บทที่ 9 พลเมืองอาเซียน
พลเมืองอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนมีเป้าหมายสูงสุดของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน คือ การสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้พลเมืองกว่า 600 ล้านคน ที่มีความแตกต่างและหลากหลายทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง มารวมตัวกันเพื่อก้าวไปสู่ความเป็น “ประชาคมเดียว” ความหมายของพลเมืองอาเซียน พลเมืองอาเซียน หมายถึง ประชาชนทุกคนของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม เมียนม่าร์ ลาว และกัมพูชา
สิทธิพลเมืองอาเซียนตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration-AHRD)จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights-AICHR) ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยที่ประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียนประสงค์ให้ปฏิญญาฉบับนี้ เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ไปสู่การเป็นกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน
สำนึกความเป็นพลเมืองอาเซียน สำนึกความเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEN Sense of Citizenship) ของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผลักดันด้านการสร้างความรู้สึกเป็นประชาคมเดียวกันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานความพร้อม ก่อนจะนำไปสู่การสร้างความเป็นพลเมืองอาเซียนอย่างเป็นทางการ ผ่านการรณรงค์ใน 5 มิติของแนวคิดที่ควรร่วมกันซึ่งเรียกย่อๆ ว่า “SHARE”โดยมี ความหมาย คือจากความหมายที่มาจากคำว่า “SHARE” หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “แบ่งปัน” โดยมาจาก S: Social value คือ ค่านิยมทางสังคมร่วมกัน H: Historical perspective คือ มุมมองทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน A: Art appreciation คือ ความชื่นชมในศิลปะร่วมกัน R: Religious respect คือ ความเครารพในศาสนาร่วมกัน และ E: Etiquette คือ ธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกัน
1. ค่านิยมทางสังคม หรือ S = social value พลเมืองอาเซียนควรมีค่านิยมทางสังคมที่ดีงามร่วมกันส่งเสริมค่านิยมที่มีร่วมกันในระดับภูมิภาค เช่น ความรักในสันติภาพ การแบ่งปันระหว่างกัน การให้ความสำคัญกับครอบครัว การนับญาติความเคารพในผู้ใหญ่ การให้ความสำคัญการปฏิบัติตนในที่สาธารณะ การมีจิตสาธารณะ
2. มุมมองทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือ H = Historical perspective พลเมืองอาเซียนควรมีมุมมองทาประวัติศาสตร์ร่วมกัน สร้างความเข้าใจในระดับประวัติศาสตร์ระดับภูมิภาคโดยให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ร่วมที่ เกิดขึ้นกับภาพรวมของทั้งภูมิภาคมากกว่าทางประวัติศาสตร์ที่ อาจสะท้อนความขัดแย้งของแต่ละประเทศ
ความชื่นชมในศิลปะที่มีร่วมกัน Art appreciation ความชื่นชมในศิลปะที่มีร่วมกันนำเสนอความซาบซึ้งและชื่นชมในศิลปะแขนงต่างๆ รูปแบบต่างๆ ที่ร่วมกันในระดับภูมิภาค
ความเคารพในศาสนาร่วมกัน หรือ R = Religious respect มุ่งสร้างความเข้าใจและเคารพในศาสนาต่างๆ ที่แม้จะมีความแตกต่าง แต่ต่างทำหน้าที่เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในภูมิภาค
ธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกัน หรือ E = Etiquette ธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกันส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในขนบธรรมเนียมและวิถีทางสังคม รวมถึงข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติที่ถือมีความสำคัญในระดับภูมิภาค ซึ่งข้อควรรู้ที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้
ธรรมเนียมปฏิบัติในเวียดนาม ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่าง ๆ ของรัฐ คดียาเสพติดและการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต การทักทายใช้การสัมผัสมือแบบสองมือ โดยวางมือซ้ายไว้บนข้อมือขวา ห้ามถ่ายภาพวิดีโอของชาวท้องถิ่นที่เป็นชนกลุ่มน้อยเพราะถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดการแตกแยก ห้ามมอบผ้าเช็ดหน้าเป็นของขวัญให้แก่ชาวเวียดนามเด็ดขาดเพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโศกเศร้า
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศฟิลิปปินส์ การเท้าสะเอวจะหมายถึงการท้าทาย การเลิกคิ้วจะหมายถึงการทักทาย มักใช้ริมฝีปากชี้ไปที่สิ่งต่างๆ มากกว่าการชี้ด้วยนิ้ว โดยส่วนใหญ่จะมีการตกแต่งบ้านให้สวยงามก่อน 2 เดือน เพื่อ ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ชาวพื้นเมืองจะคาดหวังให้คุณเป็นคนคุยเก่งเพราะความเงียบจะเป็นสัญญาณของความเบื่อหรือไม่มีความสุข
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศกัมพูชา ห้ามจับศีรษะกัน เพราะถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย การสบตามากเกินไป ถือเป็นการไม่ให้เกียรติ ไม่ส่งเสริมการให้เงินแก่ขอทาน เพราะถือว่าเป็นการให้เงินแก่คนที่ไม่ยอมทำงาน ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศและประสงค์จะทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี ไม่ควรสวมใส่เสื้อแขนสั้นหรือเสื้อผ้าที่เปิดเผยให้เห็นผิวพรรณหากต้องเข้าไปสถานที่ทางศาสนา
