งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test
บทนำ: ASSIST Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test บทนำ สำหรับการทำความรู้จัก และเข้าใจเกี่ยวกับ ASSIST Thailand ASSIST-SBI Implementation Project

2 วัตถุประสงค์ของบทเรียน
เมื่อจบบทเรียน ผู้เรียนจะสามารถ อธิบายได้ว่า ASSIST คืออะไร อธิบายบทบาทของ ASSIST ในงานเวชปฏิบัติปฐมภูมิ สามารถใช้เครื่องมือและเอกสารประกอบต่างๆ ได้ ในบทแรกนี้มีความจำเป็นที่จะต้องให้ทุกท่านได้รู้จักว่า ASSIST คืออะไร ASSIST มีบทบาท และสามารถนำมาใช้ในงานเวชปฏิบัติปฐมภูมิได้อย่างไรบ้าง นั่นคือ ไม่ว่าเราจะปฏิบัติอยู่ในระดับของ สอ./รพ.สต. PCU หรืองานเวชปฏิบัติ ใน รพช. หรืองานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ที่อยู่ในหน่วยบริการปฐมภูมิเหล่านี้ จะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน หรือผู้รับบริการมากที่สุด สามารถนำ ASSIST ไปปฏิบัติได้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของเราในหน่วยงาน ซึ่งความสำคัญหรือน้ำหนักการใช้ ASSIST จะเป็นการคัดกรอง ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้สารที่รุนแรง และนำไปสู่การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ และสุดท้าย คือ ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถใช้เครื่องมือและเอกสารประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ASSIST ได้

3 บทนำสู่ เครื่องมือ ASSIST
เอกสารประกอบต่างๆ ดังนั้น ในปฐมบทหรือการเริ่มต้นปูพื้นฐานเกี่ยวกับASSISTนี้จะพูดถึงประเด็นต่อไปนี้ ASSIST คืออะไร ASSIST ใช้ทำอะไร ทำไมเราต้องทำ ASSIST การนำ ASSIST ไปใช้ในการปฏิบัติจริงจะใช้ได้ที่ไหนบ้าง บุคลากร กลุ่มใคร บ้างที่สามารถทำ ASSIST ได้ เอกสารประกอบต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการทำ ASSIST มีอะไรบ้าง

4 ASSIST คืออะไร Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test
เป็นแบบสอบถามมี 8 ข้อคำถาม ใช้ถามโดยบุคลากรทางคลินิก ใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ 10 นาที ถูกพัฒนามาเพื่อใช้โดยผู้ทำงานด้านสุขภาพในสถานบริการระดับปฐมภูมิ และหน่วยงานด้านสวัสดิการสังคม มีโอกาสพัฒนาสำหรับใช้ในสถานบริการแบบอื่นๆ ไม่ขึ้นกับวัฒนธรรม เราจะมาทำความรู้จักกับ ASSIST ASSISTเป็นคำย่อของ Alcohol,Smoking,Substance Involvement Screening Test เป็นการเอาอักษรตัวแรกของแต่ละคำมารวมกัน ซึ่งหมายถึง การคัดกรอง การใช้แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการใช้สารอื่นๆอีกหลายชนิด ซึ่งหากเราแปลตามคำศัพท์ของ ASSIST ก็จะแปลว่า ช่วยเหลือ ดังนั้น ASSIST จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อคัดกรองการใช้สารที่มีโอกาสทำให้เกิดการเสพติดหรือเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของการใช้สารนั้นๆ และนำผลจากการคัดกรองและประเมินที่ได้ ไปสู่การให้การช่วยเหลือผู้รับบริการต่อไป โครงสร้างของแบบสอบถาม ใน ASSIST ประกอบด้วย 8 ข้อคำถามใช้เวลาในการถาม/สัมภาษณ์ ประมาณ 10 นาที แบบคัดกรอง ASSIST ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ โดยผู้ทำงานด้านสุขภาพในสถานบริการระดับปฐมภูมิ และหน่วยงานด้านสวัสดิการสังคม เช่น หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานด้านสวัสดิการแรงงาน หรือหน่วยงานดูแลผู้พิการต่างๆ และมีโอกาสในการพัฒนาและนำไปใช้ในสถานบริการแบบอื่นๆ ได้ เช่น สถานพินิจคุ้มครองเด็ก เรือนจำ โรงงาน สถานประกอบการ ที่ทำงาน ฯลฯ การนำ ASSIST มาใช้ ไม่มีปัญหาเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากการทดสอบการใช้ ASSIST ในช่วงระยะการพัฒนาและทดลองใช้ มีการนำไปทดสอบกับประเทศที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมทั่วโลก

