งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
PUBLIC PARTICIPATION IN INENVIRONMENTAL IMPACT ASSESSMENT ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม ภาควิชาอนุรักษวิทยาคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบพระคุณ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2 แหล่งข้อมูล :- http://www.onep.go.th/eia/page2/Index_EIA.html

3 หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กล่าวถึงสิทธิของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 46 รับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอัน ดีของท้องถิ่นและของชาติ และการมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาตรา 56 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้กำหนดว่าการ ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 58 ซึ่งระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้ เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 59 ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะรับรู้ข้อมูลและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการที่อาจมี ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต มาตรา 290 ซึ่งกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และนอกเขตพื้นที่ในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการมี ส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือ กิจกรรมนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ สุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่

4 มาตรา 46 รับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟู
มาตรา 46 รับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟู จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอัน ดีของ ท้องถิ่นและของชาติ และการมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุง รักษาและ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาตรา 56 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการ บำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้กำหนดว่าการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผล กระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่ จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการ ดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

5 มาตรา 58 ซึ่งระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสาร
มาตรา 58 ซึ่งระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสาร สาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความ คุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 59 ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะรับรู้ข้อมูลและมีสิทธิแสดงความ คิดเห็นก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต มาตรา 290 ซึ่งกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน พื้นที่และนอกเขตพื้นที่ในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่ม โครงการหรือกิจกรรมนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่

6 การมีส่วนร่วมของประชาชนใน EIA (Public Participation in EIA)
ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมคือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือก และการตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเข้าร่วมในกระบวนการนี้ตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการรับรู้-เรียนรู้ การปรับเปลี่ยนโครงการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปะเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Participation in EIA : PP) เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นนำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

7 ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1. การมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่โครงการ/ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการว่าโครงการมีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร ที่ตั้งโครงการอยู่ที่ไหน เป็นต้น 2. การมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่โครงการ/ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับทราบว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง ใครที่ได้รับผลกระทบ ได้รับผลกระทบในลักษณะใด และมีมาตรการในการแก้ไขหรือลดผลกระทบอย่างไร 3. การมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่โครงการ/ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถที่จะแสดงข้อมูล ข้อโต้แย้งต่อแนวทางขอบเขตการศึกษาผลกระทบและรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4. การมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างความเข้าใจ ลดหรือขจัดข้อขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการ เพราะประชาชนสามารถรับทราบข้อมูล แสดงความคิดเห็น ทัศนคติข้อโต้แย้งต่อโครงการได้ในทุกขึ้นตอนของการจัดทำรายงาน EIA โดยสามารถกระทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเขียนจดหมาย การเข้าร่วมประชุม การให้ข้อคิดเห็นผ่านตัวแทน 5. การมีส่วนร่วมทำให้ได้ทราบข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของประชาชน ทำให้ได้รับข้อมูลรอบด้าน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการต้องกระทำอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น

8 ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1) เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ ช่วยให้เกิดการพิจารณาทางเลือกใหม่ในการตัดสินใจให้รอบคอบขึ้น 2) การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เมื่อการตัดสินใจนั้นได้รับการยอมรับ จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่าง การนำไปปฏิบัติ 3) การสร้างฉันทามติ ลดความขัดแย้งทางการเมืองและเกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจของรัฐ 4) การเพิ่มความง่ายในการนำไปปฏิบัติ สร้างให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีความกระตือรือร้นใน การช่วยให้เกิดผลในทางปฏิบัติ 5) การมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นสามารถลดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งที่รุนแรงได้ 6) ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชนและไวต่อความรู้สึกห่วงกังวลของประชาชน และเกิดความตระหนักในการตอบสนองต่อความห่วงกังวลของประชาชน เป็นต้น

9 ขั้นตอนการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วม
- จำแนกหัวข้อด้านสังคมและการมีส่วนร่วม - จำแนกผู้มีส่วนได้เสีย - จัดทำแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน กรอบการมีส่วนร่วม และกิจกรรมที่จะดำเนินงาน ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย - ให้ข้อมูลกับสาธารณะ - ดำเนินการปรึกษาหารือ โดยดำเนินการร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตลอดกระบวนการ - จัดทำแผนการติดตามผลอย่างมีส่วนร่วม

10 การจำแนกผู้มีส่วนร่วม
ผู้มีส่วนร่วมแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ 1. ผู้รับผลกระทบ กลุ่มผู้เสียประโยชน์ (Victims) เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการในด้านลบ เช่น เป็นผู้สูญเสียที่ทำกิน กลุ่มนี้จะต้องเป็นกลุ่มที่ได้รับน้ำหนักมากที่สุดในการศึกษาผลกระทบและการจัดการการมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ได้ประโยชน์ (Beneficiaries) เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการในด้านบวก เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์กระแสไฟฟ้าจากการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมายของเขื่อนเพื่อการชลประทาน เนื่องจากกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์ จึงอาจถือได้ว่าประโยชน์ของกลุ่มนี้ได้รับการพิทักษ์และนำเสนอโดยเจ้าของโครงการแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมให้เป็นพิเศษกว่ากลุ่มอื่น ๆ