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศสิงคโปร์ ห้ามถ่มน้าลายในที่สาธารณะ ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด ต้องทิ้งในถังขยะเท่านั้น ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด รวมถึงที่ที่มีป้ายห้ามสูบด้วย หมากฝรั่งถือเป็นสิ่งต้องห้ามและไม่ให้มีไว้ครอบครอง การลักลอบนาเข้ายาเสพติด อาวุธปืน และสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศมาเลเซีย ควรใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหารและรับส่งของ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องต้องข้าม โดยทั่วไปไม่นิยมดื่ม ปกติการจับมือถือว่าเป็นการทักทายที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แต่การจับมือนั่นควรให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ผู้ชายไม่ควรมีเจตนาไปจับมือก่อน การชี้นิ้วไปที่สถานที่ สิ่งของ หรือคน ให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาชี้ โดยพับนิ้วที่เหลือทั้ง 4 นิ้วเก็บไว้
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศลาว บ้านต้องถอดรองเท้าไว้นอกบริเวณตัวอาคารบ้าน ไม่ควรใส่รองเท้าในบ้าน ตามมารยาท ถ้ามีคนเสิร์ฟน้าให้ต้องดื่มทันที ถ้าเดินผ่านผู้ใหญ่ต้องก้มศีรษะ ถ้ามีเพื่อนชาวท้องถิ่นในประเทศนี้ชวนไปพักที่บ้านห้ามตอบแทนด้วยเงินจะถือว่าเป็นการดูถูก ห้ามแจกขนมหรือสิ่งของต่างๆ ให้กับเด็กในสถานที่ต่างๆ เพราะจะเป็นการสนับสนุนให้มีขอทานเกิดได้
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศเมียนม่า ไม่ควรพูดเรื่องการเมืองกับคนไม่คุ้นเคย ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์ การให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ ผู้หญิงชอบทาทะนาคา ส่วนผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก การจับมือเป็นการทักทายตามปกติที่ได้รับการยอมรับทั่วไป
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศอินโดนีเซีย ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับส่งของเพราะถือว่าไม่สุภาพ การไปร่วมงานศพจะใส่ชุดสีใดก็ได้ ไม่จับศีรษะ รวมถึงไม่ลูบศีรษะเด็ก การใช้บริการสถานที่ต่างๆ นั้นไม่ต้องให้ทิปเพราะถือว่าเงินที่ได้จากการใช้บริการคือสิ่งที่แลกเปลี่ยนแล้ว การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาแทนการใช้นิ้วชี้มือขวา เพราะการใช้ชี้จะเป็นการไม่สุภาพและเป็นการไม่ให้เกียรติ
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศไทย ทักทายด้วยการไหว้ ไม่นิยมทักทายด้วยการจับมือ เท้าถือเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะหรือเก้าอี้ หรือหันไปที่ใคร ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนามากระทำการใดๆ ที่เป็นการเหยียดหยามโดยเด็ดขาด
การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในสังคม สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ มีการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม เช่น การบวช การแต่งงาน งานโกนผมไฟ การเผาศพ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด
ธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศบรูไน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือว่าเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่นเพราะถือว่าไม่สุภาพ ไม่ควรยกปลายเท้าไปทางคู่สนทนา และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง ควรนั่งวางเท้าราบกับกับพื้นจะเป็นการดีที่สุด คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น จึงไม่มีเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์วางขาย
แนวทางการปฏิบัติตนของพลเมืองอาเซียน
ค่านิยมของคนไทย 12 ประการ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายปลูกฝังการสร้างค่านิยมของคนไทย ประการ ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งในแผนเร่งด่วนได้เริ่มปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองแล้ว เพื่อให้นักเรียนรู้หน้าที่ของคนไทย มีระเบียบ วินัย มีคุณธรรมจริยธรรม มีความภูมิใจในชาติและความเป็นคนไทย สำหรับค่านิยมหลักของคนไทย 12ประการ ตามนโยบายของ คสช. ประกอบด้วย
2. ทักษะของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นความสามารถพิเศษที่เด็ก ๆ จะต้องพัฒนาเพื่อให้มีความพร้อมต่อการท้าทายในการทำงานและการดำเนินชีวิตอนาคตในศตวรรษที่ 21 ทักษะที่ว่านี้จัดเข้าเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพการงาน
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ง ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพการงาน การดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียนกำหนดเป็นลักษณะ 4 ด้าน ด้านความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และมีความรู้เกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน ด้านทักษะพื้นฐานและกระบวน ได้แก่ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศในอาเซียนอีกอย่างน้อย 1 ภาษา มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี และมีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียนกำหนดเป็นลักษณะ 4 ด้าน(ต่อ) ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบทางสังคม เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีภาวะผู้นา เห็นปัญหาสังคมและลงมือทำ ทักษะการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และ รู้จักควบคุมตนเอง ด้านเจตคติ มีความภูมิใจในความเป็นไทยและความเป็นอาเซียน ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย รวมถึงยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง