งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา

2 ศัพท์สำคัญ การวัด (measurement) หมายถึง การกำหนดปริมาณให้กับสิ่งที่ต้องการวัด ไม่ว่าจะเป็น วัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ โดยจะต้องมีความหมาย เป็นไปตามกฏเกณฑ์ ซึ่งการจะได้มาซึ่งปริมาณนั้น อาจต้องใช้เครื่องมือไปวัดเพื่อให้ได้ปริมาณที่สามารถแทนคุณลักษณะต่าง ๆ ของสิงที่ต้องการวัด การวัดผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. การวัดทางตรง เป็นการวัดคุณลักษณะที่ต้องการวัดได้โดยตรง เรียกอีกอย่างว่า การวัดด้านวิทยาศาสตร์ หรือการวัดทางกายภาพ 2. การวัดทางอ้อม เป็นการวัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ สิ่งที่วัดเป็นนามธรรม ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมองหรือพฤติกรรม

3 การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) 2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain) 2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain)

4 การทดสอบ (testing) หมายถึง เครื่องมือหรือสิ่งเร้าที่ไปเร้าให้ผู้ถูกทดสอบได้แสดงพฤติกรรมหรือความสามารถที่ต้องการออกมา ผลการทดสอบมักออกมาในรูปของคะแนน และคะแนนเป็นสิ่งที่แทนความสามารถของบุคคล ดังนั้นการทดสอบจึงควรจะมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือการทดสอบวัดที่มีคุณภาพ และต้องพยายามดำเนินการทดสอบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกทดสอบทุกคน ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน องค์ประกอบของการทดสอบมีดังนี้ 1. บุคคลที่ถูกทดสอบ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 3. การดำเนินการทดสอบ 4. ผลการทดสอบในรูปของคะแนนที่แทนความสามารถ ของผู้ถูกทดสอบ

5 การวัดผลการศึกษา (educational measurement) คือการสอบและการวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการศึกษา มักเกี่ยวข้องกับการวัดความสามารถ วัดผลสัมฤทธิ์ วัดคุณลักษณะของผู้เรียน วัดทักษะปฏิบัติต่าง ๆ ของผู้เรียน การประเมิน (assessment) มักนำมาใช้แทนการวัดทางการศึกษา เป็นคำที่ใช้แทนเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการวัดที่นอกเหนือจากการสอบแบบเดิม ซึ่งมีอยู่หลากหลาย เช่น การประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและอยู่ในการเรียนการสอน เป็นการวัดและประเมินตามสภาพแท้จริงของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

6 การประเมินทางเลือก (alternative assessment) เป็นการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการใช้ข้อสอบแบบเดิม รวมถึงการประเมินภาคปฏิบัติ การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น การประเมินภาคปฏิบัติ (performance-base assessment) เป็นแบบหนึ่งของการประเมินทางเลือก เป็นการประเมินเกี่ยวกับทักษะการแสดงออก การเคลื่อนไหวทางร่างกายและประสาทสัมผัส เช่น การสื่อสาร การเล่นเครื่องดนตรี การเล่นกีฬา เป็นต้น

7 การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำตัวเลขที่ได้จากการวัด (measurement) รวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาตัดสินผล (judgement) โดยการตัดสินนั้นอาจไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อปลาชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อปลาชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน เป็นต้น ประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม 2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์

8

9

10

11 การประเมินผลนั้นต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ
1) ผลการวัด (measurement) 2) เกณฑ์การพิจารณา (criteria) 3) การตัดสินใจ (judgement) การประเมินผลที่เที่ยงธรรม ย่อมมาจากการวัดผลที่ดี คือควรวัดด้วยเครื่องมือหลาย ๆ อย่าง อย่างละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ ข้อ นั่นคือการวัดซ้ำ 4 ครั้งด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกัน ย่อมดีกว่าการวัดเพียงครั้งเดียว หรือวัดด้วยข้อสอบ 20 ข้อย่อมดีกว่าวัดด้วยข้อสอบเพียง 5 ข้อ

12 ลักษณะและข้อจำกัดของการวัดผลการศึกษา
1. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม เพราะเป็นการวัดคุณลักษณะนามธรรมที่อยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง 2. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ คือไม่สามารถวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 3. ผลจากการวัดย่อมเกิดความคลาดเคลื่อนเสมอ คะแนนจากการวัด จึงเท่ากับความสามารถที่แท้จริงกับความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด เขียนเป็นสมการได้ว่า X = T + E เมื่อ X แทนคะแนนที่ได้จากการวัด T แทนความสามารถที่แท้จริง และ E แทนความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด

13 ระดับของผลการวัด 1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale)
2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) 3. ระดับช่วง (interval scale) 4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale)

14 หลักการวัดผลการศึกษา
การจะดำเนินการวัดผลสิ่งใด หรือในโอกาสใดก็ตาม ผู้วัดย่อมต้องการผลการวัดที่มีคุณภาพ เช่น ให้เชื่อถือได้ ให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อจะนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมั่นใจ การที่จะดำเนินการตามความต้องการดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่ดีสำหรับยึดถือเป็นแนวทางของการปฏิบัติ หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบสำคัญที่ถือว่าเป็นหลักของการวัดผลการศึกษา มีดังนี้

15 1. วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
1.1 ทำความเข้าใจคุณลักษณะที่ต้องการวัด 1.2 ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมถูกต้อง 1.3 วัดให้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม 2. ใช้เครื่องมือวัดผลที่หลากหลายและมีคุณภาพ

16 3. มีความยุติธรรม 3.1 เครื่องมือที่ใช้ - วัดครอบคลุมทุกเรื่องทุกแง่มุม - ไม่ควรให้ผู้เรียนเลือกตอบเพียงบางข้อได้ เช่น ออกข้อสอบ 6 ข้อให้เลือกทำ 3 ข้อ - ใช้ภาษาชัดเจน ไม่วกวน - คำถามไม่ควรตอบกันเอง เช่น ข้อหลัง ๆ แนะนำคำตอบของข้อแรก ๆ เป็นต้น - ควรใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน หากใช้ข้อสอบคนละชุดจะมีความยากง่ายแตกต่างกัน

17 3.2 การใช้เครื่องมือ - บอกใบ้คำตอบระหว่างที่มีการสอบวัด - ส่งเสียงรบกวนระหว่างที่ผู้สอบใช้ความคิด - ใช้เครื่องมือที่พิมพ์ผิดมาก ๆ ไม่มีคำตอบถูก หรือมีคำตอบถูกหลายตัว - ทำเฉลยผิด ตรวจผิด ให้คะแนนอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ 4. ประเมินผลได้ถูกต้อง

18 5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
- เด็กคนนี้มีความสามารถ เด่น – ด้อย ด้านไหน - เด็กงอกงามมากขึ้นเพียงใด - เครื่องมือที่ใช้มีคุณภาพอย่างไร

19 ขั้นตอนในการวัดผลการศึกษา
1. ขั้นวางแผน 1.1 กำหนดจุดมุ่งหมาย - สอบใคร เพื่อทราบระดับความยากง่ายที่เหมาะกับกลุ่มผู้สอบ - สอบไปทำไม เพื่อทราบชนิด/ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ - สอบอะไร เพื่อทราบสิ่งที่ต้องการวัด 1.2 กำหนดสิ่งที่จะวัด คือพยายามกำหนดว่าเนื้อหาใด คุณลักษณะหรือพฤติกรรมใดที่ต้องการสอบวัด แต่ละเนื้อหาและพฤติกรรมนั้น ๆ จะวัดมากน้อยเพียงใด

20 1.3 กำหนดเครื่องมือ การวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ต้องการนั้น ควรใช้เครื่องมืออะไรบ้าง จึงจะวัดได้ตรงตามความต้องการได้อย่างครบถ้วน - รูปแบบคำถามที่ใช้ - จำนวนข้อคำถามและเวลาที่ใช้ในการวัด - วิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ - ผู้รับผิดชอบในการสร้างเครื่องมือ - กำหนดเวลาในการสร้างเครื่องมือ - วิธีการที่จะให้ผู้เรียนตอบ - วิธีการตรวจให้คะแนน และการบันทึกผลคะแนน

21 2. ขั้นดำเนินการสร้างเครื่องมือ
2.1 เขียนข้อคำถาม 2.2 พิจารณาคัดเลือกข้อคำถาม 2.3 พิจารณาข้อคำถามทั้งหมดที่ใช้ 2.4 พิมพ์และอัดสำเนาเครื่องมือ 2.5 ทำเฉลย 2.6 จัดเตรียมเครื่องมือที่จะใช้

22 3. ขั้นใช้เครื่องมือ เป็นการนำเครื่องมือไปทดสอบกับผู้เรียน โดยต้องดำเนินการสอบให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้เข้าสอบทุกคน พยายามหลีกเลี่ยงการรบกวนเวลาในการคิดของผู้เรียน ควรชี้แจงวิธีคิดคำตอบ ชี้แจงวิธีการตอบ 4. ขั้นตรวจและใช้ผลการวัด 4.1 แปลงคำตอบของผู้เรียนให้เป็นคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วจดบันทึก 4.2 รวบรวมคะแนนของผู้เรียนที่ได้จากการวัดทุกชนิด ทุกระยะเพื่อนำไปใช้ในการประเมินผลและใช้ผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

23 5. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ นำผลการวัดมาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเป็นรายข้อและทั้งฉบับเพื่อใช้พิจารณาว่าข้อสอบนั้นมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ควรแก้ไขปรับปรุงในเรื่องใด รวมทั้งยังช่วยเก็บรวบรวมข้อสอบที่ดีเอาไว้ใช้ต่อไป

24 แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา
1. การประเมินที่เน้นการประเมินการปฏิบัติ (performance assessment) 2. การประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) 2.1 อะไรที่มีคุณค่าที่เรียนไปและควรได้รับการประเมินในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง 2.2 กำหนดแนวทางการประเมิน โดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย

25 3. การประเมินเน้นการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย (multiple method)
การใช้ข้อสอบอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ควรใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายที่เหมาะกับสิ่งที่ต้องการวัด เช่น การสังเกต การบันทึกเหตุการณ์ การเขียนอนุทิน การประเมินปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม การรายงานหน้าชั้น การใช้แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น

26 4. การประเมินต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ
- ประโยชน์ต่อผู้เรียน ประเมินเพื่อบอกว่าผู้เรียนทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ควรพัฒนา - ประโยชน์ต่อผู้สอน ช่วยปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน - ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง เห็นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน - ประโยชน์ต่อสถานศึกษา เป็นข้อมูลสำหรับสถานศึกษาในการจัดชั้นเรียนให้เรียนในโปรแกรมที่เหมาะสม การจัดโปรแกรมเสริม การให้คำแนะนำในการศึกษาต่อและอาชีพ

27 คุณธรรมของผู้ทำหน้าที่วัดผล
1. มีความยุติธรรม ในทุกขั้นตอนของการประเมินผล ตัดสินผลด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ลำเอียง 2. มีความซื่อสัตย์ ไม่บอกข้อสอบหรือขายข้อสอบ เปลี่ยนแปลงคะแนนโดยไม่ยึดหลักวิชา ฯ 3. มีความรับผิดชอบ ดำเนินการวัดและประเมินให้สำเร็จไปด้วยดี สร้างข้อสอบหรือส่งคะแนนทันตามกำหนดเวลา คุมสอบให้เป็นไปตามระเบียบ

28 4. มีความละเอียดรอบคอบ รอบคอบในการวัดและการตัดสินใจ ทำให้ผลการวัดผลเชื่อถือได้มากที่สุด ทั้งการออกข้อสอบ การตรวจ การทานคะแนน การรวมคะแนน การตัดเกรด 5. มีความอดทน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย เช่น ตรวจข้อสอบอัตนัยที่ใช้เวลามาก ตรวจแบบฝึกหัดทุกครั้ง ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ฯ 6. มีความสนใจใฝ่รู้ในหลักการวัดและประเมินผลใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางานและวิชาชีพของตนเอง


ดาวน์โหลด ppt แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google