รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา ง30103 ครูณชมน น้อยจันทร์
ข้อตกลงการเรียนการสอน 1. เวลาเรียนในรายวิชานี้ จำนวน 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน 2. นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงจะมีสิทธิ์สอบปลายภาค รายวิชานี้ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 32 ชั่วโมง ขาดเรียนได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง 3. การวัดและประเมินผล สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน = 60 : 40
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น คะแนนเก็บ 60 คะแนน - การปฏิบัติงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ - สมุด , ใบงาน คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน คะแนนสอบปลายภาค 20 คะแนน
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. อธิบายองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 4. อธิบายประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5. อธิบายแนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6. ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
บทเรียน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเป็นเนื้อหาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล การรับและการส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนำข้อมูลกลับไปใช้งานใหม่
เนื้อหาบทเรียน ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ประโยชน์และตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แบบทดสอบก่อนเรียน เทคโนโลยี หมายถึง สารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยี หมายถึง สารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ หมายถึง จงยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ในงานด้านธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
แบบทดสอบก่อนเรียน ให้นักเรียนเข้าไปทำแบบทดสอบ ตามเว็บไซต์ข้างล่างนี้ https://krunutchamon.wordpress.com
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล บทที่ 4 ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต บทที่ 6 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ บทที่ 7 การพัฒนาโปรแกรม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน การใช้อินเตอร์เน็ต
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ถูกเลือกสรรและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสารสนเทศอย่างเป็นระบบโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ มี 5 องค์ประกอบ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 1. ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สนับสนุนการทำงาน อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องสแกนรายนิ้วมือ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 2. ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux ระบบปฏิบัติการ ( Operating System: OS ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์( Windowns ) ลินุกซ์ ( Linux ) และ แมคโอเอส ( Mac OS )
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utilities program ) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยเสริมการทำงานอื่นๆให้มีความสามารถใช่วานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 3. ข้อมูล ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศที่ดี ต้องมีการจัดระบบของข้อมูลให้เป็นระเบียบ ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทั้งนี้เพื่อให้สารสนเทศที่ได้มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ดังนั้นข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบ สิ่งที่ระบบสารสนเทศต้องมีในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล คือ ต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 4. บุคลากร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศจะประกอบไปด้วย ผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม บุคลากรเหล่านี้ต้องมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับดี เพื่อให้ระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการรวมทั้งบุคลากรต้องพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานอยู่อย่างสม่ำเสมอ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่ายและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมความสะดวกสบาย ช่วยทำให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานทำให้ประหยัดเวลาในการการทำงานมากยิ่งขึ้น 3. มีเครื่องมือสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทันสมัยใหม่ ให้ติดต่อกันได้สะดวกรวดเร็ว และยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอีกหลายๆ 4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการ ทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ด้านการเงินการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา
ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวเทียมและการคำนวณวิถีโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบจัดทำทะเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ
ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรหรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร
แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกข้อมูงสั้นๆ บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus)
ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงโดยจุดเดียว (stand alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือที่เรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ (client-server system) โดยมีเครื่องให้บริการ (server) และเครื่องรับบริการ (client) การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บเซอร์เวอร์ (web server) เป็นเครื่องให้บริการ
ด้านเทคโนโลยี ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนวนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่ออย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน การกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม การสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน การติดต่อสื่อสาร
แบบฝึกหัดบทที่ 1 ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3