5 ASSIST ใช้ทำอะไร ใช้คัดกรองการใช้สารเสพติดแบบเสี่ยงอันตราย
ยาสูบ สุรา กัญชา โคเคน ยาบ้า ยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ ยาหลอน ประสาท สารระเหย สารกลุ่มฝิ่น และสารอื่นๆ บอกคะแนนความเสี่ยงจากการใช้สารแต่ละชนิด เสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง เพิ่มโอกาสที่จะเริ่มการพูดคุยหรือให้การบำบัดแบบย่อเกี่ยวกับปัญหาการใช้ สารเสพติดกับผู้ป่วย วัตถุประสงค์ของ ASSIST ASSIST ใช้สำหรับคัดกรองการใช้สารเสพติดแบบเสี่ยงอันตราย ได้แก่ ยาสูบ แอลกอฮอล์ กัญชา โคเคน ยาบ้า ยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ ยาหลอนประสาท สารระเหย สารกลุ่มฝิ่น (มอร์ฟีน เพทธีดิน ฯลฯ) และสารอื่นๆ หลังจากใช้ ASSIST คัดกรองการใช้สารเสพติดแล้ว ผลลัพธ์จะออกมาเป็นคะแนน เหมือนเราใช้แบบทดสอบ ซึ่งคะแนนที่ได้จากการคัดกรองด้วย ASSIST นี้จะมีเกณฑ์การแปลผลออกเป็น 3 ระดับด้วยกันคือ ความเสี่ยงในระดับต่ำ ปานกลาง และสูง นอกจากนี้ ผลจากการใช้ ASSIST จะทำให้เป็นการเปิดประตูไปสู่สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ เพื่อพูดคุย หรือให้การบำบัดแบบย่อเกี่ยวกับปัญหาการใช้สารเสพติดกับผู้ป่วยได้อย่างดี ซึ่งเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของการใช้ ASSIST ก็คือ การมีผู้ช่วยที่เป็นเครื่องมือในการค้นหาชนิด และระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ของสารเสพติด ที่ผู้รับบริการใช้นั่นเอง

6 ทำไมควรทำ ASSIST ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงจากใช้สารเสพติดเป็นปัญหา สาธารณสุขที่สำคัญของประเทศชาติ แพทย์ พยาบาลจะรู้จักและวินิจฉัยผู้ติดสารเสพติดได้มากกว่าผู้ที่มีความ เสี่ยงปานกลาง แต่ผู้เสี่ยงปานกลางมีจำนวนมากกว่าผู้ติดสารเสพติดมาก และเพิ่มภาระการ ดูแลสุขภาพได้มากกว่า ASSIST และการบำบัดแบบย่อที่เชื่อมต่อกันนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ สามารถค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลางและนำเข้าสู่การบำบัดได้ เหตุผลสำคัญของการทำ ASSIST ประการแรก คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และ ความเสี่ยงสูงจากการใช้สารเสพติด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เป็นข้อมูลที่มีหลักฐานชัดเจนถึงการใช้สารเสพติด ที่ส่งผลทั้งต่อสุขภาพผู้เสพเอง ผู้อยู่ใกล้ชิด เช่น แอลกอฮอล์กับความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาทางเพศ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ทำแท้ง ฯลฯ ควันบุหรี่มือสอง อาชญากรรม ความรุนแรง การก่อวินาศกรรม ฯลฯ ในการทำงานของแพทย์ พยาบาล จะให้ความสำคัญกับการวินิจฉัยผู้ที่ติดสารเสพติดแล้ว มากกว่าผู้ที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง ผู้ที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลางมีจำนวนมากกว่าผู้ติดสารเสพติดมาก และเพิ่มภาระการดูแลสุขภาพมากกว่า เช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆ ที่มีลักษณะเหมือนโค้งปกติ ที่คนโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ใต้โค้ง ส่วนตรงกลางมากที่สุด ซึ่งเมื่อคนที่เสี่ยงในระดับปานกลางมีจำนวนมาก หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดูแล จะทำให้เขาเหล่านี้กลายไปเป็นกลุ่มติดสารเสพติด ซึ่งหมายถึงการต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัดที่ต้องใช้สารทดแทน และระดับความรุนแรงที่มากขึ้นย่อมต้องใช้เวลาในการบำบัดนานขึ้น ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และในขณะเดียวกันการเสพติดในระดับที่รุนแรงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้น ผลกระทบต่อบุคคลอื่น การกลายเป็รภาระต้องพึ่งพาผู้อื่น สูญเสียปีแห่งสุขภาวะมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญดังกล่าว เราจึงต้องตัดตอน การเปลี่ยนสถานภาพจากการใช้สารที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลางไปสู่ระดับรุนแรง ด้วยเครื่องมือ ASSIST และนำไปสู่การบำบัดอย่างย่อ (BI) ก่อนที่คนกลุ่มนี้จะกลายเป็นผู้เสพที่มีความเสี่ยงรุนแรง และนี่คือเหตุผลสำคัญของการเกิดและนำ ASSIST มาใช้นั่นเอง

7 ทำไมควรทำ ASSIST คนใช้สารเสพติดก็เพราะมันทำให้เขารู้สึกเป็นสุข หรือได้ฤทธิ์ตามที่เขา ต้องการ ปัญหาจากการใช้สารอาจจะเกิดได้จาก การเมาสาร (acute intoxication) การใช้เป็นประจำ การติดสาร การฉีดสาร ASSIST ครอบคลุมปัญหาเหล่านี้ทั้งหมด เหตุผลอื่นๆ ที่เราควรทำ ASSIST คนที่ใช้สารเสพติด มีความคิดและรู้สึกในทางบวกต่อการใช้สาร เพราะเขามีความสุข และสารสามารถให้ฤทธิ์ตามที่เขาต้องการได้ โดยที่เขายังมองไม่เห็นถึงผลเสียหรือปัญหาในการใช้สาร ปัญหาการใช้สารอาจจะเกิดจาก การเมาสาร เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ กัญชา การใช้สารเป็นประจำ เช่น บุหรี่ ยานอนหลับ การติดสาร เช่น ยาบ้า บุหรี่ หรือการฉีดสารที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ HIV ,ไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ ASSIST เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาครอบคลุมปัญหาเหล่านี้ทั้งหมด

8 เนื้อหาโดยย่อของ ASSIST
ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยถามถึงการเคยใช้สารแต่ละชนิดในชีวิต (คำถามที่ 1) การใช้ในสามเดือนที่ผ่านมา Q2: ความถี่ของการใช้ Q3: ความต้องการที่จะใช้สาร Q4: ปัญหาสุขภาพ สังคม กฎหมาย และการเงิน Q5: การไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ การใช้ในชีวิต Q6: ความเป็นห่วงของคนอื่นต่อการใช้สารเสพติด Q7: ความล้มเหลวในการควบคุมการใช้สาร Q8: การฉีดสารเสพติด โครงสร้างของ ASSIST ASSIST ประกอบด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมการใช้สารเสพติดทุกชนิด (Q1) การเริ่มต้นในคำถามแรก จะถามถึงการเคยใช้สารแต่ละชนิดในตลอดชีวิตที่ผ่านมาของคนนั้น การถามในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา (Q2-Q5) โดยจะแบ่งความถี่เป็น 4 ระดับคือ ไม่เคยใช้ ครั้ง ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ ทุกวัน โดยคะแนนแต่ละข้อ (Q2-Q5) คะแนนอาจจะไม่เท่ากัน (Q2) ความถี่ของการใช้ ใช่บ่อยแค่ไหน (Q3) ความต้องการ/ เป็นการอยากหรือมีความต้องการที่จะใช้สารแต่ละชนิด (Q4) ปัญหา อุปสรรค สุขภาพ สังคม กฎหมาย และการเงิน เช่น ใช้แล้วทำให้สุขภาพแย่ลง เริ่มป่วย ไปหาหมอ ซื้อยา ปวดศีรษะมากขึ้น น้ำหนักลด ฯลฯ เพื่อนรังเกียจ ไม่อยากคุย ไม่อยากพบใคร ถูกจับ ขับรถผิด ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม ทำผิดกฎ ระเบียบ เป็นหนี้ ใช้เงินมาก เงินที่สะสมต้องเอามาใช้มากขึ้น (Q5) การไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ขาด ลางานบ่อย ดูแลสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ ไม่สามารถทำภารกิจ หน้าที่ กิจวัตรที่เคยทำ เช่น เป็นนักร้องไม่สามารถร้องเพลงได้ คำถามที่ 6-7 เป็นการถามสารทุกตัวที่เคยใช้ในช่วงชีวิต (จากคำถาม Q1 คือข้อแรกเลยที่เราถามชนิดของสารที่เคยใช้ แต่เป็นการถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับ Q6: ความเป็นห่วงของคนอื่นต่อการใช้สารเสพติด (ในเคยเป็นห่วงในการใช้ เป็นห่วงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเคยเป็นห่วงแต่ไม่ใช่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (คะแนนจะเป็น 0,6,3) Q7: ความล้มเหลวในการควบคุมการใช้สาร (ในเคยเป็นห่วงในการใช้ เป็นห่วงในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา และเคยเป็นห่วงแต่ไม่ใช่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (คะแนนจะเป็น 0,6,3) คำถามที่ 8 : Q8: การใช้สารเสพติดโดยวิธีฉีด

9 การพัฒนา ASSIST by WHO late 1980’s : Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) developed Phase I ( ) ASSIST development: 9 countries involved ASSIST reliable & feasible instrument for use in primary health care settings cross culturally Phase II ( ): 7 countries involved ASSIST valid instrument for use in primary care settings cross culturally Pilot study - Brief Intervention successfully linked to the ASSIST Phase III ( ): 4 countries involved (N=731) RCT to investigate efficacy of an ASSIST-linked BI for cannabis, stimulants and opioids -> results showed significant reduction in ASSIST scores for clients receiving a BI 15 mins. to administer ASSIST & BI การพัฒนา ASSIST โดย องค์การอนามัยโลก ในช่วง 1980 มีการพัฒนา AUDIT เพื่อทำการคัดกรองและระบุปัญหาการใช้แอลกอฮอล์ การพัฒนา ASSIST อาจแบ่งเป็นระยะๆ หรือช่วงเวลา ดังนี้ ระยะที่ 1 ปี : การพัฒนา ASSIST ได้พัฒนาใน 9 ประเทศ คือAustralia, Brazil, India, Ireland, Israel, the United Kingdom, USA , the West Bank and Gaza Strip, and Zimbabwe, เพื่อหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ และความเป็นไปได้ ที่จะนำ ASSIST มาใช้ในระบบบริการปฐมภูมิ ระยะที่ 2 ปี : การทดลองใช้ใน 7 ประเทศ ได้แก่ Australia, Brazil, India, Thailand, United Kingdom, the USA and Zimbabwe เพื่อ หาค่าความตรงของเครื่องมือ สำหรับใช้ในระบบบริการปฐมภูมิในกลุ่มประเทศที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม และ มีการทดลองใช้การบำบัดอย่างย่อควบคู่กับ ASSIST โดยผลการทดลองใช้ได้รับการยืนยันว่าสามารถนำ BI มาใช้หลังจากคัดกรองด้วย ASSIST แล้ว ระยะที่ 3 ( ) : เป็นการทดลองแบบ RCT : เพื่อเปรียบเทียบและยืนยันถึงประสิทธิผล ของ การใช้ ASSISTคู่กับ BI สำหรับการใช้ กัญชา สารกระตุ้น และฝิ่น ซึ่งผลการทดลอง พบว่า คะแนน ASSIST ในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดอย่างย่อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ BI (Australia, Brazil, India, and the USA.) นั่นคือ การยืนยันถึง การใช้ ASSIST-BI ที่จะส่งผลดีในผู้ที่ใช้สารเพื่อให้ความเสี่ยงต่อการใช้สารลดลงนั่นเอง ระยะ ปัจจุบัน เป็นระยะที่ 4 ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่นี่เอง เป็นการนำ ASSIST – BI เข้าสู่ระบบริการปฐมภูมิ ของในแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนาเชิงปฏิบัติการให้เหมาะสมกับแต่ละบริบทของการนำไปใช้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการนำไปใช้จริงให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน การให้บริการของแต่ละพื้นที่ เสมือนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นั่นเอง โดยเป็นการพัฒนาและปรับวิธีการปฏิบัติในระหว่างการนำ ASSIST-BI ไปใช้นั่นเอง

10 World Health Organisation Dept. Mental Health & Substance Abuse
Australian Government Department of Health and Ageing World Health Organisation ASSIST Study Group W. Ling (USA) J. Marsden (UK) J. Martinez (Spain) B. McRee (USA) M. Monteiro (WHO) D. Newcombe (Australia) S. Nhiwatiwa (Zimbabwe) H. Pal (India) V. Poznyak (WHO) M. Rubio-Stipec (Puerto Rico) S. Simon (USA) J. Vendetti (USA) R. Ali (Australia) E. Awwad (Palestine) T. Babor (USA) F. Bradley (Ireland) T. Butau (Zimbabwe) M. Farrell (UK) M. Formigoni (Brazil) R. Humeniuk (Australia) R. Isralowitz (Israel) J. Jittiwutikarn (Thailand) R. de Lacerda (Brazil) Acknowledgements

