งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 9 แอนิเมชั่น Animation อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 9 แอนิเมชั่น Animation อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 9 แอนิเมชั่น Animation อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล
อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

2 ทำความรู้จักกับแอนิเมชั่น
แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง “การสร้างภาพเคลื่อนไหว” ด้วยการเรียงลำดับกัน และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดวงตาเห็นเป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision)

3 ความเป็นมาของแอนิเมชั่น
John Marey และ Edward Muybridge ได้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวของวัตถุ และนำมาใช้เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของม้า ต่อมา Thomas Edison ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ ที่เรียกว่า “Kinetograph” เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพได้ถึง 10 ภาพต่อวินาที

4 Keyframe และ Tweening การสร้างแอนิเมชันในยุคเริ่มต้น ผู้สร้างจะวาดภาพสำคัญลงบนเฟรมเรียกว่า คีย์เฟรม (Keyframe) และกระบวนการวาดเฟรมที่อยู่ระหว่างคีย์เฟรมนี้ว่า ทวีนนิ่ง (Tweening) โปรแกรม Adobe Flash นำหลักการนี้ไปใช้ในการสร้างแอนิเมชั่น โดยแอนิเมชั่นจะกำหนดคีย์เฟรมเริ่มต้นและคีย์เฟรมสุดท้าย จากนั้นปล่อยให้โปรแกรมสร้างการเคลื่อนไหวให้กับออบเจ็กต์ที่อยู่ระหว่างคีย์เฟรมทั้งสอง โดยอัตโนมัติ

5 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานแอนิเมชั่น
โปรแกรม Adobe Flash สามารถแบ่งการเคลื่อนไหวได้ดังนี้ - Frame by Frame เป็นการนำภาพมาใส่ไว้ในแต่ละเฟรมแล้วทำการกำหนดคีย์เฟรม หรือเฟรมที่ถูกกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเพื่อสร้างการเคลื่อนไหว - Tween Animation การกำหนดคีย์เฟรมเริ่มต้นและคีย์เฟรมสุดท้าย จากนั้นปล่อยให้โปรแกรมสร้างความเปลี่ยนแปลงระหว่างเฟรมโดยอัตโนมัติ แบ่งเป็น 2 แบบคือ - Motion Tween - Shape Tween

6 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานแอนิเมชั่น
1. Motion Tween หรือ Motion Path เป็นการสร้างการเคลื่อนไหวที่กำหนดการเคลื่อนที่ หมุน ย่อ หรือขยายวัตถุไปตามเส้นที่วาดไว้ โดยที่รูปทรงของวัตถุไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเป็นรูปแบบการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่นิยมมากที่สุด 2. Shape Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ จากรูปทรงหนึ่งไปเป็นอีกรูปทรงหนึ่ง โดยสามารถกำหนดตำแหน่ง ขนาด และทิศทาง และสีของวัตถุในแต่ละช่วงเวลาได้ตามต้องการ

7 วิธีการสร้างแอนิเมชั่น
- Action Script เป็นภาษาที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบและสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ โดย Action Script จะถูกนำมาใช้เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า เหตุการณ์ (Event)

8 เทคนิคในการสร้างแอนิเมชั่น
- Cel Animation เป็นการใช้แผ่นใส (Celluloid) สำหรับ วาดภาพในแต่ละเฟรม ซึ่งในปัจจุบัน เปลี่ยนมาเป็นแผ่นพลาสติก (Acetate) แทนแล้ว - Computer Animation ใช้หลักการเช่นเดียวกับ Cel Animation โดยสร้างภาพให้เป็นเฟรมที่มีลักษณะแตกต่างกัน จากนั้นจึงกำหนดคีย์เฟรมโดยใช้เทคนิค Tween ซึ่งความสามารถในการแสดงผลก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์

9 เทคนิคในการสร้างแอนิเมชั่น
นอกจากนี้ยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์จำลองส่วนต่างๆ ของร่างกาย สำหรับช่วยในการศึกษาลักษณะการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ดังนี้ - Kinematic เน้นการเรียนรู้ลักษณะ กิริยาท่าทาง และการเคลื่อนไหวของโครงสร้าง ส่วนที่มีการเชื่อมต่อกัน เช่นท่าทาง การเดินของมนุษย์

10 เทคนิคในการสร้างแอนิเมชั่น
- Morphing เป็นเทคนิคพิเศษที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงภาพให้กลายเป็นวัตถุชนิดอื่น ที่แตกต่างกันออกไป

11 แอนิเมชั่น 2 มิติและ 3 มิติ
แอนิเมชั่นที่ที่รู้จักกันดีในอดีตจะมีลักษณะ 2 มิติ เช่นภาพยนตร์การ์ตูนต่างๆ ส่วนในปัจจุบันสามารถสร้างแอนิเมชั่น 2 มิติได้โดยใช้โปรแกรม Adobe Flash นอกจากแอนิเมชั่น 2 มิติแล้ว การสร้างแอนิเมชั่น 3 มิติก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก เช่นการทำให้สัญลักษณ์ต่างๆ เคลื่อนไหว หรือการสร้างสื่อโฆษณา มิวสิควิดีโอ ภาพยนตร์ ในปัจจุบันมีการสร้างแอนิเมชั่น 3 มิติให้มีความใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด เพื่อใช้ในการสร้างสภาวะที่เหมือนจริงที่เรียกว่า VR (Virtual Reality)

12 รูปแบบของไฟล์แอนิเมชั่น
.MNG สามารถใช้งานกับเบราเซอร์ต่างๆได้หลากหลาย .MAX เป็นไฟล์สร้างจากโปรแกรม 3D Studio Max ได้รับความนิยมมาก เหมาะสำหรับทำงานบน Windows สามารถแก้ไขคุณสมบัติต่างๆ ของอ็อบเจกต์ได้ .FLC/FLI เป็นไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Autodesk , Animator Studio, 3D แสดงผลได้ 256 สี .ANI เป็นไฟล์ภาพที่ใช้กับงาน Animated Cursor บนแพล็ตฟอร์มของ Windows ซึ่งจะเก็บองค์ประกอบต่างๆ แบบแยกเฟรม .SWF เป็นไฟล์ที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Adobe Flash สามารถเล่นไฟล์ได้ ด้วย Flash player นิยมไปใช้กับงานเว็บไซต์เพราะมีขนาดเล็ก .GIF ไฟล์มีขนาดเล็ก ประหยัดพื้นที่ เหมาะสำหรับงานบนเว็บไซต์

13 ซอฟต์แวร์สำหรับงานแอนิเมชั่น
- Macromedia Flash - Gif Animator - Swish - Moho - TrueSpace - Xara X - Etc.

14 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานแอนิเมชั่น
- งานภาพยนตร์และโทรทัศน์ - งานพัฒนาเกม - งานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง - งานด้านวิทยาศาสตร์ - งานพัฒนาเว็บไซต์


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 9 แอนิเมชั่น Animation อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google