งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการบริหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการบริหาร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการบริหาร
คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการบริหาร ปัญญา แกล้วกล้า ศษ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา)

2 จุดประสงค์การเรียนรู้
เข้าใจและอธิบายส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ได้ เข้าใจและอธิบายระบบการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ได้ เข้าใจและอธิบายความหมายของข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้อง

3 จุดประสงค์การเรียนรู้
4. เข้าใจและอธิบายความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกต้อง 5. เข้าใจและอธิบายความหมายของระบบการสื่อสารได้ถูกต้อง 6. ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการสื่อสาร เพื่อการบริหารสถานศึกษาในเบื้องต้นได้

4 ขอบข่ายสาระองค์ความรู้
ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลและสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร การประยุกต์ใช้

5 ICT เพื่อการบริหาร

6 ICT. I = Informatiom C = Communication T = Technology

7 IT : Information Technogy
(เทคโนโลยีสารสนเทศ) C : Communication (การสื่อสาร)

8 องค์ประกอบของ ICT Hardware Software Data/Information Network
Peopleware Management Informatiom System

9 ข้อมูล (Data) ข้อเท็จจริงที่แสดงลักษณะ สถานการณ์ หรือความเป็นไป ของคน สิ่งของ หรือปรากฎการณ์ เกิดเหตุการณ์ จะเกิดข้อมูล เป็นวัตถุดิบสำหรับการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ

10 ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ 2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว

11 การประมวลผลข้อมูล การประมวลผล คือ
การประมวลผล คือ การจัดการกับข้อมูลต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งจากการประมวลผล ผลที่ได้เรียกว่า “ สารสนเทศ ” วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี 1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข 2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing) 3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์

12 สารสนเทศ (Information)
ผลที่ได้รับจากการประมวลผลข้อมูลหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้

13 กระบวนการของสารสนเทศ
ข้อมูล การประมวลผลข้อมูล สารสนเทศ กระบวนการของสารสนเทศ

14 สารสนเทศที่ดีจะต้องได้จากข้อมูลที่ดี
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี มีดังนี้ ถูกต้อง ทันเวลา สอดคล้องกับงาน สามารถตรวจสอบได้ ครบถ้วน

15 ระบบสารสนเทศ สารสนเทศสามารถแบ่งแยกประเภทออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้ 1. สารสนเทศที่ทำประจำ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน 2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย เช่น การทำบัญชีงบดุลของบริษัท ที่ต้องยื่นต่อทางราชการและเพื่อใช้ในการเสียภาษี 3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เช่น รายงานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

16 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 1. บุคลากร 2. ขั้นตอนการปฏิบัติ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 4. ซอฟต์แวร์ 5. ข้อมูล

17 เทคโนโลยีสารสนเทศ

18 เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนิน ชีวิตของมนุษย์

19 พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ [1] ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ [1] ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่นำมาประมวลผล แล้วเสนอออกมาในรูปที่ผู้ใช้รู้หรือเข้าใจความหมาย” ขั้นตอนในการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศ

20 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้จัดการสารสนเทศ เกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน และการสื่อสารข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย เทคโนโลยีที่สำคัญ 2 สาขา คือ “เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์” และ “เทคโนโลยีโทรคมนาคม”

21 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ใช้สำหรับการจัดการระบบสารสนเทศ คือ ช่วยในการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลและแสดงผล

22 เทคโนโลยีโทรคมนาคม ใช้สำหรับส่งผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ไปให้ยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องครบถ้วน และทันต่อเหตุการณ์ เทคโนโลยีโทรคมนาคมได้แก่ โทรศัพท์ โทรทัศน์/วิทยุ รวมถึงเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

23 บทบาทความสำคัญของ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในชีวิตประจำวัน ภายในครอบครัวก็มีการใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศกันมากขึ้น เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์

24 ลักษณะสำคัญของ เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการ บริการเป็นแบบกระจาย เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ

25 ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณภาพชีวิต ความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม

26 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
“ การรวบรวมข้อมูลการประมวลผล และสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยจะต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(Hardware) โปรแกรม(Software) ร่วมกับผู้ใช้(Peopleware)”

