งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อบรมปฏิบัติการวินัยทางการเงิน เชิงเศรษฐศาสตร์ “รู้จักใช้ เข้าใจเงิน”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อบรมปฏิบัติการวินัยทางการเงิน เชิงเศรษฐศาสตร์ “รู้จักใช้ เข้าใจเงิน”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อบรมปฏิบัติการวินัยทางการเงิน เชิงเศรษฐศาสตร์ “รู้จักใช้ เข้าใจเงิน”
อบรมปฏิบัติการวินัยทางการเงิน เชิงเศรษฐศาสตร์ “รู้จักใช้ เข้าใจเงิน” คณะทีมงานวิทยากรฐานที่ 1 (อ.สุวภัทร อ.จันทร์สว่าง อ.ศรีไพร และ อ.อัจฉรา) ที่มา : วรากรณ์ สามโกเศศ. (2549). รู้จักใช้ เข้าใจเงิน. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน).

2 แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์/คำจำกัดความ
เศรษฐศาสตร์เป็นการเรียนเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างขาดแคลนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากร ไม่ได้หมายถึงเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ แต่ หมายถึง สิ่งที่มี เราจะต้องใช้เพื่อตอบสนองจุดประสงค์ของเราให้ได้นานที่สุด การตัดสินใจจะเลือกใช้ทรัพยากรด้วยวิธีใดจึงต้องมีการเปรียบเทียบ/วิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผล

3 แนวทางการจัดการเรียนการสอน
1. ฝึกให้ผู้เรียนวิเคราะห์ แยกแยะสินค้า/บริการ ตอบสนองประโยชน์ คาดหวังหรือไม่ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก - โฆษณา/เลียนแบบผู้ใหญ่ - การลดราคา/ทำตามศิลปิน 3. การบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง/ฝึกวิเคราะห์ 4. ฝึกการเขียนถึงเป้าหมายที่ต้องการ 5. สภาวะกระบวนการออมเงินเพื่อไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ

4 หน้าที่ของเงิน 1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange)
2. เป็นหน่วยนับ (Unit of Account) 3. รักษามูลค่า (Store of Vale) 4. การใช้สกุลเงินแตกต่างกันของแต่ละประเทศ แต่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ตามมูลค่าของเงินแต่ละสกุลเงิน ซึ่งมีมูลค่าไม่เท่ากัน

5 เงินกับความต้องการและความจำเป็น
(Want vs Need) ความต้องการ (Want) เป็นกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีทรัพยากร (เงิน) จำกัด ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ (สามารถรอเวลาได้) ความจำเป็น (Need) เป็นความจำเป็นเร่งด่วนหากไม่ได้หรือไม่บริโภคแล้วเกิดความเสียหาย เช่น อาหาร

6 การใช้เงิน/ความจำเป็น/ความต้องการ
1. หลักความจำเป็น 2. หลักการมีประโยชน์ 3. หลักความประหยัดสัมพันธ์กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

7 สิทธิของผู้บริโภค 1. สิทธิในการเปลี่ยนสินค้าใหม่ (คุณภาพ/มาตรฐาน) ไม่เป็นที่กำหนด 2. สิทธิในการได้รับค่าชดเชย (กรณี เสียหาย/อยู่ระยะประกัน) 3. สิทธิในการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวสินค้าควบคู่กับหน้าที่ของผู้บริโภค 4. สิทธิในการเลือกอย่างมีเหตุผล 5. สิทธิในการตรวจสอบการรับประกัน

8 หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาสิทธิของผู้บริโภค
1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 2. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

9 รู้จักใช้ เข้าใจเงิน เงินเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต
เงินเป็นเป้าหมายของคนจำนวนมาก เงินเหมือนแก้วสารพัดนึกบันดาลให้ได้รับสิ่งต่างๆสมปรารถนา เงินจึงเป็นสิ่งที่มาคุณค่า/ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ ได้รับประโยชน์สูงสุด

10 จุดเน้นวินัยทางการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
เน้นความสำคัญของการทำงาน/การรับและการให้ ความรู้เรื่องเงินเป็นสิ่งสำคัญ สามารถบริหารจัดการเงินของแต่ละบุคคลไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม สามารถพัฒนาทักษะความรู้ด้านการวางแผนการเงิน การรู้จักใช้เงินอย่างมีคุณค่า การดำรงชีวิตอย่างมีแบบแผน มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเงิน (การออม/การลงทุน) ตามแนวพระราชดำริในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

11 ชีวิต ความสุข และเงิน ผู้คนจำนวนไม่น้อยพบว่า...
ชีวิต ความสุข และเงิน ผู้คนส่วนมากมีความเข้าใจว่า ความสุขเกิดจากเงิน ยิ่งมีเงินมากก็มีความสุขมาก ผู้คนจำนวนไม่น้อยพบว่า... ความสุขมิได้เพิ่ม ตามจำนวนเงิน แต่...เงินทำให้ชีวิตอยู่รอด ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด

12 เงิน เงิน เงิน มีหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางหรือสะพานไปสู่ความสุขเหล่านั้น
เงิน...จึงไม่ใช่ตัวความสุข ดังนั้น เงินจึงไม่ใช่เป้าหมายของชีวิต

13 ทัศนคติเกี่ยวกับเงิน
ศัตรู เงิน นาย มิตร ทาส

14 นาย ทาส มิตร ศัตรู หากเรายอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตอับเฉา/ลืมจริยธรรม ทำทุกอย่างเพื่อเงิน หากเรายอมให้เงินเป็นทาส เราคือคนเยี่ยมยอด (มีวินัยทางการเงิน) หากเรายอมให้เงินเป็นมิตร เงินเราจะเพิ่มพูนจากการลงทุน การออม/การวางแผน หากเรายอมให้เงินเป็นศัตรู กู้ทุกอย่างที่ขวางหน้าจะมีดอกเบี้ยทิ่มแทงทั้งหลับ-ตื่น

15 เงิน ทอง น้อง พี่ หนี้ ทุกข์
ชีวิตต้องกู้ ดำรงอยู่ด้วยการเป็นหนี้ ดอกเบี้ยจากการกู้จะทิ่มแทงเราทั้งหลับและตื่น มีเงิน คือ น้อง มีทอง คือ พี่ มีหนี้ คือ ทุกข์

16 การรู้จักใช้ เข้าใจเงินที่ดี ถูกต้อง
การใช้เงินแต่ละครั้งนั้นทำให้เกิดความพอใจไม่เท่ากัน การใช้จ่ายเงินอย่างสมเหตุสมผลคือการใช้เงินอย่างเกิดประโยชน์

17 ใช้เงินอย่างคุ้มค่าสมเหตุสมผล
จะแน่ใจอย่างไรว่า ใช้เงินอย่างคุ้มค่าสมเหตุสมผล พิจารณาโดยการประเมินก่อนว่ามีประโยชน์มาก/น้อย พิจารณาราคาก่อนสามารถจ่ายได้/ไม่ได้ จึงตัดสินใจซื้อ/ไม่ซื้อ สิ่งสำคัญที่สุดในการเข้าใจและรู้จักใช้เงินอย่างคุ้มค่าคือ “รู้จักตนเองและมีสติ”

18 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินสัมพันธ์กับมาตรฐานและตัวชี้วัด
ระดับชั้น ตัวชี้วัด หมายเหตุ ประถมศึกษาปีที่ ๑ ส.๓.๑/๑ ส.๓.๑/๓ ส.๓.๑/๒ ส.๓.๒/๑ ประถมศึกษาปีที่ ๒ ประถมศึกษาปีที่ ๓ ประถมศึกษาปีที่ ๔ ส.๓.๒/๒ ประถมศึกษาปีที่ ๕ ประถมศึกษาปีที่ ๖

19

20 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt อบรมปฏิบัติการวินัยทางการเงิน เชิงเศรษฐศาสตร์ “รู้จักใช้ เข้าใจเงิน”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google