งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2

3 การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย
การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

4 4.1 ลักษณะและโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย
ความหมาย เศรษฐกิจ หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต การผลิต รายได้ การจ้างงานและการประกอบอาชีพ การแลกเปลี่ยนซื้อขาย การบริโภคและการใช้จ่ายของรัฐบาลและเอกชน การนำเข้าและการส่งออกสินค้า และดุลการค้าและการชำระเงิน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา ซึ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ

5 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในกรณีแรก เป็นการพิจารณาถึงการขยายตัวสัดส่วนการผลิต และการจ้างงานของภาคการผลิตต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการผลิต ผลผลิตและสินค้าออก ในกรณีที่สอง พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราการง่างงาน ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลชำระเงินต่างประเทศ

6 1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง นโยบาย มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล และบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ความพร้อมของทรัพยากรในการพัฒนาภาคการผลิตต่าง ๆ และการเปิดประเทศของระบบเศรษฐกิจ

7 2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยจากต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ด้านการค้ากับต่างประเทศ การพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างประเทศ และการเรียนรู้ด้านการผลิตและการเลียนแบบในการใช้จ่ายจากต่างประเทศ

8 ระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์
เศรษฐกิจไทยมีอยู่ 2 ระบบ หรือที่เรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ “ทวิลักษณ์” (Dual Economics) ได้แก่ 1. เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม 2. เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โครงสร้างการผลิตของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคบริการได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานที่อพยพมาจากภาคเกษตรกรรม

9 1. เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม
ภาคเกษตรกรรมของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน จากเป้าหมายการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นผลิตเพื่อขายและส่งออก ผลผลิตมีความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงไม่ได้ดำเนินควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

10 2. เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม
การผลิตในระบบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสาขาหัตถกรรมได้เปลี่ยนไปเมื่อมีการเปิดประเทศ ในช่วงแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น แต่การผลิตในสาขาหัตถอุตสาหกรรมไม่ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานมากเท่าที่ควร มีการกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลางและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สำหรับโครงสร้างการผลิตด้านการบริการโดยทั่วไปมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่การบริการด้านการศึกษาและกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีบทบาทมากขึ้น พบว่าเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทำให้บริการด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การค้า รวมทั้งระบบการประกันสุขภาพมีอัตราลดลง

11 ลักษณะและปัญหาเศรษฐกิจไทย
1.การเงินการคลังและภารกิจระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นภาวะเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยในช่วงก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเกิดภาวะเงินเฟ้อจะมาจากปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ แต่หลังจากมีการใช้แผนพัฒนาฯ สาเหตุหลักมาจากต่างประเทศ คือการที่ราคาน้ำมันและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ภาวะเงินฝืด หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิต ทำให้สินค้าขาดแคลน ส่งผลให้เกิดการว่างงานในประเทศ

12 2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้าเกือบทุกปี แต่ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวเข้ามาชดเชย ในขณะที่ดุลบัญชีการชำระเงินมีการเกินดุลเกือบทุกปี เพราะจากการที่มีเงินลงทุนไหลจากต่างประเทศเข้ามามาก แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจมีเงินไหลออกนอกประเทศทำให้เกิดการขาดดุลชำระเงิน 3. ข้อจำกัดและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในระยะแรกของการพัฒนา สถานการณ์การว่างงานในประเทศไทยไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะเชื่อว่า เมื่อมีการพัฒนาให้มีการขยายตัว ปัญหาการว่างงานจะมีไม่มาก แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นมาก ปัญหาการว่างงานมีมากขึ้น และเมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

13 ความหลากหลายของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
การพัฒนาที่ผ่านมาเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยหวังว่า ผลของความเจริญจะกระจายไปยังคนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งล้มเหลว ในปัจจุบันการพัฒนาจึงมุ่งไปยังพื้นฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม การพัฒนาที่มุ่งให้ความสำคัญกับเมืองทำให้ชีวิตคนส่วนใหญ่ในท้องถิ่นถูกทอดทิ้ง ในปัจจุบันจึงต้องมุ่งพัฒนาชนบทบนพื้นฐานของความยั่งยืน การพัฒนาแนวนิเวศและการสร้างชุมชนสีเขียวมุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของมนุษย์

14 ปรัชญาการพัฒนาเปรียบเทียบ
ปรัชญาตะวันตก มองว่า มนุษย์แยกจากธรรมชาติ จึงมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด ขณะที่ปรัชญาตะวันออกมองว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จึงเคารพและให้ความยุติธรรมกับธรรมชาติ นิเวศวิทยาของชาวพุทธ สอนให้มนุษย์มองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และการพัฒนาอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การพัฒนาที่แท้ตามแนวทางของเต๋า มุ่งให้มนุษย์ค้นหาจิตสำนึกของตัวเองให้พบ ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาได้อย่างชัดเจน

15 แนวทางการพัฒนาและการเปรียบเทียบเชิงระบบ
การพัฒนาวิถีใหม่ เน้นความสำคัญจริยธรรมของการพัฒนากับความยั่งยืนด้านนิเวศ การพัฒนากระแสหลัก เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนการพัฒนากระแสทางเลือกเน้นความสำคัญของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิม เน้นการมองปัญหาการพัฒนาเพียงมิติเดียว โดยมุ่งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบใหม่เน้นการมองปัญหาการพัฒนาหลายมิติและเป็นองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน การพัฒนาแบบทุนนิยม เน้นการบริโภคและการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน ส่วนการพัฒนาแบบสังคมนิยมเน้นความยุติธรรมและความอยู่รอดของสังคม

16 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10
ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-2 ( ) มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คือ ถนน ไฟฟ้า และน้ำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3-4 ( ) เพิ่มการพัฒนาด้านสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ( ) มุ่งเน้นการพัฒนาชนบท ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6-7 ( ) มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

17 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (2540-2544) มุ่งเน้นการพัฒนาโดยใช้คนเป็นศูนย์กลาง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ( ) มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ( ) เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นการพัฒนาคนเพื่อให้มีความสุข โดยเน้น “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

18 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเมื่อปี พ.ศ.2540 โดยมุ่งหมายให้เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตในฐานะเศรษฐกิจทางเลือกแบบหนึ่งเพื่อให้ประเทศชาติล่วงพ้นจากสภาพวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น ดังนั้น วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการต่อสู้ ทางอุดมการณ์ระหว่างรูปแบบเศรษฐกิจที่มีความเป็นเฉพาะกับความ เป็นสากล หรือกระแสท้องถิ่นกับกระแสโลกาภิวัตน์

19 หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
มีผู้อธิบายว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1. กรอบแนวคิด 2. คุณลักษณะ 3. คำนิยาม 4. เงื่อนไข 5. แนวปฏิบัติ

20 กรอบแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา      

21 คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

22 คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ - ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ - การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

23 เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ •  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

24 แนวปฏิบัติ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

25 สรุปลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นเศรษฐกิจสำหรับคนทั้งมวล มีพื้นฐานอยู่ที่ความเข้มแข็งของชุมชน มีความเป็นบูรณาการ อยู่บนพื้นฐานความเข้มแข็งของตนเอง มีการจัดการและนวัตกรรมใหม่ ๆ

26 บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์และทฤษฎี
เศรษฐกิจพอเพียง บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์และทฤษฎี   ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

27

28 ประเด็นนำเสนอ ที่มาและฐานความคิด ข้อเสนอทางปรากฏการณ์ คำถามเชิงทฤษฎี

29

30 ที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความสำคัญของปรัชญา ปรัชญา ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการดำเนินชีวิต เพราะเป็นเรื่องของวิธีคิด และจิตสำนึกของผู้คน ทุกปรัชญา ไม่เฉพาะแต่ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2517 ในพระราชวังสวนจิตรลดา และมาสำแดงพลังอย่างเต็มที่ ในปี พ.ศ.2540 เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และสังคมไทยเริ่มตั้งถามว่า เราจะหาทางออกจากวิกฤตินั้นอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นศัพท์ประดิษฐ์ ที่เรียกว่า “ประดิษฐกรรมทางภาษา” จึงเป็นที่ชัดเจนว่า เศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ “ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น”

31 เศรษฐกิจพอเพียง : ปมปัญหาระหว่างความรู้ กับความไม่รู้
หลังปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้สังคมตกอยู่ในภาวะ “วิกฤติทางพาราไดม์” ว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปพันกันกับบริบททางการเมืองขณะนั้นอย่างแนบแน่น วิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศัพท์ประดิษฐ์ ที่เรียกว่า “ประดิษฐกรรมทางภาษา” ในมุมนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็น ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น แฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ นักสัญวิทนาชาวสวิส เสนอว่า ในโครงสร้างของภาษามีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ รูปภาษา กับความหมายภาษา การให้ความหมายภาษาจึงเกิดจากการตีความ ในกรณีดังกล่าว จึงดูเหมือนว่าเรากำลังถูก “ล้อมกรอบ” ด้วย “กรงดัก” ทางภาษา เมื่อติดอยู่ในรูปแบบของภาษาจึงทำให้เกิดความสับสน และเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งในการทำความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของภาษา

32 หากในหลวงท่านเปลี่ยนไปใช้คำว่า เศรษฐกิจแบบศีลธรรม (Moral Economy) หรือ เศรษฐกิจแบบจิตสำนึก (Conciousness Economy) หรือคำอื่น อาจตรงกับเจตนารมณ์ที่ต้องการจะ “สื่อ” ได้มากกว่านี้ หรือว่า เป็นความผิดพลาดของการสร้างวาทกรรม โดยเฉพาะมีคำว่า “เศรษฐกิจ” คนจึงมองว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ยิ่งคำว่า “พอเพียง” ซึ่งเป็นคำที่ไม่สามารถบอกเกณฑ์หรือมาตรฐานได้ชัดว่าคืออะไร ยิ่งก่อให้เกิดการตีความอย่างกว้างขวาง เรียกได้ว่า เป็นความสับสนทางทฤษฎี สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียง คือเศรษฐกิจที่เป็นอิสระ และสามารถปลดปล่อยตัวเองได้จากโลกาภิวัตน์

33 เศรษฐกิจพอเพียง : บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ “พื้นที่” ที่ภาคใต้เศรษฐกิจพอเพียง “ไม่เวิร์ค” เพราะคนใต้เขาโดยสารรถไฟระหว่างประเทศ ไม่ใช่รถไฟระหว่างเมือง หรือระหว่างหมู่บ้าน เขาเชื่อว่า โซ่ของการผลิต ถูกจัดตั้งจากต่างประเทศ ที่อีสาน เศรษฐกิจพอเพียง “ทำได้” เพราะคนที่อยู่ในชุมชนเป็นคนที่ปลดเกษียณแล้วในตลาดแรงงาน ถ้ามีจิตสำนึกก็สร้างกลุ่ม โครงการที่ประสบความสำเร็จ เป็นความเก่งเฉพาะครัวเรือน ไม่ใช่กระจายไปทุกที่ และอาจเกิดจากเงื่อนไขหรือศักยภาพอย่างอื่น มากกว่าการตอบสนองทางอุดมการณ์ ส่วนที่ล้มเหลวก็ไม่ใช่เป็นเพราะพฤติกรรมไม่สามารถบรรลุตามคำอธิบายเชิงทฤษฎี แต่เป็นเพราะแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาวบ้านในตัวของมันเองมีแรงเฉื่อย และถูก ”แรงต้าน” จากตลาด ที่ “แข็งแกร่ง เฉยชา และไร้จิตสำนึก” การผลิตซ้ำวาทกรรม “ประชานิยม” ของภาคการเมือง ภายหลังจาก คมช. ทำการโค่นล้มอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมุ่งทำลายระบอบเศรษฐกิจแบบ “ทักษิโณมิกส์” จนกระทั่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกพรรคการเมืองต่างผลิตซ้ำวาทกรรม “ประชานิยม” เป็นหลัก ปรากฏการณ์ดังกล่าว น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า 1. ภาคการเมืองขาดความเชื่อมั่นในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. รู้ว่าแนวคิดประชานิยมสามารถดึงมวลชนรากหญ้ามาเป็นพวกได้มากกว่า 3. เป็นการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจ โดยนัยดังกล่าว เศรษฐกิจพอเพียงในความหมายของภาคการเมือง จึงเป็นเพียง “ไม้ประดับของโลกาภิวัตน์” หรือเหมือนมวยคู่ก่อนเวลา เพื่อรอ “มืออาชีพ” เข้ามาจัดการแบบเบ็ดเสร็จ

34 เศรษฐกิจพอเพียง : บทวิพากษ์ทางทฤษฎี
ผู้เสนอคิดว่า ขณะนี้เรากำลังยืนอยู่บนเยื่อบาง ๆ ของ 2 สิ่ง ระหว่างสิ่งที่เป็น 1. วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง 2. การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ประเด็นที่หนึ่ง วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง วาทกรรม หมายถึง การต่อสู้ทางความคิดที่อยู่ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ผู้ที่อยู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมีหลายกลุ่ม ได้แก่ ราชสำนัก รัฐบาล ระบบราชการ ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อสารมวลชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองท้องถิ่น และชาวบ้าน ในหลวง นำเสนอวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะปรัชญาในการดำเนินชีวิต รัฐ ตีความและแปรรูปปรัชญามาผลักดันนโยบาย ระบบราชการ นำนโยบายมาปฏิบัติ ข้าราชการ ทำงานตามคำสั่งของหนังสือสั่งการ ใช้แบบแผนปฏิบัติแบบจารีต องค์กรพัฒนาเอกชน จัดตั้งเครือข่ายในกลุ่มชาวบ้านระดับรากหญ้า นักวิชาการ ทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วิพากษ์ เพื่อชี้นำสังคม นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างภาพกับทุนนิยม องค์กรปกครองท้องถิ่น ใช้ปรัชญาสร้างกิจกรรมดึงหัวคะแนน ชาวบ้าน ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการวาทกรรมจากทุกกลุ่ม โดยสรุป กลุ่มต่าง ๆ มีส่วนในวาทกรรมคนละอย่าง มีคนได้ประโยชน์จากวาทกรรม และมีคนเสียเปรียบ จากวาทกรรม ที่สำคัญคือ บางกลุ่มไม่เชื่อในสิ่งที่ทำ และบางกลุ่มไม่เชื่อในสิ่งที่พูด

35 ประเด็นที่สอง การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
ประเด็นที่สอง การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” มีคนจำนวนไม่น้อยตีความว่า รูปแบบเศรษฐกิจที่เกิดก่อน “ทุนนิยมเสรี” หรือที่ “ไมใช่ทุนนิยม” คือ เศรษฐกิจพอเพียง มีคำถามว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีจริงหรือไม่ ? ถ้ามี แล้วเป็นแบบไหน? คำถามมีว่า ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงที่เราพูดถึงมีจริงในอดีต - ทำไมพระพุทธเจ้า จึงเชื่อว่า ข้างหน้ามียุคพระศรีอาริย์ - ทำไม Plato จึงใฝ่ฝันถึง The Republic State - ทำไม Karl Marx จึงถามหาสังคม Utopia ถามว่า ถ้าความพอเพียงมีอยู่จริง ทำไมคนในอดีตต้องโหยหา สังคมในอุดมคติ (Imaged Society) ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บอกเราว่า โลกในยุคอดีตก็ไม่ได้มีความสมดุล เช่น มีโรคระบาด มีการอพยพของผู้คนเพื่อหนีภาวะข้าวยากหมากแพง โจรผู้ร้าย ภาวะสงคราม การแย่งชิงดินแดน การล่าอาณานิคม เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพที่ต้องดิ้นรนในอดีต พาราไดม์เกี่ยวกับความยากจนมี 2 แบบ คือ กลุ่มแรก เชื่อว่า ความยากจนเป็นพันธุกรรม กลุ่มที่สอง เชื่อว่า ความยากจนเป็นนวัตกรรม ถามว่า ในสังคมไทยเชื่อแบบไหน ?

36

37

38 เศรษฐกิจพอเพียงแบบภูฏาน Sufficiency Economy in Puthan
ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

39 ปรัชญาตะวันออก การพัฒนา คือ การทำให้รกรุงรัง พุทธทาสภิกขุ
การพัฒนา คือ การทำให้รกรุงรัง พุทธทาสภิกขุ “ความสุขของประชาชาติ สำคัญกว่าผลผลิตของประชาชาติ” Jigme Singye Wangchuck กษัตริย์แห่งภูฐาน Gross National Happiness = GNH Gross National Product = GNP

40 เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข
ไม่มีความสุขในเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก การพัฒนาแบบตะวันตก / หรือใช้ทฤษฎีตะวันตก ที่มีโลกทัศน์แบบตะวันตก เกิดท่ามกลางบรรยากาศของ : - โลภ - โกรธ - หลง - กลัว การพัฒนาแบบตะวันตกจึงไม่สามารถก่อให้เกิดความสุขได้

41 เศรษฐศาสตร์ตะวันออก จุดมุ่งหมายหลัก :
- ไม่ใช่แสวงหาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ - แสวงหาความสุข “maximization of happiness”

42 ไม่มีความสุขในทุนนิยม
ทุนนิยมแบบอเมริกัน เน้นเรื่องตลาดเสรี การแข่งขันทางธุรกิจ การแสวงหาประสิทธิภาพ และกำไรสูงสุด การแสวงหาความก้าวหน้า ความร่ำรวย ความเจริญ ลัทธิบริโภคนิยม ชีวิตแบบนี้ “ไม่มีความสุข” ทุนนิยม รัฐ สวัสดิการ แบบยุโรปตะวันตก มีแนวทางคล้ายกัน แต่มีพื้นที่มากกว่าในการใฝ่ฝันถึง “ความสุข”

43 อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์ทุนนิยม สร้างความเพ้อฝัน ว่า
มีเงินทองมาก ๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น สะสมวัตถุสิ่งของให้มาก ๆ นั่นคือ ความสุข นักเศรษฐศาสตร์แนวจิตวิทยา D. KAHNEMAN (รางวัลโนเบล ปี 2002) บอกว่า การมีวัตถุสิ่งของรายได้มากขึ้น ไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุข แต่ลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ก็ยังคงเป็นความใฝ่ฝันของโลกตะวันตกต่อไป

44 ข้อสงสัย บางคนตั้งข้อสังเกตว่า ในประเทศไทยเราเป็นสังคมของชาวพุทธ
แต่ทำไมคนไทยจึงถูกครอบงำอย่างง่ายดายจากอุดมการณ์ทุนนิยม ซึ่งเน้นเรื่องความเจริญ และการสะสมวัตถุสิ่งของ ? พุทธศาสนาตอบได้ไหม – จากการท้าทายของค่านิยมที่มาจากตะวันตกในยุคโลกาภิวัตน์ ?

45 อุดมการณ์ทุนนิยมกับการพัฒนา
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คน คือ แรงงาน / ผู้ใช้แรงงาน / คนทำงาน คนต้องสร้างความเจริญให้แก่ระบบ คนเป็นปัจจัยการผลิต มีหน้าที่รับใช้ระบบ คนแบบทุนนิยม จึงเป็นคนที่รับใช้ระบบทุนนิยม ชีวิตแบบนี้เต็มไปด้วยการทำงาน การแข่งขันและความตึงเครียดในจิตใจ เป็นชีวิตที่ไร้ความสุข เป็นเศรษฐกิจแบบ joyless economy

46 การพัฒนา – เพื่อใคร ? แบบตะวันตก : คนต้องรับใช้การพัฒนา แบบตะวันออก : การพัฒนาต้องรับใช้คน - จุดมุ่งหมายของการพัฒนา คือ คน ประชาชน ต้องเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

47

48

49

50

51 พุทธปรัชญา เพื่อนำความสุขกลับคืนมา การพัฒนาแบบตะวันออก ต้องมี “เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ” เป็นพื้นฐาน (Buddhist Economics) จริยศาสตร์แนวพุทธ และจักรวาลวิทยาแนวพุทธ ชี้ทางไว้ว่า ความสุขของคนเรา เกิดจากดุลภาพ ระหว่าง วัตถุ กับ จิตวิญญาณ : สุขกาย สบายใจ จิตผ่องใส

52 ความหลากหลายของความเชื่อ
สำหรับชุมชนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ความเชื่อในศาสนาอื่น ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ ฮินดู ก็เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนา เพื่อความสุขเช่นกัน เต๋าแห่งความสุข : อยู่อย่างเต๋า อยู่กับธรรมชาติ

53

54

55

56 นิพพานบนภูเขาหิมาลัย
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธในภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่มีการนำมาประยุกต์ใช้ ในระดับจุลภาค / ระดับชุมชน/ ระดับโครงการ ตัวอย่างที่สำคัญ : สันติอโศกในไทย สรรโวธัยในศรีลังกา ในระดับชาติ มีแห่งเดียวเท่านั้นในโลก : ประเทศภูฐาน ใช้เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ (มหายาน) เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาประเทศระดับมหภาค จุดมุ่งหมายเบื้องต้น : เพื่อสร้างสังคมที่มีความเจริญ ทั้งวัตถุ และจิตวิญญาณ จุดมุ่งหมายสุดท้าย : เพื่อพระนิพพานบนภูฐาน ?