11 ทำ ASSIST ได้ที่ไหนบ้าง
สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ SETTINGS Health Care Centres General Welfare Speciality Centres Organizations Primary care Correctional Services STD Clinics Any Work place Community care Vocational Services Psychiatry NGOs, Youth Org. Tertiary care Drop-in –Centres/VCTC Obstetrics เราจะนำ ASSIST ไปใช้ในสถานบริการ งานลักษณะใดได้บ้าง ในส่วนของสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในรูปแบบศูนย์บริการสุขภาพ สามารถนำASSIST ไปใช้ได้ทั้งใน รพ.สต./สอ. รพช. ในชุมชน หรือในบริการการดูแลระดับตติยภูมิก็ได้ ส่วนงานองค์กรที่ดูแลด้านสวัสดิการสังคม ในฑันทสถาน ศูนย์ฝึกอาชีพ ศูนย์บำบัดยาเสพติด หรือหน่วยงานที่ดำเนินการหาวิธีการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด บริการเฉพาะทาง เช่น หน่วยงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ งานที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตหรือปัญหาทางจิตเวช หน่วยงานด้านสูติศาสตร์ หรือองค์กรอื่นๆ ทั้งสถานที่ทำงาน องค์กร หน่วยงานต่างๆ องค์กรเอกชนต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน/องค์กรเยาวชน เป็นต้น

12 ใครเป็นคนใช้ ASSIST เจ้าหน้าที่บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิทุกคน Personnel
Health Professionals Para-medical General Welfare General Practitioners Health Workers Social Workers Nurses Mid Wives Correctional Officers Interns Health Educator Managers at workplace Counsellors ผู้ที่จะใช้ ASSIST มีทั้งบุคลากรสุขภาพ ทั้งแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาล หรือกลุ่มสุขภาพอื่นๆ ทั้งผดุงครรภ์ นักสุขศึกษา ผู้ให้การปรึกษา ฯลฯ หรืออาจเป็นบุคลากรในหน่วยงานสวัสดิการสังคม ศูนย์บำบัด ฝึกอาชีพ หรือผู้จัดการในที่ทำงาน/สถานประกอบการก็ได้ โดยหลักการแล้วหากพิจารณาในบริบทประเทศไทย ผู้ที่จะใช้ASSISTในระบบบริการปฐมภูมิ มีทั้ง แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล พนักงานเภสัช นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ดูแลหรือคัดกรองในระบบหลักประกันสุขภาพ/สิทธิประโยชน์ของผู้ป่วย นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลผดุงครรภ์ นักสุขศึกษา ครู แกนนำนักเรียน หรือในระดับพื้นที่ ชุมชน จะมี อสม. ผู้นำชุมชน กลุ่มแม่บ้าน ผู้นำเยาวชน ฯลฯ ซึ่งหากได้รับการฝึกอบรม และฝึกการใช้ ASSIST ร่วมกับการได้ประเมินและฟื้นฟูเป็นระยะๆ หรือในช่วงระยะแรกๆ อาจมีพี่เลี้ยง/ผู้ช่วยดูแลและพัฒนาการใช้ทักษะ ก็สามารถทำได้ เนื่องจากการคัดกรองทำได้ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน และที่สำคัญคือ การมีคู่มือ เอกสาร ที่ใช้ควบคู่กัน รวมถึงระบบของการติดตาม พัฒนา แก้ปัญหาในระบบการบริการตามความเหมาะสมของแต่ละแห่ง เป็นการเปิดกว้างในการนำ ASSIST เข้าไปใช้ในระบบบริการของแต่ละสถานบริการนั่นเอง

13 Resources “The Alcohol, Smoking & Substance Involvement Screening Test (ASSIST): Manual for use in Primary Care” “The ASSIST-linked Brief Intervention for Problematic Substance Use: A manual for use in Primary Care” “Self-Help Strategies for Cutting Down or Stopping Substance Use: Self-Help Guide” Technical Advice: WHO Collaborating Centre, Adelaide, South Australia, Australia แหล่งข้อมูลสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม

14 ขอบคุณ โครงการพัฒนาระบบบริการคัดกรองและบำบัดอย่างย่อในสถานบริการปฐมภูมิ ได้รับทุนสนับสนุนจาก แผนงานบูรณการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากการดื่มสุรา (ผรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขอบคุณ A/Prof. Robert Ali & Dr. Sonali Meena, WHO Collaborating Centre: Research in the treatment of Drug and Alcohol Problems, University of Adelaide, South Australia, Australia ขอบคุณ 69


ดาวน์โหลด ppt Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google