วิธีการคุ้มครองคู่ความ มาตรา 264

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
วิธีการคุ้มครองโจทก์ มาตรา 254
Advertisements

วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา วิธีการคุ้มครองจำเลย มาตรา 253
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิธีการคุ้มครองคู่ความ มาตรา 264 กฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 2

มาตรา 264 นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และ มาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อให้ มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอ ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำ พิพากษา เช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวาง ต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความ ปกครองของบุคคลภายนอก คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และ มาตรา 262 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

บุคคลที่จะขอความคุ้มครอง 1) โจทก์ 2) จำเลย 3) ผู้ร้องสอดที่ศาลอนุญาตให้ เข้ามาในคดี 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2533 ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อ คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้น ผู้ร้องสอด เพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้อง สอดเข้ามาเป็นคู่ความ ผู้ร้องสอดจึงไม่มี สิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ ตามบทบัญญัติดังกล่าว 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อพิจารณา 1) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นขอไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2502 ผู้ร้องเป็นแต่เพียงผู้ที่อ้างตน ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย โดยผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จาก จำเลยในคดีหนึ่ง ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะมาร้องขอให้งดการขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่ง ได้นำยึดไว้ เพื่อบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้และผู้ร้องจะ ไปร้องในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ขอยึดหรืออายัตทรัพย์ดังกล่าวนี้ก่อน คำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ก็ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 คู่ความที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นที่จะร้องขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ได้ เมื่อผู้ร้องเป็นบุคคลนอกคดี ก็ไม่อาจจะ ขอให้ศาลสั่งขยายระยะเวลาการขายทอดตลาดเพื่อให้โอกาสผู้ร้อง เข้าขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ขายนั้นได้ การขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษา ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 1 หมวด 1 นั้น จะ กระทำได้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นคู่ความในคดีนั้น. 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อพิจารณา 2) ผู้คัดค้านที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำ คัดค้านขอไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2551 ผู้ คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อต่อสู้ คดีกับผู้ร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านซึ่งมี ผลเป็นการไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป็น คู่ความ แม้ผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล ชั้นต้นที่ไม่รับคำคัดค้านดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้น ไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยืน ตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนั้นในขณะยื่น คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ผู้คัดค้านมิใช่คู่ความ จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมี คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

วิธีการที่จะนำมาใช้ นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253และมาตรา 254 เช่น 1) นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อ บุคคลภายนอก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2510 (มีต่อ) โจทก์ฟ้องขอ แบ่งทรัพย์สินรวมทั้งรายได้ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยาโดย มิชอบด้วยกฎหมาย ชั้นไต่สวนเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนด วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา ได้ความว่าโจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายและอยู่ร่วมกันที่โรงแรมและบ้านเช่าอันเป็นส่วนหนึ่ง ของทรัพย์สินที่พิพาท ทั้งโรงแรมและบ้านเช่านั้นปลูกอยู่บน ที่ดินซึ่งมีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้รายได้จากกิจการ โรงแรมและบ้านเช่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ในระหว่าง พิจารณาที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองโดยให้ นำมาวางต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่งมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2510 (ต่อ) คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่ให้คุ้มครอง ประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาเมื่อ ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักใน การมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอำนาจของศาล ชั้นต้นที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณามีคำสั่งแก้ไข หรือยกเลิกวิธีการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 262 มิใช่เป็น อำนาจของศาลฎีกา เพราะยังถือไม่ได้ว่าคดีอยู่ ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2516 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้โดยอ้าง ว่าได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูก สร้างโดยขาดเจตนา ย่อมขอให้ศาลสั่ง กำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ในระหว่าง พิจารณา โดยให้จำเลยนำเงินค่าเช่าห้อง แถวพิพาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเสร็จคดีมา วางศาลได้ เพราะถ้าศาลพิพากษาให้เพิก ถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเงินค่าเช่าห้องแถว นับแต่วันจดทะเบียนสัญญาให้ มิใช่ตั้งแต่วัน ศาลพิพากษาให้เพิกถอนดังฟ้องขอให้เพิก ถอนการให้ เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 4982/2549 จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงิน 4 ล้านบาท โดย อ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กิน ฉันสามีภริยา จึงถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็น ทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้งที่จำเลยจะมีสิทธิร้อง ขอให้คุ้มครองประโยชน์ของตนในระหว่างพิจารณาได้ และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินจำนวนที่พิพาทกันมีการนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน โดยได้ออกเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อโจทก์ และโจทก์ได้เบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไป จาก ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้ แบ่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะ ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครอง ประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณา โดยให้โจทก์นำเงินจำนวน 2 ล้านบาท มาวางต่อศาล ชั่วคราวตามมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

หากศาลมีคำสั่งให้นำเงินมาวาง จะขอวางหลักประกันไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2535 การที่ศาล อุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์ก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 โดยให้จำเลยนำเงินที่ได้จาก การบริหารกิจการโรงแรม น. มาวางศาลเดือนละ 150,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีลักษณะเป็นการ บังคับให้จำเลยนำผลประโยชน์ที่ได้รับในการ บริหารกิจการโรงแรมดังกล่าวในระหว่างพิจารณา คดีมาวางไว้ที่ศาล มิใช่เป็นเรื่องประสงค์จะบังคับ เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำเลยจะขอวาง หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันหาได้ไม่. 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีไม่ใช่คำร้องขอให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก คำพิพากษาฎีกาที่ 4592/2539 การร้องขอคุ้มครอง ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 264 คู่ความ ฝ่ายใดในคดีนั้นๆ จะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการ คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาท กันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำ พิพากษา กรณีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระ เงินเช่นในคดีนี้ มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิ หรือประโยชน์อันจำเลยที่ 1 จะร้องขอเพื่อให้ได้รับ ความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึง ขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ ไม่ได้ และจะขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมา วางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ ทำเช่นนั้นได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

วิธีการที่จะนำมาใช้ 2) ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท ฎีกาที่ 4277/2543 จำเลยทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นข้างน้อยและเป็นผู้บริหารของ บริษัทที่พิพาท จำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้นว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มี อำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาท และตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ กระทำการแทนที่โจทก์ที่ 6 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาล มีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมี คำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามมาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการ ฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คน ให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อ บริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่า เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามมาตรา 264 ที่ให้อำนาจ ศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาทได้ ทั้งเป็น คำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำ พิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จด ทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมี อำนาจกระทำการแทนบริษัทพิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการ คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนิน กิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

วิธีการที่จะนำมาใช้ 3) จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความ ปกครองของบุคคลภายนอก 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

เงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาต 1) ต้องเป็นคู่ความในคดี 2) คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลใดศาลหนึ่ง 3) เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ ขอในระหว่างการพิจารณา หรือ เพื่อบังคับตามคำพิพากษา 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 421/2524 คำว่า “การพิจารณา” ตามมาตรา 1 (8) หมายความ ว่า กระบวนการพิจารณาทั้งหมดในศาลใดศาลหนึ่ง ก่อนศาลนั้นชี้ ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำพิพากษาหรือคำสั่ง และ “การ จำหน่ายคดี” นั้น หมายถึง การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจาก สารบบความตามมาตรา 132 ซึ่งมีผลให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาล ที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนั้น การที่คู่ความร้องขอให้ศาลชั้นต้นรอฟังผลของคำพิพากษา ในคดีอื่นเพื่ออาศัยเป็นหลักในการชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการร้อง ขอให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปตามมาตรา 39 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้จำหน่ายคดีนี้ชั่วคราวจึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่ง พิจารณาไปนั่นเอง หาใช่เป็นการสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ตามมาตรา 132 ไม่ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวัน ใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอในเวลา ใดๆ ก่อนคำพิพากษาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองอย่างใดๆ ตาม มาตรา 254 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อ คุ้มครองประโยชน์มาตรา 264 ได้ด้วย 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อพิจารณา 1. กรณีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอใน ระหว่างพิจารณา แนวคำพิพากษาศาลฎีกามักจะให้ความหมายไป ในทำนองที่ว่า จะต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่าง ใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความ คุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อความ สะดวกในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษา 1.1 คำว่า เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ร้องขอ หมายถึง คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้ ตนได้รับความเสียหายหากภายหลังตนชนะคดี หรือ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2545 โจทก์กับจำเลยทั้งสี่พิพาทกันเกี่ยวกับ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดิน สอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออก โฉนดที่ดินแก่จำเลยทั้งสี่ตามประมวล กฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 เมื่อจำเลยทั้งสี่ ได้รับโฉนดที่ดินแล้วอาจมีการโอนที่ดิน พิพาทต่อไป ซึ่งหากศาลพิพากษาใน ภายหลังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ อาจได้รับความเสียหาย กรณีมีเหตุสมควร กำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2542 ต้นยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้ โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขาย เป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ถึง 5 ปี จึงจะตัดฟันนำไปใช้ ประโยชน์ได้ และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกยอดเจริญเติบโตขึ้น เป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี ก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วง ระยะเวลานานตลอดไป หาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ฉะนั้น ต้น ยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของ แผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้ การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็น ตัวแทนของรัฐไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ฉะนั้น หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่าย ชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรที่จะสั่งห้ามไม่ให้ โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการ ชั่วคราว การขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของ ผู้ขอระหว่างพิจารณาได้ หากเห็นว่าการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้ ตนได้รับความเสียหายหากภายหลังตนชนะคดี กฎหมายหาได้บัญญัติว่าหากผู้ ขอเป็นฝ่ายจำเลยจะต้องฟ้องแย้งดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณา 1.2 คำว่า เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดี นั้นได้รับความคุ้มครอง หมายถึง (1) ถ้าโจทก์เป็นผู้ร้องขอต้องเกี่ยวกับ คำฟ้อง หรือคำขอท้ายฟ้อง (2) ถ้าจำเลยเป็นผู้ร้องขอต้องเกี่ยวกับ คำให้การที่ขอให้ยกฟ้อง หรือคำขอท้ายฟ้อง แย้ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องแย้งเสมอ ไป 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดี กรณีโจทก์ร้องขอ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2551 โจทก์ที่ 1 ทำ สัญญาขายฝากที่ดินและบ้านแก่จำเลยแล้วไม่ไถ่ถอนภายใน กำหนด ส่วน ม. ทำสัญญาขายฝากที่ดินอีกแปลงหนึ่งแก่ จำเลย แล้วไม่ไถ่ถอนภายในกำหนดเช่นเดียวกัน จึงตก เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใดที่บัญญัติให้ที่ดินของจำเลยส่วนที่โจทก์ทั้งสองปลูกบ้าน ตกเป็นภาระจำยอมแก่ของโจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีหน้าที่ที่ จะต้องดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระ จำยอมแก่บ้านของโจทก์ทั้งสอง จึงยังไม่มีเหตุผลเพียง พอที่จะคุ้มครองประโยชน์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการ พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งสองมีคำขอ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 14088/2551 เมื่อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขาย ทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้ร้องคงมีสิทธิขอ กันส่วนของตนตามมาตรา 287 จากเงิน ที่ได้จากการขายทอดตลาดเท่านั้น จึง ไม่สมควรมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อ คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง โดยให้ ระงับการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ใน ระหว่างการอุทธรณ์ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 610/2543 โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียก ค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงิน ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่ง ปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอยบนที่ดินพิพาท แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่า เช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินดังกล่าวควรจะเป็นของโจทก์หรือของ จำเลย จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 264 ที่โจทก์จะ ขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้ง บุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและดูแลกิจการแทน 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 1360/2550 การที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงิน ของจำเลยที่มีอยู่และที่จะได้รับจากการประกอบกิจการ โดย ให้จำเลยส่งเงินทั้งหมดมาเก็บรักษาไว้ที่ศาลจนกว่าจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุดนั้น มีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยนำเงินมาวาง ศาลเพื่อเอาชำระหนี้ให้โจทก์เป็นการร้องขอตามมาตรา 264 แต่การร้องขอดังกล่าวจะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่าง หนึ่งที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มี คำพิพากษา กรณีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระเงินซึ่ง เป็นค่าขาดประโยชน์มาด้วย มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน หรือสิทธิหรือประโยชน์ที่จะร้องขอเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง ตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจะขอให้จำเลยนำ ทรัพย์สินหรือเงินมาวางตามมาตรานี้ไม่ได้ และจะขอให้ จำเลยหาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 9404/2555 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยส่ง มอบโฉนดที่ดินทั้ง 11 แปลง ให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นเสมือนคำสั่งต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินทั้ง 11 แปลง ให้แก่โจทก์ และให้ โจทก์มีอำนาจดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์และทายาทเป็นผู้ ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ตามคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่าง การพิจารณาตามมาตรา 264 เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยนำเงิน ที่ได้จากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 4707 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทมาวาง ศาล และให้มีคำสั่งอายัดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทในคดีนี้ ทั้ง 11 แปลง ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไว้ชั่วคราวจนกว่า ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวว่า จำเลยขายที่ดินโฉนดเลขที่ 4707 ซึ่งเป็นที่ดิน พิพาทไปแล้ว กรณึจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ของโจทก์ในส่วนนี้ได้ และศาลก็ไม่อาจมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ ได้จากการขายมาวางศาล เพราะเงินที่ได้จากการขายนั้นไม่อยู่ ในขอบข่ายแห่งประเด็นตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งตามคำร้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็น ว่าจำเลยจะยักย้าย ถ่ายเท โอน ขาย จำหน่ายที่ดินพิพาทส่วน ที่เหลือตามคำร้องของโจทก์ รูปคดีจึงไม่มีเหตุอันสมควรจะมีคำสั่ง กำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา ตามมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดี จำเลยร้องขอ ฎีกาที่ 3900/2532 โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ หรือเรียกค่าเสียหายมาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยจะร้องขอให้ศาลสั่งให้ โจทก์เอาผลประโยชน์ที่ได้รับมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึง ที่สุดหาได้ไม่เพราะผลทางคดีถ้าจำเลยเป็นฝ่ายชนะศาล ก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปเท่านั้น ไม่มีผลบังคับไปถึง ผลประโยชน์ของที่ดินตามที่จำเลยขอคุ้มครอง 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2515 การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น คู่ความฝ่ายใดจะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครอง ไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อความสะดวกในการ ที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษา โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์เรือน แม้จะปรากฏ ว่าโจทก์ให้บุคคลอื่นเช่าเรือนนั้นและได้ค่าเช่าเป็นประโยชน์ ตอบแทนจำเลยก็จะร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์หรือผู้เช่านำเงิน ค่าเช่ามาวางศาลหาได้ไม่ เพราะผลของคดีถ้าจำเลยเป็นฝ่าย ชนะศาลก็จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ไปตามคำขอท้าย คำให้การจำเลยเท่านั้น ไม่มีผลบังคับไปถึงผลประโยชน์อัน เป็นค่าเช่าตามที่จำเลยร้องขอคุ้มครองได้ เว้นไว้แต่จำเลยจะ ได้ฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์เรือนและเรียกค่าเช่าหรือ ค่าเสียหายมาด้วย 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 5722/2551 ผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิ เรียกร้องเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายแต่อย่างใด คงพิพาทกันเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประโยชน์ของผู้คัดค้านในคดี นี้จึงอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก ของผู้ตาย คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ ขอให้อายัดทรัพย์มรดกและห้ามผู้ร้องทำนิติกรรมใด เกี่ยวกับทรัพย์มรดกจึงไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของผู้ คัดค้านที่มีอยู่ในคดี อันพึงจะต้องให้ศาลมีคำสั่งกำหนด วิธีการเพื่อคุ้มครองในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อ บังคับตามคำพิพากษาดังบัญญัติไว้ในมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539 ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อ พิพาทเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็น ผู้จัดการมรดกนั้น ประโยชน์ของผู้ร้องและผู้ คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งใน ทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครอง ชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ใน ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คร.