ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สรุปสาระสำคัญ 1. อาศัยอำนาจมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สรุปสาระสำคัญ 1.พื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา ให้พิจารณาความเหมาะสมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคาร โรงงาน ผังเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ เขตอนุรักษ์ พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่เสี่ยงภัยทางธรรมชาติและโบราณสถาน ส่วนสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผาที่เข้าข่ายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ให้พิจารณาความเหมาะสมตามประมวลหลักการปฏิบัติ

สรุปสาระสำคัญ 2.การออกแบบและการก่อสร้างสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 2.1 ก่อนการก่อสร้าง ควรเตรียมข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1) แผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศแสดงที่ตั้ง อาณาเขต และการใช้ที่ดินโดยรอบสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผาในรัศมี 1,000 เมตร 2) แผนผังแสดงกระบวนการปฏิบัติงานของสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา 3) ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ชนิด หรือประเภทมูลฝอย และปริมาณมูลฝอยที่กำจัด รวมทั้งการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยในอนาคต 4) ข้อมูลเกี่ยวกับเตาเผา เครื่องจักร และอุปกรณ์อื่นๆที่จะใช้ในการกำจัดมูลฝอย

สรุปสาระสำคัญ 5) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากร จำนวนวันและชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรการความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน 6) ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและรูปแบบการควบคุมการระบายอากาศเสียจากปล่องเตาเผา 7) ข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอย 8) ข้อมูลเกี่ยวกับการนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ประโยชน์ (หากมี)

สรุปสาระสำคัญ 2.2 การออกแบบสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา มีดังต่อไปนี้ 1) การออกแบบอาคาร และระบบต่างๆในสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา มีรายละเอียดดังนี้ (ก) ระบบรับ เก็บ พัก และป้อนมูลฝอยเข้าสู่เตาเผา จะต้องประกอบด้วย -เครื่องชั่ง และอาคารเครื่องชั่ง ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่เข้าสู่สถานที่กำจัดมูลฝอย -อาคารรับมูลฝอย ต้องมีตัวอาคาร ประตูอาคารที่ต้องป้องกันการแพร่กระจายของกลิ่นและสารมลพิษตลอดเวลา พื้นอาคารที่ระบายน้ำได้สะดวก

สรุปสาระสำคัญ -ที่กองพักและบ่อพักมูลฝอย ให้มีขนาดเหมาะสมต้องสามารถรองรับปริมาณมูลฝอยไม่น้อยกว่า 6 เท่าของมูลฝอยที่เก็บขนได้เฉลี่ยในแต่ละวัน มีประตูบ่อพักมูลฝอย และระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยเพื่อนำไปบำบัดอย่างเหมาะสม -ระบบป้อนมูลฝอยเข้าสู่เตาเผา จะต้องมีอุปกรณ์และระบบป้องกันควันหรือเปลวไฟออกจากเตาเผาอย่างเหมาะสม -องค์ประกอบเสริม เช่น ระบบดับเพลิง ระบบซ่อมบำรุง เครื่องป้อนมูลฝอยเข้าสู่เตาเผา

สรุปสาระสำคัญ (ข) ระบบเตาเผา จะต้องพิจารณาถึง -เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับปริมาณและองค์ประกอบทางกายภาพและเคมีของมูลฝอย -มลพิษที่ปล่อยระบายสู่บรรยากาศต้องมีคุณภาพไม่เกินมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย -ห้องเผาไหม้ ต้องออกแบบให้มีระยะเวลากักเก็บของก๊าซในห้องเผาไหม้ไม่น้อยกว่า 2 วินาที มีการผสมกันระหว่างอากาศกับมูลฝอยอย่างทั่วถึง เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ และให้เถ้าหนักเคลื่อนที่ออกจากเตาได้อย่างรวดเร็ว

สรุปสาระสำคัญ -ต้องมีระบบควบคุมการไหลและการกระจายตัวของอากาศที่เข้าสู่เตาเผาอย่างเหมาะสม -ต้องมีระบบการควบคุมความดันในเตาเผาที่เหมาะสม -ต้องควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาให้เป็นไปตามค่าที่ออกแบบไว้ และต้องมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมและตรวจวัดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ในระบบ -ต้องควบคุมอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ให้มีความเหมาะสม -การจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอยที่ออกจากเตา ต้องลดอุณหภูมิอย่างเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดสารประกอบไดออกซิน/ฟิวแรน ก่อนการนำเถ้าหนักและเถ้าลอยออกจากเตา พร้อมทั้งมีระบบการจัดการที่เหมาะสม

สรุปสาระสำคัญ -ระบบกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิในห้องเผาก๊าซในสภาวะที่เกิดการทำลายมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ได้อย่างเหมาะสม -การจัดการน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการเก็บ กอง เพื่อรอการนำเข้าสู่เตาเผา ต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมและน้ำทิ้งที่ปล่อยระบายจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

สรุปสาระสำคัญ 2) มาตรฐานงานโครงสร้าง งานถนน งานไฟฟ้า งานประปางานเครื่องกล ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การป้องกันอัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน หรือข้อกำหนดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ให้ระบุและแนบข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมาประกอบด้วย 3) การจัดวางผังบริเวณแสดงรายละเอียดการใช้พื้นที่ขององค์ประกอบต่างๆในสถานที่ ให้ใช้มาตราส่วนที่เหมาะสม 4) ความเหมาะสมของพื้นที่ถ่ายเทและเก็บรวบรวม พื้นที่คัดแยกมูลฝอยที่ไม่สามารถนำไปเผาได้ ภายในอาคารพื้นที่รวบรวมวัสดุที่คัดแยก และระบบจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอย

สรุปสาระสำคัญ 5) ถนนภายในสถานที่ควรเป็นพื้นแอสฟัลต์ หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก กรณีช่องทางการจราจรเดียว ควรมีความกว้างของช่องทางการจราจรไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร กรณีสองช่องทางการจราจรควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร 6) ความสูงของปล่องเตาเผาที่ใช้ระบายอากาศเสีย ต้องใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมในการคำนวณและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และต้องไม่ต่ำกว่า 20 เมตร

สรุปสาระสำคัญ 7) การพิจารณารูปแบบ ขนาด และประสิทธิภาพในการทำงานของเตาเผา การแปรสภาพก่อนการเผา การป้อนมูลฝอย การนำความร้อนกลับมาใช้ประโยชน์ ต้องสอดคล้องกันและเหมาะสมกับเทคโนโลยีการเผา รวมทั้งการจัดการกาก เถ้า จากเตาเผา 8) การจัดเตรียมการชั่งน้ำหนักมูลฝอยที่นำไปเผาและปริมาณกาก เถ้า ที่เก็บรวบรวมไว้ก่อนนำไปกำจัดต่อไป 9) การควบคุมปัญหากลิ่นรบกวน ระบบระบายอากาศที่ดี และการควบคุมเศษมูลฝอยปลิว 10) ระบบจัดการน้ำฝนต้องมีประสิทธิภาพ

สรุปสาระสำคัญ 11) ระบบควบคุมน้ำเสียต้องมีประสิทธิภาพ และต้องควบคุมคุณภาพน้ำก่อนระบายทิ้งสู่ภายนอก โดยต้องไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด 12) ระบบกำจัดเถ้าหนัก ให้ปฏิบัติตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

สรุปสาระสำคัญ 3.การจัดการสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1 จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในชั่วโมงทำงาน ติดประกาศชั่วโมงปฏิบัติงานที่ประตูทางเข้า 3.2 จัดเตรียมคู่มือการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา มาตรการควบคุมความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน 3.3 จัดเตรียมมาตรการตรวจสอบ และการจัดการไม่ให้มูลฝอยติดเชื้อและของเสียอันตรายปะปนกับมูลฝอยทั่วไปในสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผายกเว้นกรณีที่มีการออกแบบและควบคุมให้สามารถจัดการมูลฝอยติดเชื้อร่วมกับมูลฝอยอื่นได้

สรุปสาระสำคัญ 3.4 ควบคุมเศษมูลฝอย กลิ่น แมลง และพาหะนำโรค เพื่อป้องกันปัญหารบกวนด้านสุขอนามัย และสภาพที่ไม่น่าดู 3.5 บันทึกปริมาณมูลฝอยรายวันจากแหล่งกำเนิดต่างๆที่นำเข้าไปกำจัด ปริมาณและประเภทวัสดุที่คัดแยกออกหรือสิ่งตกค้าง ปริมาณเถ้าหนักและเถ้าลอยที่เก็บรวบรวม 3.6 จัดให้มีมาตรการป้องกันอัคคีภัย แผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไข้ปัญหากรณีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ขัดข้อง หรือจากสาเหตุอื่นๆในขณะปฏิบัติงาน 3.7 จัดให้มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง

สรุปสาระสำคัญ 3.8 ติดตามตรวจสอบอากาศเสียจากปล่องเตาเผา อย่างน้อยปีละ2 ครั้ง 3.9 ต้องรวบรวม บำบัดหรือใช้ประโยชน์น้ำเสียจากการปนเปื้อนมูลฝอย รวมถึงน้ำเสียใดๆทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา กรณีที่มีการระบายน้ำทิ้ง ต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด 3.10 กำจัดเถ้าหนักโดยการฝังกลบ และเถ้าลอยโดยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สรุปสาระสำคัญ 3.11 ไม่ควรใช้เถ้าหนักและเถ้าลอยเพื่อประโยชน์ในการเกษตรกรรมและวัสดุกลบทับรายวันในสถานที่กำจัดมูลฝอยโดยวิธีฝังกลบ เว้นแต่จะมีการวิเคราะห์ที่เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย 3.12 กำหนดแผนการบำรุงรักษาเตาเผามูลฝอยประจำปี 3.13 กรณีที่สถานที่กำจัดมูลฝอยโดยเตาเผาเข้าข่ายโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้มูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ให้พิจารณาให้เป็นไปตามเกณฑ์การปฏิบัติ และมาตรการอื่นๆตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด

สรุปสาระสำคัญ 4.กรณีที่มีการว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการบริหารจัดการสถานที่ ผู้ว่าจ้างต้องกำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเพื่อให้ผู้รับจ้างรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่าง และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามสัญญาจ้าง หรือกรณีมีเหตุรำคาญตามที่กฎหมายเกี่ยวข้อง

จบการนำเสนอ