Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ การกำหนดขอบเขตเนื้อหาบทเรียน การออกแบบทดสอบที่ใช้ประเมินผลผู้เรียน การเลือกสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดแบ่งเวลาเรียน
ประเภทของวัตถุประสงค์ มี 2 ประเภทคือ วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objectives) วัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Specific Objectives or Behavioral Objectives)
ประเภทของวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objectives) เป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นในแนวกว้างๆ ว่า เมื่อมีการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนจะเรียนรู้อะไรบ้าง เป็นเพียงกรอบหรือแนบกว้างๆ ของบทเรียน
ประเภทของวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Specific Objectives or Behavioral Objectives) เป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าหลังจากที่มีการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถแสดงพฤติกรรมที่วัดได้สังเกตเห็นได้ออกมาอย่างไรบ้าง ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร และต้องทำได้มากน้อยเพียงใด
ส่วนประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ประกอบด้วย 3 ส่วน พฤติกรรมขั้นสุดท้าย หรือ พฤติกรรมที่คาดหวัง (Terminal Behavior) เงื่อนไขหรือ สถานการณ์ (Condition or Situation) เกณฑ์หรือมาตรฐาน (Standard or Criteria)
ส่วนประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
Terminal Behavior การแสดงออกของผู้เรียน เมื่อสิ้นสุดบทเรียนแล้วผู้เรียนแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะต้องวัดได้หรือสังเกตได้ เช่น บอกส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง จำแนกหน่วยความจำที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ พิมพ์ดีดภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ไม่น้อยกว่า 70 คำต่อ นาที
Condition or Situation เป็นข้อความที่บ่งถึงสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือเงื่อนไข ที่จะให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา กำหนดได้ 3 ลักษณะ ลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาบทเรียน ลักษณะของสิ่งเร้าเพื่อให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา ลักษณะที่เป็นเงื่อนไขของการกระทำ
Condition or Situation เช่น อธิบายหลักการทำงานของ UPS จำแนกส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ เมื่อกำหนดวงจรไฟฟ้ามาให้ สามารถอ่านแบบได้ถูกต้อง ต่อวงจรไฟฟ้าแสงสว่างในบ้านได้ โดยไม่ต้องดูแบบ
Standard or Criteria เป็นส่วนที่ใช้ระบุความสามารถขั้นต่ำของผู้เรียนว่าจะต้องทำได้เพียงใด จึงจะยอมรับได้ว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว ลักษณะความเร็วหรือการบ่งเวลา ลักษณะปริมาณที่ต่ำที่สุด เป็นเกณฑ์ที่ไม่สามารถระบุเชิงความเร็วหรือปริมาณได้
Standard or Criteria เช่น ท่องสูตรคูณตั้งแต่แม่ 2 ถึง แม่ 12 ได้จบภายใน 3 นาที คำนวณโจทย์เรื่องบัญญัติไตรยางศ์ได้ 8 ใน 10 ข้อ อธิบายความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ ระบุองค์ประกอบที่มีผลต่อความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ได้
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จำแนกตามลักษณะของการเรียนรู้ได้ 3 ส่วน ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
Cognitive Domain วัตถุประสงค์ที่เน้นทางด้านความสามารถทางสมรรถภาพทางสมองหรือการใช้ปัญญา ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินผล (Evaluation)
Psychomotor Domain วัตถุประสงค์ที่แบ่งระดับพฤติกรรมที่เกี่ยวกับทักษะความชำนาญ การเลียนแบบ (Imitation) การปฏิบัติได้โดยลำพัง (Manipulation) การปฏิบัติได้ถูกต้องแม่นยำ (Precision) การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและผสมผสาน (Articulation) การปฏิบัติโดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ (Naturalization)
Affective Domain วัตถุประสงค์ที่เน้นความสามารถทางความรู้สึก อารมณ์ เจตคติต่อสิ่งต่างๆ การยอมรับ (Receiving) การตอบสนอง (Responding) การสร้างค่านิยม (Valuing) ดำเนินการ (Organization) แสดงลักษณะเฉพาะตนตามค่านิยม (Characterization by a Value)
สรุปการจำแนกวัตถุประสงค์
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ นอกจากจะต้องพิจารณาส่วนประกอบ ทั้ง 3 ส่วน แล้ว ยังต้องพิจารณาระดับของวัตถุประสงค์ด้วย เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์จะไม่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหาหรือประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนรายบุคคล
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ Cognitive Domain การฟื้นคืนความรู้ (Recalled Knowledge) การประยุกต์ความรู้ (Applied Knowledge) การส่งถ่ายความรู้ (transferred Knowledge) Psychomotor Domain Affective Domain
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ Cognitive Domain การฟื้นคืนความรู้ (Recalled Knowledge) มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในลักษณะการฟื้นคืนความจำออกมาในลักษณะของการเขียนหรือการอธิบายด้วยคำพูด เช่น บอกกฎแห่งความปลอดภัยในการทำงานได้ ยกตัวอย่างจำนวนเต็มแบบ Integer ได้
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ Cognitive Domain การประยุกต์ความรู้ (Applied Knowledge) มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาใหม่ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันกับสิ่งที่เคยผ่านการเรียนรู้มาแล้วได้อย่างถูกต้อง เช่น สาธิตการทำงานของระบบ RFID ได้ อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความสนใจได้
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ Cognitive Domain การส่งถ่ายความรู้ (transferred Knowledge) มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการส่งถ่ายความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในงานใหม่ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากคุณลักษณะเดิมที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้วได้อย่างถูกต้อง เช่น วิเคราะห์สาเหตุของการเกิดไวรัสในฮาร์คดิสค์ได้ พัฒนาคำสั่งการใช้งาน PDA โดยใช้ภาษาไทยได้
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ Psychomotor Domain เช่น ออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานของโรงงานได้ ปฏิบัติการเข้าหัวสาย UTP Cat 5 ได้ภายใน 2 นาที
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
ข้อพิจารณาในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเป็นวัตถุประสงค์ที่บ่งถึงพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ผ่านบทเรียนไปแล้ว จะต้องระบุด้วยคำกิริยาที่บ่งถึงการกระทำที่วัดได้หรือสังเกตได้ ต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้เรียน ไม่ใช่พฤติกรรมผู้สอนหรือของบทเรียน ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมที่คาดหวัง เงื่อนไข และเกณฑ์ที่สมบูรณ์
ข้อพิจารณาในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ครอบคลุมเนื้อหาสาระ สอดคล้องตรงตามหัวเรื่องเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน แต่ละข้อ วัดพฤติกรรมเพียงด้านเดียวหรืออย่างเดียวเท่านั้น ควรวัดพฤติกรรมให้ครบทุกด้าน และมีระดับความยากสอดคล้องกับระดับของผู้เรียน นิยมเขียนด้วยประโยคบอกเล่า มากกว่าการใช้ประโยคคำถามหรือประโยคปฏิเสธ เขียนด้วยประโยคหรือข้อความสั้นๆ ที่กระชับและได้ใจความ
ตัวอย่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม อธิบายขั้นตอนการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ได้ถูกต้อง บอกส่วนประกอบของฮาร์ดดิสค์ได้ วิเคราะห์อาการของคอมพิวเตอร์หลังจากติดไวรัสแล้วแล้วได้ อธิบายการทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆได้
ระดับความยากของวัตถุประสงค์ Difficulty of Objective
ระดับความยากของวัตถุประสงค์ Difficulty of Objective ระดับของผู้เรียน (Level of Audience) ความยากของเนื้อหา (Difficulty of Content)
Objective Analysis จบการบรรยาย คำถาม