกย้ายออกไปแล้ว
“แท้จริง เรากล่าวแก่ท่านว่า ถ้าท่านมีความเชื่อสักเท่าเมล็ดมัสตาร์ดแล้วพูดกับภูเขานี้ว่า จงย้ายจากที่นี่ไปที่โน่น มันก็จะย้ายไป และไม่มีอะไรที่ท่านจะทำไม่ได้” (มธ. 17,20) “พระวาจาทรงชีวิต” จัดพิมพ์รายเดือนโดยคณะโฟโคลาเร คำอธิบายโดย เคียร่า ลูบิค เมื่อเดือนกันยายน 1979 กราฟฟิกโดย Anna Lollo โดยความร่วมมือของ Fr. Placido D’Omina (ซิชิลี - อิตาลี) คำอธิบายพระวาจาทรงชีวิตนี้แปลเป็นภาษาต่างๆถึง 96 ภาษา และภาษาท้องถิ่นต่างๆด้วย พระวาจานี้ไปถึงผู้คนกว่าล้านคนทั่วโลก ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต รายละเอียดเพิ่มเติม www.focolare.org พาวเวอร์พ้อยท์พระวาจาทรงชีวิตภาษาต่าง ๆ พบได้ที่ www.santuariosancalogero.org