27 computer

28 computer เป็นเครื่องมือสำหรับคำนวณและประมวลผล สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร เสียง และภาพ เอาไว้ได้เป็นจำนวนมหาศาล

29 computer Input Processor Memory Secondray Storage Output

30 computer Bit / Byte หน่วยนับข้อมูล Hertz หน่วยนับความถี่ สัญญาณไฟฟ้า
Pixel หน่วยนับจุดภาพ (Resolution)

31 computer K = Kilo (1024) M= Mega (1024 X 1024) G= Giga (1024X 1 M)
T= Tera (1024X 1 G)

32 รูปแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ทำงานแบบเอกเทศ (Stand Alone) เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network) ทำงานระบบ Online

33 ROM RAM - Floppy disk - Hard disk - CD-Rom - Tape แม่เหล็ก mouse
หน่วยความจำสำรอง - Floppy disk Hard disk - CD-Rom Tape แม่เหล็ก หน่วยรับข้อมูล mouse joystick scanner keyboard track ball touch screen หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ หน่วยแสดงผล จอภาพ , เครื่องพิมพ์ หน่วยความจำหลัก ROM RAM

34 -Hardware -Software

35 หน่วยรับข้อมูล(Input Unit)
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

36 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

37 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ - การคำนวณทางคณิตศาสตร์ (การบวก ลบ คูณ หาร) - การเปรียบเทียบ / การเพิ่มและการลด

38 หน่วยความจำ (Memory Unit)
ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ที่ส่งมาจาก หน่วยรับข้อมูล หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary Memory) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

39 หน่วยความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary Memory)
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. รอม (ROM : Read Only Memory) - ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง - เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร - ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ - เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก - อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวและการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

40 2. แรม (RAM : Random Access Memory)
- เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง - สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย - การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

41 เก็บข้อมูล และโปรแกรม
พิมพ์รายงาน , ฟังเพลง , เล่นเกมส์ CPU รับคำสั่งจาก RAM มาทำการประมวลผล พื้นที่ RAM คำสั่งพิมพ์รายงาน คำสั่งฟังเพลง คำสั่งเล่นเกมส์ Hard Disk เก็บข้อมูล และโปรแกรม

42 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก

43 หน่วยความจำสำรอง ได้แก่
หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ - จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) - เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป - จานแสง (Optical Disk) เป็นสื่อที่ใช้บันทึก ข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึก ข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory)

44 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล แบ่งเป็น 2 แบบ

45 1. แสดงผลทางบนจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 x 480 จุด , 800 x 600 จุด , 1024 x 786 จุด 2. แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer

46 Software

47 โปรแกรมคำสั่งที่ใช้สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

48 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฏิบัติการ ดอส วินโดวส์ โอเอสทู ยูนิกส์ ลีนุกซ์ ตัวแปรภาษา ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาโลโก ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป S/w ประมวลผลคำ S/w ตารางทำงาน S/w จัดการฐานข้อมูล S/w นำเสนอ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ โปรแกรมทำบัญชี โปรแกรมการจองตั๋ว โปรแกรมระบบธนาคาร

49 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการระบบโปรแกรม แรกที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานหน้าที่หลักของ ซอฟต์แวร์ระบบ คือ 1.ใช้ในการจัดการอุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ 3.จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช้ร่วมกัน 4.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์

50 ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกได้เป็นชนิด คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) ตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter)

51 ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น - ดอส (DOS) การใช้งานจะใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร มีลักษณะการทำงานเป็นแบบเดี่ยว - วินโดวส์ (Windows) มีระบบกราฟิกสำหรับติดต่อ กับผู้ใช้ มีลักษณะการทำงานเป็นแบบหลายงาน มีความสามารถในด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับ วินโดว์ส ใช้กับเครื่อง PS/2 ของ IBM เท่านั้น - ยูนิกส์ (Unix) ลักษณะการทำงานเป็นแบบหลาย งาน และแบบหลายผู้ใช้ เหมาะสำหรับระบบ Network