57 หลักการพื้นฐานของการพัฒนา
ประตู สัจจธรรม แนวทาง ใจ – ความว่าง สัจธรรมสมบูรณ์ : พัฒนาจิต ปัญญา (หญิง) วจี – พลัง สัจธรรมสัมพัทธ์ : สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส เมตตา / กรุณา , และการมีส่วนร่วม กาย – กรรม ปฏิบัติ (ชาย) ดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน หลักการพัฒนาเหล่านี้ ได้มาจาก คำสอนของปรัชญามหายาน

58

59 หลักการบริหารจัดการ 8 ข้อ
กลุ่มนักปรัชญาชาวภูฐาน เชื่อว่า ประชาชนจะมีความสุขได้ จะต้องมี การบริหารจัดการ โดยใช้หลักการ 8 ข้อ (พัฒนามาจาก “มรรคมีองค์แปด”) - การพัฒนาจิต - การพิทักษ์ปกป้องธรรมชาติ - การส่งเสริมความคิด - การสร้างความยุติธรรม และ ที่เป็นอิสระ ธรรมาภิบาล - การอนุรักษ์วัฒนธรรม - การพัฒนาการศึกษา - การพัฒนาเศรษฐกิจ - การพัฒนาปัจจัย พื้นฐาน ที่มีความสมดุล สำหรับการดำรงชีวิต หลักการทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องทำพร้อมกัน ปัญหาคือ จะทำอะไร ? เมื่อไร ? ภาพรวมคือ ต้องทำให้ครบ 8 หลักการ

60

61 คัมภีร์เล่มใหม่ ดูเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง GNH
(Gross National Happiness) รวบรวมแนวคิด การพัฒนาบนพื้นฐานของพุทธปรัชญาแนวมหายาน Centre for Bhutan Studies (Thimphu) เอกสารสัมมนาระดับนานาชาติ 2 ครั้ง 2004 – 5 เกี่ยวกับแนวคิด GNH

62 ความขัดแย้งทางความคิด
หลายทศวรรษที่ผ่านมา ทางการภูฐานได้ริเริ่มสร้างแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ “ความสุข” ช่วงนั้น มีการเน้นหลักการ “พึ่งตนเอง” อย่างมาก ในปัจจุบัน หลักการนี้ได้หายไป หลักการการพัฒนา (ทางการ) มีอยู่ 4 ข้อเท่านั้น - ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ที่ยั่งยืนและเป็นธรรม - อนุรักษ์วัฒนธรรมภูฐาน - พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม - สร้างระบบธรรมาภิบาล นี่คือ เสาหลัก 4 ต้นของ GNH

63

64

65 บางอย่างที่หายไป นอกจากหลักการ “พึ่งตนเอง” แล้ว เสาหลัก 4 ต้น ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณ และการส่งเสริมทางด้านจิตใจ มีแนวโน้มว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ ภูฐานอาจหลงเข้าไปในกระแส “การพัฒนา” แบบสมัยใหม่ที่เน้นความเจริญทางวัตถุ ในแนวคิดของภูฐานไม่มีมิติทางการเมือง

66 มิติทางการเมือง การเมือง ทำให้คนไม่มีความสุข เพราะศักยภาพการดำรงชีวิตถูกบั่นทอนอย่างรุนแรง ภายใต้โครงสร้างอำนาจที่ครอบงำ โลกทัศน์ตะวันออก ต้องให้ความสนใจแก่มิติทางการเมือง เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยความสุข ต้องไม่ละเลยมิติการเมือง

67 *วัฒนธรรมการเมือง *ผลประโยชน์
การเมือง กับ ความสุข * โครงสร้างอำนาจ *วัฒนธรรมการเมือง *ผลประโยชน์ * ในแนวคิดของเศรษฐกิจการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจอภิสิทธิ์ อิทธิพล ความขัดแย้ง การต่อสู้ การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงสังคม การเมืองเป็นเรื่องของประชาชนคนเดินดิน ความสุข

68 เส้นทางของการวิเคราะห์แนวใหม่
เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก ควรหันไปศึกษา แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการต่อต้านทฤษฎีการพัฒนาที่มาจาก ทุนนิยมของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดที่เรียกว่า POST – DEVELOPMENT = ก้าวข้ามพ้นการพัฒนา แนวนี้ให้ความสำคัญแก่วิธีการวิเคราะห์ “วาทกรรมการพัฒนา” (development discourses)

69 บทสรุป “เราไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยการใช้วิถีคิดแบบเก่า ๆ ที่เป็นต้นตอในการสร้างปัญหาเหล่านี้” วาทะของ ALBERT EINSTEIN ระลึกถึง 2005 : ฉลอง 100 ปี EINSTEIN

70

71 END


ดาวน์โหลด ppt การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย การบรรยายบทที่ 4 เศรษฐกิจไทย ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google