วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการ พลาญชัยร้อยเอ็ด ศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการอ่านสารในชีวิตประจำวัน วิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ผู้วิจัย วิไลวรรณ อนันตะบุศย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการ พลาญชัยร้อยเอ็ด
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสารในชีวิตประจำวัน ในวิชาภาษาไทยพื้นฐานโดยใช้แบบฝึกทักษะ ของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการ พัฒนาทักษะการอ่านสารในชีวิตประจำวัน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้แบบ ฝึกทักษะ
กรอบแนวคิดในการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านสารในชีวิตประจำวัน การจัดกิจกรรมการเรียนด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านสาร ในชีวิตประจำวัน ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านสารในชีวิตประจำวัน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 1 วิทยาลัย เทคโนโลยีพณิชยการพลาญชัยร้อยเอ็ด จำนวน 8 คน ที่ กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
วิธีดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอน ดังนี้ 1. ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากนักศึกษาที่กำลัง เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ด้วยวิธีการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็น หน่วยในการสุ่มได้นักศึกษาห้อง 1/1 จำนวน 8 คน เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง 2. ทำการทดสอบวัดสัมฤทธิ์ก่อนเรียน โดยให้ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน เรียน เรื่องการอ่านสารในชีวิตประจำวัน และรวบรวมข้อมูล
3. ผู้สอน ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 สัปดาห์ โดยให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 8 คน เรียนและให้ทำแบบฝึกทักษะการอ่านสารในชีวิตประจำวัน เป็นเวลา 4 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง 4. เมื่อนักศึกษาเรียนจบแล้ว ทำการทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนทันที โดยให้ทำแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์หลังเรียนด้วยข้อสอบชุดเดียวกันกับก่อนเรียน แล้ว เก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ 5. ทำการวัดความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสารในชีวิตประจำวัน 6. นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย โปรแกรม Excel
ภาพหลักฐานการสอน/การเก็บข้อมูล
ผลวิเคราะห์ข้อมูล 1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านสารใน ชีวิตประจำวันเป็นไปตาม ค่าแบบทดสอบก่อนเรียน ได้เท่ากับ 81.13 และ แบบทดสอบหลังเรียน ได้เท่ากับ 87.00 2. ค่าเฉลี่ยก่อนเรียนได้เท่ากับ 29.30 หลังเรียน ได้เท่ากับ 35.15 ผลการวิเคราะห์พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลัง เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญในสถิตที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย 1. การสร้างและการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่องการ อ่านสารในชีวิตประจำวัน ในวิชาภาษาไทยพื้นฐาน พบว่าแบบ ฝึกทักษะมีความเหมาะสม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และจากการนำแบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านสาร ในชีวิตประจำวัน ไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 8 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ พบว่าแบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 81.13/87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. การทดลองสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านสารใน ชีวิตประจำวัน พบว่า 2.1 นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 29.30 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 35.15 และเมื่อเปรียบเทียบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2.2 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 4.17 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.66
ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการตะวัน ดอกบัว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการพลาญชัย ร้อยเอ็ด ผู้ช่วยร่วมการวิจัยและเสนอแนะในการทำวิจัยให้สำเร็จให้ลุล่วงในครั้งนี้ ผู้อำนวยการนธภร แจ่มใส โรงเรียนอาเซียนศึกษา ที่ให้คำแนะนำทำให้การทำวิจัยในครั้งนี้ สำเร็จไปได้ด้วยดี