โครงการวิจัย เรื่อง วิถีการดำรงชีวิต อย่างยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Food Security and Sustainable Livelihoods in South East Asia ตามประกาศโครงการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทุนสนับสนุนของ European Community (EU)
ผู้ให้ทุน European Community (EU) ผู้รับทุน คณะรัฐศาสตร์ และ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ดร.วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ (รองศาสตราจารย์ ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นางสุริยา วีรวงศ์ (ชำนาญการ 8 ประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ผู้ช่วยนักวิจัย 4 คน
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) ประกอบด้วย ประเทศไทย เวียดนาม ลาว สหราชอาณาจักร เดนมาร์ค และ อิตาลี โดยเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยด้านระเบียบวิธีการวิจัย และผลการวิจัย เชิงนโยบายสาธารณะ จากการดำเนินการวิจัยภาคสนามของแต่ละประเทศ
สถานที่ปฏิบัติงานภาคสนามในประเทศไทย อ.ปะทิว จ.ชุมพร 3 ชุมชน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 3 ชุมชน อ.กุดชุม จ.ยโสธร 3 ชุมชน
การสร้างเครือข่าย ประชุมวางแผนปฏิบัติการ กำหนดระเบียบวิธีการวิจัย และสรุป ผลการทดสอบระเบียบวิธีวิจัย ระหว่าง Co-partners 6 ประเทศ ณ มหาวิทยาลัยกรุงฮานอย เวียดนาม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย และ Roskilde University เดนมาร์ค ประชุมสรุปผลการวิจัยเบื้องต้น ร่างรายงานการวิจัย ระหว่าง Co-partners 6 ประเทศ ณ สถาบันวิจัยป่าไม้หลวงพระบาง ลาว และ Hull University + Durham University สหราชอาณาจักร นำเสนอรายงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ “International Conference of Asian Studies” และประชุม “EU Asia Link Project” ณ National University สิงคโปร์
แผนการดำเนินงานในอนาคต การจัดหลักสูตรปริญญาโทระหว่างประเทศสาขา การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งมีวิชาบรรยายในปีที่ 1 และการวิจัยภาคสนามในประเทศเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ในปีที่ 2 ของหลักสูตร ขณะนี้สหภาพยุโรป (European Union) ได้รับร่างหลักสูตรแล้ว และอยู่ ในระหว่างพิจารณาให้ทุน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการ ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547