ข้อมูลและสารสนเทศ.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
หน่วยที่ 2 การศึกษากับการรู้สารสนเทศ
Advertisements

เป็นการนำความรู้ด้าน Microsoft Excel ที่มีความพิเศษตรงที่สามารถ กำหนดสูตรการคำนวณในแต่ละเซลล์ ของ Sheet งานนั้นๆได้ โดยอาศัย ความแม่นยำในการคีย์ข้อมูลเข้าไป.
การจัดการองค์ความรู้ ( KM )
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
การใช้งานระบบ MIS ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 รหัสวิชา ง 31101
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา(Educational Media)
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่
LOGO แนวคิดเกี่ยวกับระบบ สารสนเทศ นางสาวกนกรัตน์ นพ โสภณ SMET
ความหมายของโครงการ โครงการ (PROJECT) โครงการ (PROJECT) กระบวนการ ทำงานที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการ ทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
กลุ่ม การจัดการความรู้ ช่างอากาศ (KM) หน่วยงาน ฝ่ายการช่าง ฝูงบิน 461 กองบิน 46 คำขวัญ “ มุ่งหน้าแก้ไขข้อขัดข้อง เพื่อตอบสนองภารกิจ ”
นาย สรวิศ เตธัญญวรากูล ปวช.3/2 นาย ศิวกร มาลี ปวช.3/2.
การจัดเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลธรรมดา นั้น อาจจำเป็นที่ใช้แต่ละคน จะต้องมีแฟ้มข้อมูลของตนไว้เป็นส่วนตัว จึง อาจเป็นเหตุให้มีการเก็บข้อมูล ชนิดเดียวกันไว้หลาย.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ซอร์ฟแวร์ ( Software ). Microsoft excel Microsoft excel Microsoft power point.. Link Link.
Project Management by Gantt Chart & PERT Diagram
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
นำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การจัดการข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
Chapter 3 Executive Information Systems : EIS
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
พื้นฐานการออกแบบ กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมาย ด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรง.
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
LS 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
Data storage II Introduction to Computer Science ( )
บทที่ 6 แนวคิดเทคโนโลยีเสมือนจริง
SMS News Distribute Service
ผลการเรียนรู้ 1. สามารถบอกความหมายของการสืบค้นข้อมูลได้ 2. สามารถบอกประเภทของการสืบค้นข้อมูลได้ 3. สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้
Data storage II Introduction to Computer Science ( )
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
กิจกรรมที่ 12 รวบรวมข้อมูลอย่างไรกันดี
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ หรือสิ่งที่เราสนใจ สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัส ข้อมูลมีทั้งดีและไม่ดี ตัวอย่างข้อมูล เช่น มะยมหนัก 50 กรัม 8.30 แทนเวลาเข้าเรียน สัญลักษณ์ แทนการเลี้ยวขวา

คุณสมบัติของข้อมูล 1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้าง ข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้        

คุณสมบัติของข้อมูล         2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้         3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม      

คุณสมบัติของข้อมูล         4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์        

คุณสมบัติของข้อมูล         5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

ลักษณะของข้อมูลที่ดี - ความถูกต้อง จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น - มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง - ตรงตามความต้องการ ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับความต้องการก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้ - ความสมบูรณ์  ข้อมูลที่ดีต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ - สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลที่ดีควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงได้

ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ ข้อมูล การประมวลผล สารสนเทศ รูปแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศ เพื่อการใช้งาน

1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย         1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน        1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน

2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้        2.1 การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่สินค้า และบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา        2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย

2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้        2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น        2.4 การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย       3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้       3.2 การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย       3.3 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย       3.4 การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมี บทบาทที่สำคัญยิ่งท่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา

ตัวอย่าง ข้อความบนระเบียนประวัตินักเรียนด้านบน ทำให้ทราบว่า เพชร แข็งขัน เป็นนักเรียนชาย เกิดวันที่ 12 ม.ค. 2525 ที่อยู่บนระเบียนประวัตินักเรียนจึงเป็นข้อมูลถ้ามีการนำข้อมูลเกี่ยวกับปีเกิด ของนักเรียนทั้งโรงเรียนจากระเบียนประวัติไปแจกแจงตามปีเกิดดังนี้

ตัวอย่าง จำนวนนักเรียนที่ได้จากการแจกแจงข้อมูลตามปีเกิดจะเป็นสารสนเทศที่เกิดจากการนำข้อมูลไปทำการประมวลผล

ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ       1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ           ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 137 , 8319 , -46           ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763       เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ           ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34           ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น                    123. x 104        หมายถึง 1230000.0                    13.76 x 10-3      หมายถึง 0.01376                    - 1764.0 x 102    หมายถึง -176400.0                    - 1764.10-2       หมายถึง -17.64    

ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ             2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101,&76

ชนิดและลักษณะของข้อมูล ถ้าจำแนกข้อมูลออกเป็นประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ      1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก      2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น

แบบฝึกหัด ข้อมูลคืออะไร ข้อมูลกับสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคืออะไร