บทที่ 2 การประมวลองค์ความรู้จากการศึกษาสังคมมนุษย์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

ทฤษฎีทางอาชีพ ผศ. นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
การเขียนโครงร่างวิจัย
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
องค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
การศึกษาและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ASEAN CURRICULUM SOURCEBOOK
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
ร่องรอยหลักฐานการกำหนดมาตรฐานและการจัดระบบบริหาร
๑ ทศวรรษของ สถาบัน. ๑ ) ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา บุคลากรด้านการพัฒนามนุษย์ ๒ ) ผลิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการ พัฒนามนุษย์ ๓ ) บริการสาธิตและวิจัยโดยศูนย์พัฒนา.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
16. การเขียนงานวิจัยแบบง่าย ๆ
โครงการ ( Project) หมายถึง โครงการ ( Project) หมายถึง.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์
Seminar 1-3.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
งาน Road Map ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2560
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
ผลงานทางวิชาการ ความหมาย ลักษณะ ประเภท
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
การขอโครงการวิจัย.
จัดทำโดย นาย วรปรัชญ์ ชาวเมือง เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.3
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
โครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ความสำคัญ ของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 การประมวลองค์ความรู้จากการศึกษาสังคมมนุษย์ กับการนำมาใช้ในวิชาท้องถิ่นศึกษา

ความหมายและความเข้าใจเบื้องต้นในสาระสำคัญ ของศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ความหมายของสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของวิชาสังคมศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับสังคม (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน 2542, หน้า 1159) พัทยา สายหู ได้ให้ความเห็นว่า สังคมศาสตร์เน้นการศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องประสบในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันผู้อื่นในสังคม (พัทยา สายหู, 2521, หน้า 21)

ความหมายของมนุษยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ซึ่งปรากฏในความหมายในสาระสำคัญของวิชา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยคุณค่าทางจิตใจและผลงานซึ่งถ่ายทอดจากสติปัญญาของคนประกอบด้วย ศิลป วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน, 2542, หน้า 833)

สรุปความหมาย “สังคมศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้อันเกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งสามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์มาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยนำเอาความรู้สึกในอุดมการณ์มากำหนดความเป็นเหตุและผล “มนุษยศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการสร้างสม สั่งสมผลงานอันเกิดจากความคิดเชิงสร้างสรรค์และคุณค่าทางจิตใจ การพิจารณาคุณค่าที่ปรากฏพิจารณาจากการประเมินและการตีความเพื่อสืบค้นในความจริงที่ปรากฏอยู่ในจินตนาการของมนุษย์

ทัศนะของนักสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กับการศึกษาสังคมมนุษย์

สรุปทัศนะของนักสังคมศาสตร์กับการเชื่อมโยงในการศึกษาสังคมมนุษย์ สาระสำคัญใน การศึกษาสังคมมนุษย์ การเชื่อมโยงองค์ความรู้ 1. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม 2. มนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมและสถาบันทางสังคม 3. การอยู่ร่วมกันมีความจำเป็นในการแบ่งช่วงชั้นในสังคมและการเลื่อนฐานะทางสังคม 1. มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและมีระเบียบแบบแผนเพื่อความสงบสุข 2. มนุษย์ใช้การสื่อสารในการอยู่ร่วมกันทั้งคนในกลุ่มและต่างกลุ่ม 1. มนุษย์กำหนดแบบแผน กฏระเบีบบ 2. การกำนดสถาบันทางสังคมเพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติตามระเบียบ 1. มนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ความสามารถ สถานภาพ ทั้งนี้เป็นไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแต่ละกลุ่มชน 2. การรักษาความสงบและความอยู่รอดของมนุษย์จึงได้แบ่งภาระหน้าที่และความรับผิดชอบตามเหตุผลในข้อ 1 1. การอบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ของคนในสังคม 2. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ของคนในสังคม 1. ระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ 2. การรวมกลุ่มและการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 1. การจัดระเบียบสังคม 2. การได้รับอิทธิผลทางด้านความคิดความเชื่อจากศาสนาและลัทธิที่เกี่ยวข้องรวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ 3. การเคารพในสิทธิและการรู้จักบทบาทและหน้าที่

สรุปทัศนะของนักสังคมศาสตร์กับการเชื่อมโยงใน การศึกษาสังคมมนุษย์ สรุปทัศนะของนักสังคมศาสตร์กับการเชื่อมโยงใน การศึกษาสังคมมนุษย์ ทัศนะของนักสังคมศาสตร์ สาระสำคัญใน การศึกษาสังคมมนุษย์ การเชื่อมโยงองค์ความรู้ 4. สังคมมนุษย์มีการ เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา 1. การดำรงอยู่ของสังคมศาสตร์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญทางปัญญาของกลุ่มคนและสภาพปัจจัยเอื้อ 2. มนุษย์ในแต่ละกลุ่มกำหนดจิตลักษณ์ของตนเอง 3. มนุษย์มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ 1. ความรู้ทางด้านประยุกตวิทยาและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สรุปทัศนะของนักมนุษยศาสตร์กับการเชื่อมโยงการศึกษาสังคมมนุษย์ ทัศนะของนักสังคมศาสตร์ สาระสำคัญใน การศึกษาสังคมมนุษย์ การเชื่อมโยงองค์ความรู้ 1. มนุษย์มีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์โดยมีต้นแบบมาจากอดีต 2. อดีตเป็นความพากเพียรที่มนุษย์รุ่นหนึ่งได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลัง 3. การมองโลกในแง่ดี 4. งานสร้างสรรค์ของมนุษย์เกิดจากการตีความและประเมินค่า ผลงานของมนุษย์เกิดจากการสั่งสมการเรียนรู้ การสืบทอดและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ร่วมกัน มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญาโดยมีการกระตุ้นจากคุณลักษณะการใฝ่รู้ของมนุษย์ ความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติต่างดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้แสวงหาความรู้จากมนุษย์และการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข วิวัฒนาการของมนุษยชาติมีพื้นฐานจากการศึกษาประวัติศาสตร์ซึ่งศึกษารอยต่อของอดีตมาสู่ปัจจุบัน ความสำคัญในคุณค่าของบุคคลที่ได้สร้างผลงานในประวัติศาสตร์ ความรู้ทางศาสนา ลัทธิ ความเชื่อและอุดมการณ์ในการปกครอง จริยศาสตร์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์

ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์กับการนำไปใช้ในการศึกษาสังคมมนุษย์

วิชาสังคมศาสตร์และวิชามนุษยศาสตร์ สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนี้ 1 การจัดตามกลุ่มสาขาวิชา องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดไว้ สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.1 กลุ่มวิชาหลักในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ -สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ 1.2 กลุ่มวิชาหลักในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ - วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา ศิลปะการดนตรีและศิลปะการละคร

วิชาสังคมศาสตร์และวิชามนุษยศาสตร์ สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนี้ 2 ความสัมพันธ์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปัจจุบันได้มีการรวมศาสตร์ทั้ง 3 สาขาวิชาไว้ในรายวิชาที่มิอาจแยกเป็นสาขาวิชาเอกเทศได้ ดังปรากฏในการศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ เป็นต้น 3 การนำวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาสังคมมนุษย์ การศึกษาจำแนกได้ 3 หมวดหลัก กล่าวคือ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

การนำไปใช้ในการศึกษาวิชาท้องถิ่นศึกษา สรุปสาระสำคัญของรายวิชาในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ กับการเชื่อมโยงเพื่อนำไปใช้ในวิชาท้องถิ่นศึกษา หมวดวิชาและสาขาวิชา สาระสำคัญในการศึกษา การนำไปใช้ในการศึกษาวิชาท้องถิ่นศึกษา ประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของท้องถิ่นและการสร้างสมและสืบทอดทางวัฒนธรรม ลำดับความเป็นมาของท้องถิ่น ปรัชญา แนวความคิดของคนในสังคมและวิธีการแสวงหาความรู้ โลกทัศน์และบุคลิกภาพของคนในสังคม ภาษาและวรรณกรรม พัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมทางภาษา อัตลักษณ์ทางภาษาของท้องถิ่น ศิลปะดนตรี ศิลปะการละคร สุนทรียศาสตร์ของคนในสังคม จิตลักษณ์ของคนในสังคม