ท.80/2554 การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีจะร้องขอก็ได้ แต่จะต้อง เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันได้รับความ คุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือเพื่อความสะดวก ในการที่จะบังคับตามคำพิพากษาต่อไป โจทก์และจำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยจำเลยฟ้องแต่เพียงให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนการขาย ฝากที่ดินพิพาท หาได้ฟ้องเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย อย่างใดแก่จำเลยไม่ จำเลยจึงไม่อาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ โจทก์เอาผลประโยชน์ที่ได้รับจากที่ดินพิพาทมาวางศาล จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เพราะเป็นการขอนอกเหนือไปจาก ประโยชน์ที่พิพาทกันในคดีและมิใช่เพื่อบังคับตามคำพิพากษา ตามมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2527 การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น ๆ จะร้องขอก็ได้ แต่ จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ ทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาท กันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มี คำพิพากษากรณีที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงิน นี้มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน หรือสิทธิ หรือ ประโยชน์อันจำเลยจะร้องขอเพื่อให้ได้รับความ คุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจะขอให้โจทก์นำ ทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้และ จะ ขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำ เช่นนั้นได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีเกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดี โจทก์ร้องขอ คำพิพากษาฎีกาที่ 3166/2524 แม้อำนาจในการแต่งตั้ง ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ จะเป็นของคณะกรรมการ องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลเป็นผู้ใช้ อำนาจในการแต่งตั้ง คดีพิพาทกันโดยโจทก์ซึ่งเป็น ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่ เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใน ตำแหน่งเดิม ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการ ทำงาน ถ้าไม่อาจบังคับได้จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ดังนี้ เพื่อให้คำขอบังคับมีผลโจทก์ก็ย่อมขอให้ห้าม จำเลยแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ ไว้ก่อนที่ศาลจะ พิพากษาคดีได้ ศาลจะสั่งยกคำร้องโจทก์โดยไม่ไต่สวนเพื่อ พิเคราะห์ว่ามีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ใน ระหว่างพิจารณาหรือไม่หาได้ไม่ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 5509/2545 โจทก์กับจำเลยทั้งสี่พิพาทกันเกี่ยวกับ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดิน สอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออก โฉนดที่ดินแก่จำเลยทั้งสี่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ ได้รับโฉนดที่ดินแล้วอาจมีการโอนที่ดิน พิพาทต่อไป ซึ่งหากศาลพิพากษาใน ภายหลังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์อาจไดรับความเสียหาย กรณีมีเหตุ สมควรกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของ โจทก์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีเกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดี จำเลยร้องขอ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2526 โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลย ชำระค่าจ้างก่อสร้างอาคาร จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิด สัญญา เมื่อตามสัญญาระบุให้สิ่งก่อสร้างรวมทั้งสัมภาระอุปกรณ์ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ว่าจ้างตั้งแต่นำเข้ามาในที่ก่อสร้าง จำเลยจึงมีส่วนได้เสียในอาคารพิพาท หากอาคารถูกปล่อยปละ ละเลยไม่มีผู้ดูแลรักษา ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ ส่วนได้เสียของจำเลย แม้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ส่งมอบอาคาร จำเลยก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยใน ระหว่างการพิจารณา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ดูแลรักษาอาคารใน ระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 264 เมื่อโจทก์หยุดการก่อสร้างไปแล้ว และการที่จะให้ จำเลยเข้าดูแลรักษาอาคารไม่กระทบถึงสิทธิส่วนได้เสียของโจทก์ ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเข้าเป็นผู้ดูแลรักษาอาคาร พิพาทในระหว่างพิจารณา แต่ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเข้า ดำเนินการทำประโยชน์และครอบครองอาคารโดยจำเลยมิได้ฟ้อง แย้งและมีคำขอบังคับเช่นนั้น จึงไม่ชอบด้วย มาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีเกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดี แต่ไม่มีเหตุผลอันสมควรอนุญาต คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2541 การร้องขอคุ้มครอง ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จะต้องเป็นการคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไว้ จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อความสะดวกในการ บังคับคดีตามคำพิพากษา คดีนี้ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 3ได้จด ทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้แก่จำเลยที่ 4ผู้รับ จำนองมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญจึงเป็นสิทธิ ที่ให้ความคุ้มครองตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 4ได้ดีกว่าการที่ โจทก์ทั้งสิบห้าขอวางเงินต่อศาลเป็นประกันการชำระหนี้แทน ที่ดิน การใช้วิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสิบห้าไว้ ในระหว่างการพิจารณาตามที่โจทก์ทั้งสิบห้ามีคำขอจึงเป็น การทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จะกระทำโดยจำเลยที่ 4 มิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะ คุ้มครองประโยชน์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาตาม วิธีการที่เสนอ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 7340/2542 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยทั้งสอง เกี่ยวข้องและห้ามกระทำการรบกวนการครอบครองที่ดินของ โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณ สมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริง ฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะ เข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐได้ไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท ที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วน ควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 หากให้โจทก์ตัดต้น ยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่าย ชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรที่ จะสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท ระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีเพื่อบังคับตามคำพิพากษา 1. ในชั้นร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่ ฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามมาตรา 296 2. ในชั้นร้องขอคัดค้านการขาย ทอดตลาดตามมาตรา 309 ทวิ คร. 1020/2537 จำเลยคัดค้านการขาย ทอดตลาด อ้างว่าราคาต่ำไป จำเลยขอ คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา โดยขอให้งดการโอนทรัพย์สินที่ขาย ทอดตลาดไว้ก่อนตามมาตรา 264 ได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ในชั้นขับไล่บริวารของจำเลย คำพิพากษาฎีกาที่ 5997/2533 คดีนี้เป็น กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดี ซึ่งมีประเด็น ที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ผู้ร้องเป็น บริวารของจำเลยหรือไม่ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่ามี สิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทด้วยนั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวเอากับโจทก์ ต่างหากจากคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะให้ ศาลนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำ พิพากษาโดยให้ระงับการทำนิติกรรมใดใน ที่ดินพิพาทจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด มาใช้ในชั้นนี้ได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

2) เป็นคำร้องสองฝ่าย (ม. 264 ว.2 ประกอบ ม.21(2)(4)) หลักเกณฑ์การร้องขอ 1) ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง 2) เป็นคำร้องสองฝ่าย (ม. 264 ว.2 ประกอบ ม.21(2)(4)) 3) ขอกรณีฉุกเฉินไม่ได้ เพราะ มาตรา 264 วรรคสอง มิได้บัญญัติให้ นำมาตรา 266 ถึง 270 มาใช้บังคับ กับคำขอตามมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ศาลที่จะทำการไต่สวนและพิจารณาสั่ง 1) ขอในระหว่างพิจารณาของศาล ชั้นต้น ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้น ศาล ชั้นต้นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่ง 2) ขอในระหว่างพิจารณาของศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกา ยื่นคำขอต่อศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกา แต่ส่วนใหญ่จะ ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นเสมอ ศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจ พิจารณาสั่ง 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อพิจารณา 1. ศาลต้องพิจารณามีคำสั่งโดยไม่ชักช้า (ม.264 ว.2 ประกอบ ม.25) 2. ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนจะงดการไต่ สวนและมีคำสั่งไปได้เลย ฎีกาที่ 3749/2533 คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อาจมีคำสั่งตามคำขอของคู่ความที่ ขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาล อุทธรณ์ได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน เพราะการสั่งในกรณี เช่นนี้กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวน ได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามมาตรา 21(4) ประกอบ มาตรา 264 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่ง ที่ดินพิพาท 1 ใน 8 ส่วน การที่โจทก์มีคำขอและศาลอุทธรณ์ ใช้ดุลพินิจให้มีผู้จัดเก็บผลประโยชน์รายได้ในที่ดินเป็นดอก ผลมาวางต่อศาลชั้นต้นเป็นรายเดือนจนกว่าศาลอุทธรณ์ พิพากษานั้น ย่อมเป็นการสมควร เพราะหากศาลชี้ขาดตัดสิน ให้โจทก์ชนะคดีในที่สุดโจทก์ย่อมจะได้รับแบ่งที่ดินรวมทั้ง ดอกผลในทรัพย์สินส่วนที่เป็นของโจทก์ตามที่ขอบังคับมาใน ฟ้องด้วย 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อพิจารณา 3. ในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลตามที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีอำนาจรับคำขอและไต่ สวนคำขอที่โจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่าง พิจารณาได้ 4. การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความ จะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา หรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอ คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำ พิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่าง พิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อ บังคับตามคำพิพากษา เพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2551 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบ กำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด ได้อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ประกอบกับผู้ร้องได้ยื่นคำร้อง ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งแรก จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลา อุทธรณ์ให้ผู้ร้อง คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่า ศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาท เป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา คือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาล ฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับ การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครอง ประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำ พิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการ พิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษา เพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำสั่งของศาล 1) ยกคำร้อง 1.1) ผู้ร้องขออุทธรณ์ฎีกาคำสั่งได้ (ม.228(2) และ ม.247) ข้อพิจารณา ถ้าเป็นทุเลาการบังคับคดีอุทธรณ์ฎีกา ไมได้ (ม.231) 2) อนุญาตตามคำร้อง 2.1) การสิ้นผลของคำสั่ง เป็นไปตามมาตรา 260 (ม.264 ว.2 ประกอบ ม.260) 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คู่ความตกลงกันให้มีผลไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุดได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 168/2513 ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าจะคดีจะ ถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่ง เป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการ คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามมาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืน กฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้ จะนำ บทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการ ขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

บทคุ้มครองฝ่ายตรงข้าม มาตรา 262 ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาล อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการ ชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาล เห็นสมควรหรือเมื่อจำเลยหรือบุคคลภายนอกตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 261 มีคำขอ ศาลที่คดีนั้นอยู่ใน ระหว่างพิจารณาจะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่น ว่านั้นเสียก็ได้ ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาล อุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวน ความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่น ว่านั้น 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 954/2510 คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ชั้นต้น จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่ให้คุ้มครอง ประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณา เมื่อ ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักใน การมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอำนาจของศาล ชั้นต้นที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณามีคำสั่งแก้ไข หรือยกเลิกวิธีการนั้นตามมาตรา 262 มิใช่เป็น อำนาจของศาลฎีกา เพราะยังถือไม่ได้ว่าคดีอยู่ใน ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ ฎีกาที่ 8876/2551 คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้อง ยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครอง ประโยชน์ตามมาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้อง พิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาลใด เมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของ จำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาล ฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้อง หรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมี คำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครอง ประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา หรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครอง ประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาล ชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดี อยู่ระหว่างการพิจารณา และมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อ บังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้อง ขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 264 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 9943/2556 การที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดพร้อมยื่นคำร้องขอ ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล และในระหว่างไต่สวนคำร้องขอ ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ผู้ร้องยื่นคำขอให้งดการขาย ทอดตลาดไว้ก่อน โดยอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้งดการ ขายทอดตลาดในเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา เพื่อให้ศาลมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ผู้ร้องไปในระหว่างไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตาม มาตรา 254 และมาตรา 264 นั้น เมื่อพิจารณาตาม มาตรา 288 ได้กำหนดเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการ ขายทอดตลาดไว้ว่าเมื่อศาลรับคำร้องขัดทรัพย์ และเจ้า พนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำร้องเช่นว่านี้ ดังนั้น การ งดการขายทอดตลาดในกรณีดังกล่าวจึงเป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้วทั้ง วิธีการชั่วคราวตามมาตรา 254 และมาตรา 264 ที่ผู้ร้อง ฎีกามานั้นให้อำนาจศาลคุ้มครองชั่วคราวได้เฉพาะกรณีที่ ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาแล้วเท่านั้น เมื่อคดีของผู้ร้องศาล ชั้นต้นยังมิได้รับคำร้องไว้พิจารณา ศาลจึงไม่อาจนำวิธีการ ชั่วคราวมาใช้บังคับได้ 26/06/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer