เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
วิธีการแสวงหาความรู้
Advertisements

โดย อาจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ
มโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
บทที่ 2 การวิจัยผู้บริโภค
ประเภทของการวิจัย. แบ่งตามวัตถุประสงค์ ของการศึกษา การวิจัยเพื่อสำรวจ (Exploratory Research) การวิจัยเพื่อพรรณนา (Descriptive Research) การวิจัยเพื่ออธิบาย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อการทำวิจัยอย่างง่าย
การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research
การออกแบบปัญหาการวิจัย
บทที่ 9 การกำหนดขนาดของตัวอย่าง
สถิติในชีวิตประจำวัน : Statistics in Everyday life
การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
แปลว่าความรู้(Knowledge)
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
GS 3305 Research in Educational Administration
แนวคิดการวิจัย เชิงคุณภาพ รศ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง.
การทำงานเชิงวิเคราะห์
ประเภทของการวิจัย อาจารย์พุทธิวัฒน์ ไวยวุฒิธนาภูมิ
เรวัต แสงสุริยงค์ ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการบริการสังคม (Research Method of Social Service) กระบวนการวิจัย เรวัต แสงสุริยงค์
หน่วยการเรียนที่ 2 ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ขั้นตอนการทำโครงงานวิจัย
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ
วิจัยทางการพยาบาล ดร.อัญชลี จันทาโภ.
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว นิลุบล สุวลักษณ์ รหัสนักศึกษา
ผลงานวิชาการรับใช้สังคม และการขอตำแหน่งทางวิชาการ
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
การวิจัยพัฒนา การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงผสานวิธี
รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ
อาจารย์ ศิริรัตน์ หวังดี
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
การวิจัยทางธุรกิจ Business Research
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
การวิจัย “อนาคตเด็กไทยที่พึงประสงค์”
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
เทคนิคการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research Technique)
Introduction to Public Administration Research Method
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
บทที่ 8. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
Introduction to Public Administration Research Method
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น อ.กฤติเดช จินดาภัทร์

ความหมายของการวิจัย "การหาแล้วหาอีก" หรือหมายถึง การสอบสวน หรือตรวจตราความรู้ในแขนงใดแขนงหนึ่ง อย่างขยันขันแข็ง หรือหมายถึง การค้นหาความจริงอย่างต่อเนื่องและมีอุตสาหะ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2493 หมายถึง การสะสม การรวบรวม การค้น การตรวจตรา การสอบสวน พจน์ สะเพียรชัย กล่าวว่า "การวิจัย" คือ วิธีแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผนเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้ อนันต์ ศรีโสภา กล่าวว่า "การวิจัย"  เป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้นๆ เพื่อนำไปพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง เพื่อควบคุมสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้คงที่ เบสท์ (Best) ให้ความหมายไว้ว่า "การวิจัย"  เป็นแบบแผนหรือกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นปรนัย มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีการจดบันทึกรายงาน และสรุปผลเป็นเกณฑ์หรือทฤษฎีขึ้น เพื่อนำไปอธิบาย ทำนาย หรือควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger) ให้ความหมายว่า "การวิจัย"  เป็นการใช้ข้อมูลในการตรวจสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยมีการควบคุมอย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ

ความหมายของการวิจัย การวิจัย หมายถึงกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ความจริงจนได้องค์ความรู้ใหม่โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบเชื่อถือได้ เพื่อที่จะได้นำองค์ความรู้นั้นๆ ไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาข้อสงสัย หรือเพื่อก่อให้เกิดความรู้หรือทฤษฎีใหม่

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการคิดในปัจจุบันเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ก. ขั้นปัญหา (problem) ข. ขั้นกำหนดกรอบความคิด (frame work) ค. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (gathering data) ง. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (analysis) จ. ขั้นลงสรุป (conclusion)

กระบวนการวิจัย แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน 1. ขั้นกำหนดปัญหา (formulating the research problems) 2. ขั้นกำหนดกรอบความคิด (frame work) 3. ขั้นดำเนินการวิจัย (research method) 4. ขั้นวิเคราะห์ และเสนอผลการวิเคราะห์ (analysis and interpretation) 5. ขั้นสรุป (conclusion)

ความหมายของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ หรือกระบวนการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่มีคุณ ค่าโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สังเกต เห็นปัญหา นิยามปัญหา กำหนดสมมุติฐาน ตรวจสอบสมมุติฐาน (เก็บข้อมูล) วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล

ลักษณะที่สำคัญของการวิจัย มุ่งที่จะหาคำตอบต่างๆ เพื่อจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่ เน้นถึงการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีต่างๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการทำนายเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาศัยข้อมูล หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถสังเกต รวบรวมได้ อาศัยเครื่องมือและการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ เที่ยงตรง เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลใหม่ๆ จากแหล่งปฐมภูมิหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมเพื่อหาคำตอบของวัตถุประสงค์ใหม่ กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างมีระบบแบบแผน ต้องการผู้รู้จริงในเนื้อหาที่จะทำการวิจัย เป็นกระบวนการที่มีเหตุผล และมีความเป็นปรนัย สามารถที่จะทำการตรวจสอบความตรงของวิธีการที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา และข้อสรุปที่ได้ สามารถที่จะทำซ้ำได้โดยใช้วิธีเดียวกัน หรือวิธีการที่คล้ายคลึงกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากร สถานการณ์หรือ ระยะเวลา การทำวิจัยต้องมีความอดทน นักวิจัยควรจะเตรียมใจไว้ด้วยว่า อาจจะต้องมีความลำบากในบางเรื่อง การเขียนรายงานการวิจัยควรทำอย่างละเอียดรอบคอบ ศัพท์เทคนิคที่ใช้ควรบัญญัติความหมายไว้ อธิบายวิธีการวิจัยอย่างละเอียด การวิจัยต้องการความซื่อสัตย์และกล้าหาญในการรายงานผลการวิจัย แม้ว่าจะขัดกับความรู้สึกหรือผลการวิจัย

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Science Research) การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) การวิจัยด้านสื่อสารมวลชน (Masscommunication Research)  

วิธีการแสวงหาความรู้ วิธีโบราณ (Older methods) การสอบถามผู้รู้หรือผู้มีอำนาจ (Authority) ความบังเอิญ (Chance) ขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ประสบการณ์ส่วนตัว (Personal experience) การลองผิดลองถูก (Trial and error)

วิธีการแสวงหาความรู้ วิธีอนุมาน (Deductive methods) คิดโดยอริสโตเติล เป็นวิธีการคิดเชิงเหตุผล ซึ่งเป็นกระบวนการคิดค้นจากเรื่องทั่วๆ ไป สู่เรื่องเฉพาะเจาะจง หรือคิดจากส่วนใหญ่ไปส่วนย่อย จากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อเท็จจริงใหญ่  เป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่ในตัวมันเอง หรือเป็นข้อตกลงที่กำหนดเป็นเกณฑ์ ข้อเท็จจริงย่อย  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงใหญ่ หรือเป็นเหตุผลเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง ผลสรุป  เป็นข้อสรุปที่ได้จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่และเหตุย่อย

วิธีการแสวงหาความรู้ วิธีการอุปมาน (Inductive methods) เกิดขึ้นโดยฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เนื่องจากข้อจำกัดของวิธีการอุปมานในแง่ที่ว่า ข้อสรุปนั้นจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ ข้อเท็จจริงจะต้องถูกเสียก่อน จึงได้เสนอแนะวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆ เสียก่อน แล้วจึงสรุปรวมไปหาส่วนใหญ่

วิธีการแสวงหาความรู้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific methods) เป็นการเสาะแสวงหาความรู้โดยใช้หลักการของ วิธีการอนุมาน และวิธีการอุปมาน มาผสมผสานกัน Charles Darwin เป็นผู้ริเริ่มนำวิธีการนี้มาใช้ ซึ่งเมื่อต้องการค้นหาความรู้ หรือแก้ปัญหาในเรื่องใด ก็ต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเสียก่อน แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการสร้างสมมติฐาน ซึ่งเป็นการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้า ต่อจากนั้นเป็นการตรวจสอบปรับปรุงสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล และการทดสอบสมมติฐาน และJohn Dewey ปรับปรุงให้ดีขึ้น แล้วให้ชื่อวิธีนี้ว่า "การคิดแบบใคร่ครวญรอบคอบ" (Reflective thinking) ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "วิธีการทางวิทยาศาสตร์" 

ประเภทของการวิจัย แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic of pure research) เป็นการวิจัยเพื่อตอบสนองความอยากรู้ของมนุษย์หรือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของมนุษย์ เช่น การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีพื้นฐานในวิชาฟิสิกส์ เคมี หรือชีววิทยา การวิจัยประยุกต์ (Applied research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลจากการวิจัยหรือข้อค้นพบจากการวิจัยพื้นฐานไปทดลองใช้แก้ปัญหาต่างๆ การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research or Operational research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้แก้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าในขอบเขตของปัญหานั้นๆ เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้

ประเภทของการวิจัย แบ่งตามลักษณะของข้อมูล แบ่งตามลักษณะของข้อมูล  การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่ต้องการค้นคว้าหาความรู้จากเหตุการณ์ในสังคมและสภาพแวดล้อมทุกแง่ทุกมุมตามความเป็นจริง การวิจัยแบบนี้มักใช้วิธีการศึกษาระยะยาว และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงนามธรรมเกี่ยวกับมนุษย์ เช่น ความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ไม่มุ่งเน้นการเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยทางมานุษยวิทยา หรือการวิจัยประเภทเจาะลึก เช่น การศึกษาบทบาทของสตรีในชนบท การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข ให้ความสำคัญในการจัดกระทำข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวเลขทางสถิติ และยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบหรือสรุปต่างๆ ของการศึกษา เช่น จำนวนหนังสือที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดยืมและคืนในแต่ละวัน การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยของนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ประเภทของการวิจัย แบ่งตามขอบเขตของศาสตร์ต่างๆ แบ่งได้ 2 ศาสตร์ คือ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม และครอบคลุมเนื้อหาวิชาหลายประเภท เช่น ปรัชญา ศาสนา การศึกษา ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ จิตวิทยา ภาษา วรรณกรรม นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สังคมสงเคราะห์ ประชากรศาสตร์ เป็นต้น มุ่งเน้นที่จะอธิบายปรากฏการณ์ในทางพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต อารมณ์ ทัศนคติ ความรู้สึก สภาพแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ครอบคลุมเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์กายภาพ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เป็นต้น การวิจัยจะเน้นการสำรวจ วิเคราะห์และทดลองอย่างมีระบบ ซึ่งสามารถวัด สังเกต และควบคุมได้ การวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์จึงเน้นลักษณะเชิงปริมาณ มีกฎแน่นอนตายตัว คงที่

ประเภทของการวิจัย แบ่งตามเวลาที่ใช้ในการวิจัย แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ การวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-sectional research) หมายถึง การวิจัยที่ผู้วิจัยใช้เวลาสั้นๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้ง แต่ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลไม่ห่างกันมากนัก ข้อมูลที่รวบรวมได้จะแสดงลักษณะหรือสภาพของสิ่งที่วิจัย ณ เวลาที่รวบรวมข้อมูลเท่านั้น การวิจัยระยะยาว (Longitudinal research) หมายถึง งานวิจัยที่ผู้วิจัยติดตามศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นระยะเวลายาวนานหลายๆ ปี จนกระทั่งได้ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่รวบรวมได้จะแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ได้ข้อเปรียบเทียบในแนวลึก

ประเภทของการวิจัย แบ่งตามวิธีดำเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) หมายถึง การวิจัยที่ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์หลักฐานที่รวบรวมได้เพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหาวิจัย ได้แก่ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงปรัชญา การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) หมายถึง การวิจัยที่ผู้วิจัยมุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยสภาพดังกล่าวต้องเป็นสภาพที่เป็นอยู่ตรมธรรมชาติ ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ลักษณะสำคัญที่ทำให้การวิจัยเชิงทดลองแตกต่างจากการวิจัยเชิงพรรณนาก็คือ การวิจัยเชิงพรรณนาเป็นการศึกษาปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ แต่การวิจัยเชิงทดลองมีการจัดกระทำให้แตกต่างไปจากสภาพธรรมชาติ ได้แก่ การวิจัยกึ่งการทดลอง และการวิจัยเชิงทดลอง

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการคิดในปัจจุบันเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ก. ขั้นปัญหา (problem) ข. ขั้นกำหนดกรอบความคิด (frame work) ค. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (gathering data) ง. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (analysis) จ. ขั้นลงสรุป (conclusion)

กระบวนการวิจัย แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน 1. ขั้นกำหนดปัญหา (formulating the research problems) 2. ขั้นกำหนดกรอบความคิด (frame work) 3. ขั้นดำเนินการวิจัย (research method) 4. ขั้นวิเคราะห์ และเสนอผลการวิเคราะห์ (analysis and interpretation) 5. ขั้นสรุป (conclusion)

เกียรติภูมิของนักวิจัย มี 9 ประการ 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย

เกียรติภูมิของนักวิจัย 5.นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย 6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

จรรยาบรรณานักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1. คุณลักษณะนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1.1 มีความชื่นชมในวิทยาศาสตร์ 1.2 มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างแรงกล้า 1.3 มีความฉลาด 1.4 มีพลังขับภายในสูง

จรรยาบรรณานักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1.5 มีความตั้งใจในการทำงานหนัก 1.6 มีความมั่นคงในจุดหมาย 1.7 มีการวินิจฉัยผลการวิจัยตามสภาพวิสัย 1.8 ยอมรับฟังข้อวิจารณ์ของผู้อื่น

A&Q Thank You ! www.charprom.com