การนำไปใช้ในการศึกษา สรุปสาระสำคัญของรายวิชาในสาขาวิชาสังคมศาสตร์กับ การเชื่อมโยงเพื่อการนำไปใช้ในวิชาท้องถิ่นศึกษา หมวดวิชาและ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาระสำคัญในการศึกษา การนำไปใช้ในการศึกษา วิชาท้องถิ่นศึกษา สังคมวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถาบันทางสังคมและพลังในการกำหนด พฤติกรรมของคนในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม มานุษยวิทยา ความเป็นมาของมนุษย์ทั้งทางด้านกายภาพและด้านสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในสังคม

การนำไปใช้ในการศึกษา สรุปสาระสำคัญของรายวิชาในสาขาวิชาสังคมศาสตร์กับ การเชื่อมโยงเพื่อการนำไปใช้ในวิชาท้องถิ่นศึกษา หมวดวิชาและ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาระสำคัญในการศึกษา การนำไปใช้ในการศึกษา วิชาท้องถิ่นศึกษา จิตวิทยา ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสาเหตุของการเกิดพฤติกรรม ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม รัฐศาสตร์ ปรากฎการณ์ทางสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง อุดมการณ์พฤติกรรมทางการเมืองและจิตสำนึกของคนที่มีต่อสังคม เศรษฐศาสตร์ การจัดการและการบริหารทรัพยากรและการใช้จ่ายของคนในสังคม ลักษณะนิสัยในการใช้จ่ายของคนในสังคม นิติศาสตร์ ระบบกฏหมายในการดูแลคนในสังคม การบริหารของรัฐกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

การศึกษาที่เกิดขึ้นได้รวมความเชื่อมโยงและจัดระบบภายในหมวดวิชาหลัก ประกอบด้วยหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มาทำการบูรณาการในรายวิชาย่อย และศึกษาในประเด็นหลักเฉพาะเรื่อง ผลจากการศึกษานำไปสู่การสรุปในทางลึกที่สามารถอธิบายความเป็นอัตลักษณ์ ภาพลักษณ์และรูปลักษณ์ระหว่างอดีต ปัจจุบัน ได้อย่างมี เหตุผล

การสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ เพื่อใช้ในการศึกษาสังคมมนุษย์

1. องค์ความรู้จากการศึกษาในทฤษฎีทางสังคมวิทยา 1. องค์ความรู้จากการศึกษาในทฤษฎีทางสังคมวิทยา มิติทั้ง 4 ข้อ กล่าวโดยสรุป คือ 1.1 มิติของแนวคิดทฤษฎี 1.2 มิติของกระบวนทัศน์ (Paradigm) 1.3 มิติของระดับการวิเคราะห์ 1.4 มิติของระดับความเป็นนามธรรม

1. องค์ความรู้จากการศึกษาในทฤษฎีทางสังคมวิทยา 1. องค์ความรู้จากการศึกษาในทฤษฎีทางสังคมวิทยา 1.1 มิติของแนวคิดทฤษฎี ในมิตินี้สามารถจำแนกออกเป็น 3 แนวคิดทฤษฎีซึ่งประกอบด้วย (สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, 2544, หน้า 3 – 5) 1.1.1 แนวคิดทฤษฎีโครงสร้าง (structural perspective) เน้นการศึกษาสังคมทั้งหมด การอยู่ร่วมกันในสังคม การจัดระเบียบสังคม สถาบันทางสังคม บทบาทและหน้าที่ของคนในสังคม 1.1.2 แนวคิดทฤษฎีการกระทำทางสังคมหรือแนวคิดทฤษฎีการแปลความหมาย (social action / interpretive perspectives) เน้นการกระทำของปัจเจกบุคคลและกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้หลักแนวคิดของแมกซ์ เวเบอร์ (Max Waber) เป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจปัญหาซึ่งเกิดจากการกระทำทางสังคม

1.1.3 แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมทางสังคม (social behavior perspective) เน้นการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ในการแลกเปลี่ยนพฤติกรรมระหว่างกัน เช่น ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน 1.2 มิติของกระบวนทัศน์ (Paradigm) หมายถึง ความรู้ที่ถูกสกัดออกมาซึ่งสะท้อนวิธีคิด ทัศนคติ การให้ความหมายและความเข้าใจในคุณค่าทั้งหมด ในการนี้จำแนกได้ 3 กระบวนทัศน์กล่าวคือ 1.2.1 กระบวนทัศน์ว่าด้วยข้อเท็จจริง (social fact paradigm) เน้น (1) ข้อเท็จจริงทางสังคมในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าข้อเท็จจริงทางสังคมเป็นรูปธรรม (2) วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เช่น การสำรวจใช้แบบสอบถาม (3) ทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่เน้นในกระบวนทัศน์นี้คือ ทฤษฏีโครงสร้างหน้าที่นิยมของเดอร์ไคม์ เป็นต้น

1.2.2 กระบวนทัศน์ว่าด้วยการนิยมสถานการณ์ทางสังคม (social definition paradigm) เน้น (1) การนิยามสถานการณ์ทางสังคมที่ถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรม (2) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ (3) ทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่เน้นกระบวนทัศน์ที่มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ (symbolic interactionism) 1.2.3 กระบวนทัศน์ว่าด้วยพฤติกรรมทางสังคม (Social behavior paradigm) เน้น (1) พฤติกรรมทางสังคมมนุษย์ในระดับจุลภาคหรือระดับปัจเจกบุคคล และกลุ่มย่อย (2) วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยทดลองและวิธีการวิจัยที่ใช้ประยุกต์มากกว่าวิธีการอื่น ๆ (3) ทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่สำคัญคือทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (exchange theory)

1.3 มิติของระดับการวิเคราะห์ สามารถแยกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1.3.1 ระดับการวิเคราะห์สังคมวิทยามหภาค (macro – sociology) เน้นการวิเคราะห์ลักษณะของโครงสร้างทางสังคมในระดับกว้าง เช่น ทฤษฎีการหน้าที่นิยม และทฤษฎีความขัดแย้ง 1.3.2 ระดับการวิเคราะห์สังคมวิทยาจุลภาค (micro – sociology) เน้นการวิเคราะห์การกระทำระหว่างสมาชิกบุคคลกับบุคคล และการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ และทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม

1.4 มิติของระดับความเป็นนามธรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1.4.1 ทฤษฎีระดับใหญ่ (grand theory) ทฤษฎีระบบสังคมของพาร์สันส์ (parsons) สามารถอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในระดับเล็กไปจนถึงใหญ่ได้ และมีลักษณะของความเป็นนามธรรมสูง จึงเป็นทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างกว้างขวาง 1.4.2 ทฤษฎีระดับกลาง (middle – range theory) เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยได้โดยมีความเป็นนามธรรมไม่มากนัก ถือว่าเป็นระดับกลาง เช่น ทฤษฎีการเบี่ยงเบนของเมอร์ตัน (Merton) เป็นต้น

2. องค์ความรู้จากการศึกษาทฤษฎีทางมานุษยวิทยา

2. องค์ความรู้จากการศึกษาทฤษฎีทางมานุษยวิทยา สรุปสาระสำคัญเฉพาะทฤษฎีหลักทางมานุษยวิทยา ดังนี้ 2.1 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (evolutionism) เป็นทฤษฎีวิวัฒนาการของวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของมนุษย์ 2.2 ทฤษฎีประวัติศาสตร์ (historicalism) นักมานุษยวิทยาได้ให้หลักแนวคิดว่ามนุษย์ไม่สามารถสร้างทฤษฎีวัฒนธรรมได้ 2.3 ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (diffusionism) กล่าวถึงวัฒนธรรมคือความคิดและพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งแพร่กระจายตามสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและการคมนาคม 2.4 ทฤษฎีหน้าที่นิยม (functionalism) กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ในสังคมเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน

2. องค์ความรู้จากการศึกษาทฤษฎีทางมานุษยวิทยา 2.5 ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ (structural – functionalism) เป็นแนวคิดของ เอ. อาร์. เรดซิฟฟ์ บราวน์ (A. R. Radciffe - Brown) นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ 2.6 ทฤษฎีโครงสร้างทางวัฒนธรรม (structuralism) ทฤษฎีนี้เป็นแนวคิดของ คลอด์ เลอวี สเทร้าส์ (Claude Levi Strauss) ชาวฝรั่งเศสในกลุ่มนักมานุษยวิทยาทางสัญลักษณ์นิยม 2.7 ทฤษฎีรูปแบบทางวัฒนธรรม (configerration) จัดเป็นทฤษฎีซึ่งเน้นการมองบุคลิกภาพและค่านิยมของคนในสังคม

2. องค์ความรู้จากการศึกษาทฤษฎีทางมานุษยวิทยา 2.8 ทฤษฎีวัฒนธรรมและบุคลิกภาพ (culture and personality) วัฒนธรรมกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล ในขณะเดียวกันบุคลิกภาพของบุคคลได้สร้างวัฒนธรรม 2.9 ทฤษฎีนิเวศน์วิทยาทางวัฒนธรรม (cultural ecology) จูเลียน สติวเวิด (Julian Steward) และคนอื่น ๆ วัฒนธรรมกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล ในขณะเดียวกันบุคลิกภาพของบุคคลได้สร้างวัฒนธรรม 2.10 ทฤษฎีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (economic development) ผู้เสนอทฤษฎีนี้คือ เลสลี่ ไวท์ (Leslie White) โดยมองว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับสภาพทางสังคมและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางสังคมวิทยากับมานุษยวิทยา ในการศึกษาท้องถิ่นศึกษา

3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางสังคมวิทยากับมานุษยวิทยา ในการศึกษาท้องถิ่นศึกษา การศึกษาวิชาท้องถิ่นศึกษา โดยสรุปมีดังนี้ 1. การใช้ประโยชน์จากทฤษฎีสังคมวิทยา - สาระสำคัญในทฤษฎีสังคมวิทยาได้ให้การอธิบายการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม 2. การใช้ประโยชน์จากทฤษฎีมานุษยวิทยา - การศึกษาในทฤษฎีต่าง ๆ ทางมานุษยวิทยาจะส่งผลในด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมตั้งแต่สังคมระดับครอบครัวไปจนถึงระดับชาติ

ความสัมพันธ์ในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยากับการศึกษาวิชาท้องถิ่นศึกษา ทฤษฎีสังคมวิทยา ทฤษฎีทางมานุษยวิทยา วิชาท้องถิ่นศึกษา การอยู่ร่วมกัน ความเข้าใจกัน การลดความขัดแย้ง รากฐานทางวัฒนธรรม คุณค่าของศีลธรรม การปฏิบัติตาม ขนบธรรมเนียม ภาษา/ศาสนา โครงสร้างทางสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคม พฤติกรรมของคน ความเปลี่ยนแปลง ปัญหาสังคม ปรากฏการณ์ทางสังคม การจัดระเบียบสังคม ฯลฯ ทัศนวิจารณ์ ในการมองสังคม โดยใช้พื้นฐาน ทางวัฒนธรรม ความซาบซึ้ง ในวัฒนธรรม ทางภาษา และวัฒนธรรม ทางศิลปะ ความเข้าใจ ในโลกทัศน์ ของคน ในท้องถิ่น การอยู่ร่วมกัน ด้วย ความเข้าใจ

การนำวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มาใช้ในการศึกษาวิชาท้องถิ่นศึกษา

1. สาระสำคัญของแนวทางในการศึกษาวิจัย ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 1.1 แนวทางในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ กรอบการศึกษาให้ความสำคัญในการเกิดความเข้าใจปรากฎการณ์ทางสังคมในด้านต่าง ๆ สาเหตุที่เกิดปัญหาในสังคม พฤติกรรมที่ปรากฎต่อสังคม สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การศึกษาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอนต่าง ๆ การกำหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผล ในการวิจัยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพและวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ

1. สาระสำคัญของแนวทางในการศึกษาวิจัย ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 1.2 แนวทางในการศึกษาวิจัยทางมานุษยศาสตร์ การศึกษาทางมนุษยศาสตร์ได้ให้ความสำคัญคุณค่าทางจิตใจและผลงานจากการจินตนาการเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยการถ่ายทอดความดี ความงาม การประเมิณคุณค่า วิธีการศึกษาของมนุษยศาสตร์ในแต่ละศาสตร์ซึ่งอยู่ในสาขาวิชาต่างมีลักษณะเฉพาะ ในกลุ่มการค้นหาเหตุผลเชิงตรรกะให้ความสำคัญการสืบค้นข้อเท็จจริงและความจริงที่ปรากฏอยู่ในข้อเท็จจริง

2. จุดเน้นในการศึกษาและการนำไปใช้ในวิชาท้องถิ่นศึกษา 2. จุดเน้นในการศึกษาและการนำไปใช้ในวิชาท้องถิ่นศึกษา 2.1 การศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ เน้นความเป็นจริงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการสืบจากสาเหตุและการเจาะประเด็นในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลในการกำหนดพฤติกรรม 2.2 การศึกษาทางมนุษยศาสตร์ จุดเน้นของทฤษฎีให้ความสำคัญในการแสวงหาความจริง ด้วยเหตุนี้คุณค่าที่ปรากฎจึงมีความคงที่และมีลักษณะเฉพาะ

3. รูปแบบและวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมานุษยศาสตร์กับการศึกษาวิชาท้องถิ่นศึกษา การค้นหาข้อเท็จจริงที่มีคุณค่า ซึ่งวิธีวิจัยทั้ง 2 สาขาวิชา มีดังนี้ 3.1 การวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยทางสังคมศาสตร์จัดเป็นศาสตร์ที่นำเอาวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานที่และกาลเวลา เพื่อให้รู้ข้อเท็จจริงพร้อมการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ การค้นหาสาเหตุซึ่งมีคำตอบในเชิงเหตุผล

สรุปขั้นตอนของการวิจัย 5 ขั้นตอน สรุปขั้นตอนของการวิจัย 5 ขั้นตอน (ศิรินา จิตต์จรัส, 2546, หน้า 44 – 45) ขั้นตอนที่ 1 ปัญหาและแนวทางการวิจัย 1. การกำหนดปัญหา 6. ขอบเขตของวิจัย 2.ชื่อเรื่อง 7. ข้อตกลงเบื้องต้น 3.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 8. ข้อจำกัดการวิจัย 4. วัตถุประสงค์ 9. นิยามศัพท์ 5. สมมุติด้านการวิจัย 10. ประโยชน์ของการวิจัย

ขั้นตอนที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนนี้ เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่จะนำมาใช้ในการศึกษาทั้งหมด นำไปสู่ความชัดเจนในการศึกษาพร้อมการกำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาทั้งหมด ขั้นตอนที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนนี้เป็นการระบุประเภทของการวิจัยกลุ่มประชากรในการศึกษา ตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการแปลความของข้อมูลซึ่งเป็นวิเคราะห์โดยอ้างอิงสถิติที่ใช้ ซึ่งการดำเนินการล้วนมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ การสรุปเป็นการสรุปผลจากการศึกษา ซึ่งมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พร้อมการนำแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยสายสนับสนุน เมื่ออภิปรายผลได้เรียบร้อยแล้วนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในครั้งนี้และการศึกษาในอนาคต

วิธีการวิจัยทางมนุษยศาสตร์ การศึกษาในปัจจุบันได้ 5 วิธีการ กล่าวคือ 1. วิธีการของเหตุผล วิธีการมองความเป็นจริงทั้งวิธีการอุปมาน (deductive) ควบคู่กันไปตามเหตุผลของความจำเป็นในการศึกษา 2. วิธีการเชิงปริมาณ วิธีการทางคณิตศาสตร์ในการนับจำนวน การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ฯลฯ วิธีการเชิงปริมาณมาใช้ประกอบการศึกษาข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมได้ ความนิยมในผลงานการรู้จักบุคคล เอกสาร หนังสือ ผลงาน ฯลฯ

3. วิธีการควบคุมและการทดลอง วิธีการตรงของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การนำการควบคุมและการทดลองสามารถนำมาใช้ได้เฉพาะในบางสาขาวิชาเท่านั้น 4. วิธีการวิจัยแบบสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลงานซึ่งเป็นรูปธรรมทางด้านศิลปะ และความไพเราะอันเกิดจากการแสดงดนตรี ที่สามารถบรรยายการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดแบบแผนให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 5. วิธีการวิจัยแบบสหวิทยาการ เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมในการศึกษาปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะผลจากการศึกษาได้รับความเป็นองค์รวม (holism)

การศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ (เจตนา นาควัชร, 2547, หน้า 72 – 92) การศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ (เจตนา นาควัชร, 2547, หน้า 72 – 92) ขั้นตอนที่ 1 การเลือกปัญหา การวางแผนเป็นการล่วงหน้าอย่างรอบคอบในการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องระบุไว้อย่างชัดเจนในขอบเขตของวงการศึกษาพร้อมกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ตั้งสมมติฐานในการวิจัยก่อนทำการศึกษา ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเป็นอคติในการศึกษา ซึ่งผู้ศึกษาอาจหาเหตุผลสนับสนุนตามสมมติฐาน

ขั้นตอนที่ 3 ข้อมูลหรือการรวบรวมข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ (primary sources) ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิ (secondary sources) ข้อมูลจากการบอกเล่าของบุคคล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากการสังเกต เมื่อได้ข้อมูลแล้ว การจัดระบบข้อมูลเพื่อการศึกษาวิเคราะห์และเขียนรายงาน ควรมีเอกสารหลักและเอกสารประกอบ เพื่อความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินค่าและการตีความ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินค่าและการตีความ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่ทำการศึกษาเท่านั้น การวิเคราะห์ วิพากย์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ขั้นตอนที่ 5 การรายงานผลและนำเสนอผลการศึกษา สามารถนำเสนอได้ทั้งในรูปของเอกสารและการถ่ายทอดความเป็นรูปธรรม และการนำเสนอในรูปของลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตามการถ่ายทอดทางภาษา

สรุป การศึกษาสังคมมนุษย์จากรากฐานของศาสตร์สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในเชิงกว้างสามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิชาท้องถิ่น เป็นการวางรากฐานการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตจะเป็นที่มหาของการสืบค้นข้อมูล การจัดระบบข้อมูลเพื่อศึกษาความเป็นท้องถิ่นในระดับภูมิภาค ระดับชุมชนได้ตามหลักวิชาการที่ใช้ในการศึกษา ภูมิปัญญาอันเกิดจากมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ในแต่ละท้องถิ่น เมื่อประมวลเป็นองค์ความรู้ระหว่างภาคอดีตกับการถ่ายทอดมาสู่ความเป็นปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ล้วนมีเหตุผลและจะเป็นประโยชน์ในมองเห็นอัตลักษณ์ รูปลักษณ์และภาพลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน