งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายงานการสอบสวนการระบาดโรคไวรัสตับอักเสบ เอ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายงานการสอบสวนการระบาดโรคไวรัสตับอักเสบ เอ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายงานการสอบสวนการระบาดโรคไวรัสตับอักเสบ เอ
หมู่ที่ 8 ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ 28 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2557 ทีม SRRT อำนาจเจริญ

2 ความเป็นมา วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 เวลา น. งานระบาดวิทยา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับแจ้งทางจาก โรงพยาบาลอำนาจเจริญ พบผู้ป่วย 2 ราย ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลปทุมราชวงศา มีอาการ ไข้ ตา ตัวเหลือง เหนื่อยอ่อนเพลีย สงสัยโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน คือ หมู่ที่ 8 ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา ทีม SRRT จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับทีม SRRT อำเภอปทุมราชวงศา จึงได้ออกสอบสวนโรคในวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 เวลา น.

3 วัตถุประสงค์ ยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค
ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและการเกิดโรค เพื่อค้นหาแหล่งโรคและวิธีการถ่ายทอดโรค เพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

4 รูปแบบการศึกษา การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
ทบทวนบันทึกเวชระเบียนการรักษาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลปทุมราชวงศาและ ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2557 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม นิยามในการค้นหา ประชาชน หมู่ที่ 8 ต.นาป่าแซง ที่มีอาการตั้งแต่ 1 เมษายน มิถุนายน 2557 ดังนี้ ผู้ป่วยที่ยืนยัน หมายถึง ผู้ที่มีอาการเข้าได้กับนิยามผู้ป่วยสงสัยและมีหลักฐานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ พบผลตรวจ Anti-HAV IgM เป็นบวก

5 รูปแบบการศึกษา(ต่อ) การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ
 การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ ส่งตัวอย่างซีรั่มของผู้ป่วยจำนวน 48 คน เพื่อตรวจหา Anti-HAV IgM และ Anti-HAV IgG ส่งตรวจที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เก็บตัวอย่างน้ำบริโภค อุปโภค ในชุมชน และน้ำจากบ่อที่นำมาผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ส่งตรวจที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยส่งผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที 10 อุบลราชธานี จำนวน 2 ตัวอย่าง

6 รูปแบบการศึกษา(ต่อ) การศึกษาสิ่งแวดล้อม
 การศึกษาสิ่งแวดล้อม สัมภาษณ์ผู้นำชุมชนอสม.และตัวแทนชาวบ้านเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำดื่มของประชาชน แหล่งที่มาของน้ำอุปโภคบริโภคน้ำแข็ง อาหาร และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การรวมกลุ่มของคนในชุมชน

7 ผลการสอบสวน ข้อมูลทั่วไปของตำบลนาป่าแซง อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
หมู่ที่ 8 บ้านคำย่านาง อำเภอ ปทุมราช ถนนอำนาจ- เขมราฐ จำนวน 124 หลังคาเรือน ประชากร 636 คน

8 ผลการสอบสวน การกระจายตามบุคคล เพศ แยกเป็นเพศชาย 11 ราย เพศหญิง 20 ราย
เพศ แยกเป็นเพศชาย 11 ราย เพศหญิง 20 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1: 1.8 อายุ ต่ำสุด 5 ปี สูงสุด 61 ปี อายุเฉลี่ย (มัธยฐาน) 31 ปี กลุ่มอายุ (ปี) จำนวนประชากร จำนวน (ราย) อัตราป่วย (ร้อยละ) 0-5 ปี 59 1 1.69 6-14 ปี 101 6 5.94 15-45 ปี 334 18 5.39 46-59 ปี 79 4 5.06 60 ปีขึ้นไป 63 2 3.17 รวม 636 31 4.87 การรักษา รพช.ปทุมราชวงศา จำนวน ราย รพท.อำนาจเจริญ จำนวน ราย โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ จำนวน 1 ราย

9 การกระจายตามบุคคล (ต่อ)
ผลการสอบสวน การกระจายตามบุคคล (ต่อ) อาการและอาการแสดงผู้ป่วยโรคไวรัสตับอับเสบชนิด เอ หมู่ที่ 8 ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่าง วันที่ 1 พ.ค มิ.ย 57, ( N=31) อาการ/อาการแสดง ร้อยละ

10 จำนวนผู้ป่วยยืนยืนโรคไวรัสตับอักเสบชนิด เอ หมู่ที่ 8 ตำบลนาป่าแซง
ผลการสอบสวน การกระจายตามเวลา จำนวนผู้ป่วยยืนยืนโรคไวรัสตับอักเสบชนิด เอ หมู่ที่ 8 ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา แยกตามวันเริ่มป่วย ระหว่าง วันที่ 1 พ.ค มิ.ย 57 ( N=31) รวมกลุ่มงานอุปสมบท 22-24 เม.ย.57

11 ผลการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ
ผลการสอบสวน ผลการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ การตรวจซีรั่ม เพื่อหา Anti HAV IgM ในประชาชนที่สงสัยที่ค้นหา จำนวน 48 ราย ผลการตรวจซีรั่ม พบ Anti HAV IgM ให้ผลบวก สามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ชนิดเฉียบพลัน จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ สำหรับผลการตรวจวิเคราะห์น้ำจากบ้านผู้ป่วย และน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปา ผลการวิเคราะห์ ไม่พบ DNA ของไวรัสตับอักเสบ

12 ผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม
ผลการสอบสวน ผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม น้ำสำหรับบริโภคในชุมชน แต่ละบ้านจะใช้น้ำฝนที่รองไว้ในโอ่ง ขนาดใหญ่ บ้านละประมาณ 1-5 โอ่ง และไม่มีการต้ม หรือกรองก่อนนำมาดื่ม น้ำสำหรับอุปโภค ใช้น้ำประปา มี 2 ระบบ ระบบใช้น้ำใต้ดิน จะใช้น้ำได้เฉพาะฤดูฝนถึงฤดูหนาวน้ำใต้ดินก็จะหมดและไม่พอใช้ ระบบใช้น้ำผิวดิน ที่สามารถเปิดให้บริการได้ตลอดทั้งวัน โดยใช้น้ำผิวดินจากแหล่งอ่างเก็บน้ำสาธารณะจากชลประทานภูพริกที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านห่างจากหมู่บ้านประมาณ 200 เมตร

13 ผลการสอบสวน แหล่งน้ำผลิตประปาหมู่บ้าน บริเวณรอบๆแหล่งน้ำ

14 มาตรการควบคุมป้องกันโรค
มาตรการเร่งด่วน ให้คำแนะนำและกำกับผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้านเรื่องวิธีการเติมคลอรีนให้ถูกต้อง แจกจ่ายคลอรีนน้ำให้ทุกครัวเรือน เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม น้ำอุปโภค ในครัวเรือน แจกจ่ายคลอรีนผงเพื่อนำไปทำลายเชื้อโรคในห้องน้ำ ห้องส้วมในทุกหลังคาเรือน โดยแกนนำชุมชนและอสม. งานอนามัยสิ่งแวดล้อม สสจ. อำนาจเจริญ ให้คำแนะนำกลุ่มแกนนำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องการปรับปรุงคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน

15 มาตรการควบคุมป้องกันโรค
มาตรการเร่งด่วน ขอความร่วมมือเจ้าของสวนมันสำปะหลังไม่ให้เทสิ่งปฏิกูลในสวนบริเวณรอบๆ อ่างเก็บน้ำสาธารณะ ประสานเทศบาลตำบลนาป่าแซงที่ดูแลการกำจัดสิ่งปฏิกูลในชุมชน โดยเฉพาะการทิ้งของเสียของรถดูดปฏิกูล เฝ้าระวังคุณภาพของน้ำประปาของหมู่บ้าน โดยสุ่มทดสอบระดับคลอรีนตกค้างที่ปลายท่อ ในทุกสัปดาห์ ขณะนี้พบระดับคลอรีนตกค้างที่ได้มาตรฐานในทุกสัปดาห์ ทีมสุขภาพอำเภอปทุมราชวงศาเข้าให้สุขศึกษาประชาชนในหมู่ที่ 8 เรื่องการบริโภคอาหารและน้ำดื่มและจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารในชุมชนและเพื่อลดความวิตกกังวล ของคนในชุมชน

16 มาตรการควบคุมป้องกันโรค
มาตรการเร่งด่วน ให้สุขศึกษารายกลุ่มสำหรับผู้ที่มีอาการและติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบเอ เน้นการขับถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ และการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ปรุงอาหารและหลังการขับถ่ายทุกครั้ง

17 มาตรการควบคุมป้องกันโรค
มาตรการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ นำปัญหาการระบาดและข้อค้นพบที่ได้เข้าสู่วาระการประชุมคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุขพ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม 2557 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในการประชุม มีมติให้ดำเนินการดังนี้ 1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ในจังหวัดอำนาจเจริญ ออก ข้อบัญญัติ ในเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลในชุมชนโดย เฉพาะการทิ้งของเสียของรถดูดสิ่งปฏิกูล ในไร่ สวน ที่นา เป็นสิ่งที่ผิด ข้อบัญญัติ และเสนอให้ เทศบาล/ อบต.จัดทำโครงการ บ่อหมักสิ่งปฏิกูลขึ้น เพื่อ เป็นการกำจัด สิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล

18 มาตรการควบคุมป้องกันโรค
มีมติที่ประชุมให้ดำเนินการ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้จัดหาและดูแลคุณภาพน้ำประปา ในชุมชน ให้ได้ใช้น้ำอุปโภค บริโภคที่สะอาดปลอดภัยโดยให้นำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุม ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2557

19 มาตรการควบคุมป้องกันโรค
ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญนำปัญหาเรื่องการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบ A เข้าที่ประชุมสโมสรโรตารี่จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อให้สนับสนุนเครื่องกรองน้ำสำหรับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

20 สรุปผลการสอบสวน การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบ เอ โดยเกิดการระบาดในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านคำย่านาง ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ พบการเกิดโรคกระจายทั่วทั่งหมู่บ้าน โดยผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการการตรวจซีรั่ม เพื่อหา Anti HAV IgM ในประชาชนที่สงสัยที่ค้นหา จำนวน 48 ราย ผลการตรวจซีรั่ม พบ Anti HAV IgM ให้ผลบวก จำนวน 31 ราย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีการระบาดเกิดจากใช้น้ำอุปโภคที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ก่อนใช้ ประกอบกับมีการรวมกลุ่มคนในการจัดงานบุญ ซึ่งอาจเป็นการปนเปื้อนเชื้อ ในน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนจากผู้เตรียมอาหารที่เป็นพาหะของโรคทำให้โรคแพร่ระบาดไปในวงกว้าง

21 ทีม SRRT เครือข่ายตำบลนาป่าแซง
ทีมสอบสวนโรค ทีม SRRT เครือข่ายตำบลนาป่าแซง ทีม SRRT อำเภอปทุมราชวงศา ทีม SRRT จังหวัดอำนาจเจริญ ทีมปรึกษา ทีม SRRT จากสำนักระบาดวิทยา ทีม SRRT สคร.7 อุบลราชธานี

22 กิจกรรมประกาศ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรองจาก สคร.7 อุบลราชธานี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที 10 อุบลราชธานี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาป่าแซง อสม. และผู้นำชุมชน ในหมู่ที่ 8 ผู้ที่สงสัยป่วยด้วยโรคไวรัสตับอักเสบรวมทั้งญาติทุกคน

23 Thank you for your attention
Sawasdee Thank you for your attention

24 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt รายงานการสอบสวนการระบาดโรคไวรัสตับอักเสบ เอ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google