52 ตัวแปลภาษา มนุษย์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสื่อกลางที่เรียกว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์” ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ - ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) มีความยุ่งยากในการเขียน รูปแบบภาษาเป็นเลขฐาน เช่น ภาษาเครื่อง หมายความว่า Save ข้อมูล - ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้ง่าย ใกล้เคียงกับภาษา มนุษย์ ต้องมีตัวแปลภาษา

53 ตัวแปลภาษา มีไว้เพื่อ แปลภาษาระดับสูงไปภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
ตัวแปลภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (Interperter) คอมไพเลอร์ : แปลคำสั่งทั้งโปรแกรม แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้น อินเทอร์พรีเตอร์ : แปลคำสั่งทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น

54 ภาษาระดับสูง ได้แก่ - ภาษาปาสคาล : เหมาะกับงานด้านการคำนวณ - ภาษาเบสิก : ทำได้ทั้งงานคำนวณ งานธุรกิจ หรือ งานออกรายงาน - ภาษาซี : เหมาะกับงานคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ - ภาษาฟอร์แทรน : เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ - ภาษาโคบอล : ภาษามีคำสั่งคล้ายคลึงกับ ภาษาอังกฤษ เหมาะกับงานด้านธุรกิจ

55 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) 2. ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

56 ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software)
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมา จำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรงไม่ต้องเสียเวลาในการ พัฒนาซอฟต์แวร์อีก ได้แก่ - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ใช้สำหรับพิมพ์เอกสาร เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด - ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้ช่วยในการคิดคำนวณ เช่น เอกเซล โลตัส - ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ใช้ในการจัดการกับข้อมูล เช่น เอกเซส ดีเบส - ซอฟต์แวร์นำเสนอ ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล เช่น เพาเวอร์พอยด์ - ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ใช้ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลได้ เช่น โปรแกรม IE. โปรแกรมchat

57 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน โดยเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสามกับงานนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ซอฟต์แวร์ใช้งาน เฉพาะ มักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษา รูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้นๆ แล้วจัดทำขึ้น เช่น โปรแกรมทำบัญชี โปรแกรมการ จองตั๋ว โปรแกรมระบบธนาคาร โปรแกรม ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบการเช่าซื้อ

58 Communication

59 communication ระบบโทรคมนาคม ช่วยให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ส่ง/เก็บข้อมูลทางไกลได้ ระบบโทรคมนาคม ช่วยให้เกิดเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ /ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้ เกิดระบบ Internet

60 communication แบ่ง 2 ลักษณะ Oneway Communication Twoway Communication

61 communication Oneway Communication News/Tellevision/Radio

62 communication Twoway Communication Tellephone/Internet

63 communication 1. สัญญาณวิทยุ 2. สัญญาณโทรทัศน์ 3. สัญญาณโทรศัพท์
4. สัญญาณดาวเทียม

64 Information Technology Communication
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้อมูลข่าวสาร โดยหลักก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

65 เทคโนโลยีโทรคมนาคม กทช. กสท. ทศท. กระทรวง ไอซีที

66 Computer network

67 ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีต่อหน่วยงานต่างๆ สรุปได้ดังนี้ ทำให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน เช่นฐานข้อมูล ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้ตัวประมวลผล (CPU)ร่วมกัน ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้ ทำให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติได้ โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด การสื่อสารส่งงานระหว่างกันใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษได้ สามารถนัดหมาย โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้

68 Computer Network LAN = Local Area Network CAN = Capus Area Network
VAN = Value Added Network MAN = Metropolitan Area Network WAN = Wide Area Network

69 LAN เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มากนัก เชื่อมโยงกันในระยะใกล้ เช่น ในอาคารเดียวกัน ชั้นเดียวกัน เหมาะสมกับการใช้ทำงานร่วมกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน ประกอบด้วยเครื่องแม่ข่าย(Server) กับเครื่องลูกข่าย

70 LAN : Local Area Network
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งขึ้นเพื่อการใช้งานภายในแผนก หรือองค์กรของตัวเอง เช่น ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบัน หรือในบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง วัตถุประสงค์เพื่อ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น Hardware , Software , File และเพื่อการติดต่อระหว่างกันภายในองค์กร ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ที่ต่อกันเป็นเครือข่ายแลน สามารถต่อได้ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป

71 CAN ได้ชื่อมาจากเครือข่ายในมหาวิทยาลัย Campus
เชื่อมโยงเครือข่าย LAN จำนวนมากจากอาคารต่างๆ เข้าเป็นเครือข่ายเดียว เดินสายสื่อสารหลักเป็น Fiber Optics

72 VAN เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กว้างขวางมาก เชื่อมอาคารต่างๆ ที่อยู่ต่างสถานที่กัน หน่วยงานมีสำนักงานอยู่หลายแห่ง การเชื่อมต่อ ต้องอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ

73 คุณลักษณะของเครือข่าย VAN คือ
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล ต้องพึ่งพาระบบบริการข่ายสาธารณะ เช่น ใช้สายเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย องค์กรที่ใช้เครือข่ายแวน ได้แก่ ธนาคาร ซึ่งมีสาขาทั่วประเทศ และมีบริการรับฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้ แวนประกอบด้วนแลนตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป เชื่อมต่อกัน

74 MAN เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่าย LAN ของหน่วยงานที่มีสาขาหรือหน่วยงานย่อย ตั้งอยู่กระจัดกระจายอยู่ในเขตเมืองใหญ่

75 WAN เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกว้างขวางออกไปทั่วโลก โดยระบบโทรคมนาคม ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นระบบอินเตอร์เน็ต

76 คอมพิวเตอร์แบบศูนย์รวม

77 คอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย

78 ตัวอย่างการเชื่อมต่อเครือข่าย

79 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Internet

80 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสวิตชิง

81 ระบบเชื่อมต่อ internet
Dial-Up IP share Lease Line Satellite

82 การเชื่อมต่อแบบใช้สาย

83 การเชื่อมต่อแบบไร้สาย

84 การเชื่อมต่อแบบใช้สาย
การเชื่อมต่อแบบใช้สายนี้นิยมใช้ในการเชื่อมต่อในอาคาร หรือระหว่างอาคารที่ไม่มีระยะทางที่ไกลมากๆ สายสื่อสารที่นิยมใช้จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามประสิทธิภาพของการส่งข้อมูล สายใยแก้ว สายทองแดง สายคู่ไขว้ สายโทรทัศน์ (Cable Modem) สายโทรศัพท์ (DSL)

85 การเรียกข้อมูลผ่านระบบโมเด็ม

86 Internet ความเร็วสูง ADSL ISDN Satellite

87 บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail หรือ ) เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถรับส่งข้อความผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol :FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ จากเครื่องอื่นมาเก็บไว้ยังเครื่องที่ต้องการ กลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นบริการที่รวมกลุ่มของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อส่งข่าว และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจนั้น

88 บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Remote Login) คือการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อขอเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลได้ เสมือนได้นั่งอยู่ที่หน้าเครื่องนั้นๆ การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ครองคลุมทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบ อาร์คี (Archie) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่เครื่องใดในอินเตอร์เน็ต การสนทนาทางเครือข่าย เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตโดยผู้ใช้ฝ่ายหนึ่งสามารถสนทนากับผู้ใช้อีกฝ่ายหนึ่ง มีการโต้ตอบกันทันทีได้โดยการพิมพ์ข้อความหรือใช้เสียง

89 บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นบริการที่สืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ (Hypertext) สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publisher) จะมีการบรรจุเนื้อหาและภาพของหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เอกสารและตำราวิชาการ ลงในเว็บไซต์ เกมส์ (Games) เป็นการเล่นเกมบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งอาจเป็นการเล่นคนเดียวหรือเล่นหลายคนพร้อมกันได้

90 การเรียกข้อมูลผ่านข่ายงาน
การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายนั้นนิยมที่จะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรเดียวกัน การเชื่อมต่ออาจเป็นการเชื่อมต่อแบบใช้สาย (wireline) การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless)

91 การรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย
การรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย หมายถึง การรักษาความปลอดภัยของการเข้าใช้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่บนระบบเครือข่ายนั้นๆ การรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพการส่งข้อมูลให้มีอัตราส่งคงที่ รวดเร็วและมีความถูกต้อง การป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น สแปมเมล์ (spam mail) โฆษณา เป็นต้น

92 การรักษาความปลอดภัยของ ข้อมูลสารสนเทศ
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการเชิงกายภาพ การกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ห้องเก็บข้อมูล การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของห้องเก็บข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการเชิงตรรกะ การเข้ารหัสข้อมูล การกำหนดให้ผู้ใช้ข้อมูลมีรหัสผ่านเพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้ การกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลสารสนเทศที่แตกต่างกัน

93 การกำหนดเลือกว่าวิธีใดเป็นวิธีที่เหมาะสม จะต้องคำนึงถึงปัจจัย
ระดับความวิกฤติหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีการบุกรุกเครือข่าย งบประมาณการดำเนินการจัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษา ความพร้อมด้านบุคลากรในองค์กร

94 การศึกษา (e-Education)
ยุทธศาสตรที่ใช เนนหนักในการจัดหา จัดสราง สงเสริม สนับสนุน โครงสรางพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและการเรียนรูรวมถึงวิชาการ ความรูสารสนเทศตางๆ และผูสอน การจัดการ และการบริหารการศึกษาและ การฝกอบรมทั้งวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพความรูของทรัพยากรมนุษยของไทย

95 การศึกษา (e-Education)
ตัวอย่าง การเปิดเครือข่าย school-net ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศให้มีโอกาสหาความรู้จากระบบอินเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกัน การจัดหาคอมพิวเตอร์เครือข่ายความเร็วสูงให้กับสถานศึกษา

96 บุคลากรคอมพิวเตอร์

97 บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 3 กลุ่ม
บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 3 กลุ่ม บุคลากรคอมพิวเตอร์ บุคลากรทางด้าน ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ บุคลากรทางด้าน ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ บุคลากรสนับสนุน และบริการ

98 บุคลากรทางด้านผู้ผลิตฮาร์ดแวร์
นักออกแบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ศึกษาและวางแนวทางการผลิตคอมพิวเตอร์ โดยคำนึงถึงลักษณะและประสิทธิภาพการใช้งาน ให้เหมาะสมกับภาพของผู้ใช้ วิศวกรคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่แปลงแนวการออกแบบเป็นข้อกำหนดเครื่อง ออกแบบแผงจงจร การใช้ไอซี การใช้หน่วยความจำ และการทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ต่างๆ ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นเครื่องตามข้อกำหนดของวิศวกร และตรวจสอบการทำงานของเครื่อง ผู้สนับสนุนด้านการขาย มีหน้าที่สนับสนุนการขายเครื่อง ให้บริการติดตั้งเครื่อง ดูแลซ่อมแซม อบรมการใช้เครื่อง ทำเอกสารคู่มือ

99 บุคลากรผู้ผลิตซอฟต์แวร์
นักวิเคราะห์ระบบ มีหน้าที่ศึกษาความต้องการของผู้ใช้ นักออกแบบระบบ มีหน้าที่นำผลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้จากนักวิเคราะห์ระบบ มาทำการออกแบบระบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ นักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่นำระบบที่ได้รับการออกแบบจากนักออกแบบระบบ มาเขียนเป็นโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมให้ถูกต้องตามที่ต้องการ ผู้สนับสนุน ได้แก่ ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ นักเขียนคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ ผู้ให้การฝึกอบรมแนะนำการใช้ซอฟต์แวร์

100 บทสรุป การใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการศึกษาและการดำเนินการต่างๆ ในองค์กรมีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวันมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น การได้รับข้อมูลข่าวสารยังเป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เป็นการสร้างช่องทางเลือกในการดำเนินชีวิตของตนเองมากยิ่งขึ้น

101 บทสรุป ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน หรือการกระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะประสบผลสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับ ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่ วิธีการเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

102 บทสรุป วัตถุประสงค์ ความจำเป็นในการใช้งาน ความพร้อมของบุคลากร
วิธีการเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด วัตถุประสงค์ ความจำเป็นในการใช้งาน ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณในการดำเนินการและการดูแลรักษา

103 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการบริหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google