11 การจำแนกผู้มีส่วนร่วม (ต่อ)
การจำแนกผู้มีส่วนร่วม (ต่อ) 2. หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หมายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน EIA ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 ได้แก่ เจ้าของโครงการ ในที่นี้อาจหมายถึงหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยเอกชน บริษัทที่ปรึกษา ในที่นี้หมายรวมถึงมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนไว้กับทาง ส.ผ. 3. หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติรายงาน EIA กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส.ผ. ผู้ชำนาญการ หรือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หน่วยงานที่มีหน้าที่ตัดสินใจอนุมัติโครงการ เช่น คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรี และหน่วยงานที่มีอำนาจออกใบอนุญาตต่าง ๆ 4. หน่วยงานราชการในระดับต่าง ๆ หมายถึงหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ หน่วยงานบริหารและพัฒนาในพื้นที่

12 การจำแนกผู้มีส่วนร่วม (ต่อ)
การจำแนกผู้มีส่วนร่วม (ต่อ) 5. องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการอิสระ กลุ่มองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม (ENGO) เป็นองค์กรที่ได้จดทะเบียนกับทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรมแห่งประเทศไทย องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) : กลุ่มหรือองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ สถาบันการศึกษา : สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น หรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการอิสระ หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และนักวิชาการจากภายนอก 6. สื่อมวลชน หมายถึง สื่อในแขนงต่าง ๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง ซึ่งมีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ ผลกระทบของโครงการและความก้าวหน้าในการจัดทำรายงาน EIA 7. ประชาชนทั่วไป หมายถึง “สาธารณชน” ที่มีความต้องการและสนใจในโครงการ จะมีบทบาทในฐานะผู้สังเกตการณ์ พยานร่วมรับฟังข้อมูล

13 แนวทางการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมให้ประสบผลสำเร็จ
1. หลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน (หลัก 4 S) คือ 1.1 Starting Early (การเริ่มต้นเร็ว) ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก มีการให้ข้อมูล กระตุ้นให้เกิดความคิดเห็น และให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการตัดสินใจ นอกจากนี้ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งแต่ต้น มีประโยชน์ช่วยให้ประชาชนมีเวลาคิดถึงทางเลือกหรือแนวทางแก้ปัญหาของชุมชนที่เหมาะสมมากขึ้น และเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการ Stakeholders (ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง) ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียควรมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม แต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอาจถือว่าต้องรับฟังข้อมูลหรือปรึกษาหารือเป็นอันดับแรกๆ Sincerity (ความจริงใจ) หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือผู้มีอำนาจอนุมัติต้องจัดกระบวนการอย่างจริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ และมีการสื่อสารสองทางอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ตอบสนองต่อความสงสัยของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งแจ้งความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงของโครงการอย่างต่อเนื่อง 1.4 Suitability (วิธีการที่เหมาะสม) โดยพิจารณาจากประเภทและขนาดของโครงการ ความหลากหลายและลักษณะที่แตกต่างกันของพื้นที่และของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนความแตกต่างด้านวัฒนธรรม สังคม และค่านิยม ระดับความสนใจของชุมชนในประเด็นหรือโครงการ ความสามารถและความพร้อม รวมทั้งข้อจำกัดของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน, 2546

14 แนวทางการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมให้ประสบผลสำเร็จ
2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีประสิทธิภาพควรมีการวางแผน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 2.1 ขั้นเตรียมการ ต้องกำหนดทีมงานหรือผู้รับผิดชอบ ตรวจสอบสถานการณ์ภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตัดสินใจ เช่น ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการจัดกิจกรรม งบประมาณ เป็นต้น และประเมินสถานการณ์สาธารณะ เช่น กำหนดระดับความสนใจของสาธารณะหรือชุมชนในประเด็นที่ต้องตัดสินใจ ขั้นการวางแผน จากข้อมูลต่างๆ ในขั้นการเตรียมการ ทีมงานต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดผู้มีส่วนได้เสีย และวิเคราะห์ความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ตลอดจนนำมาเขียนแผนการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความชัดเจนและก่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานงาน ขั้นนำไปสู่การปฏิบัติ หลังจากมีแผนการมีส่วนร่วม ต่อไปคือการดำเนินการตามแผน ซึ่งต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละกิจกรรมการมีส่วนร่วม เช่น การจัดเวทีสาธารณะต้องตัดสินใจว่าจะจัดที่ใด ใครเป็นวิทยากร เป็นต้น คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน, 2546

15 IEE* ร่าง TOR TOR การจัดทำ EIA ร่างรายงาน EIA EIA
ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม IEE* รับทราบและแสดงความคิดเห็นด้วยลายลักษณ์อักษร รับทราบและแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ร่าง TOR รับทราบและแสดงความคิดเห็นด้วยลายลักษณ์อักษร TOR ได้รับการปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร การจัดทำ EIA รับทราบ/ร่วมประชุมฟังการชี้แจง แสดงความคิดเป็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ร่างรายงาน EIA รับทราบ/แสดงความคิดเห็นด้วยลายลักษณ์อักษร ประชาพิจารณ์ EIA

16 รอยแผ่นดินถล่มต้นน้ำคลองผวน ตำบลกะทูน (พ.ย.๒๕๓๘)
ใครเป็นผู้รับผิดชอบจัดการ/ประสานงานการมีส่วนร่วม ขั้น IEE : เจ้าของโครงการจะเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล IEE ขั้นร่าง TOR : สผ. (โดยผู้จัดการการมีส่วนร่วม) ขั้น TOR-ขั้น EIA : สผ. (โดยผู้จัดการการมีส่วนร่วม : บริษัทที่ปรึกษา/ผู้ประสานงานการมีส่วนร่วม/คณะทำงานการมีส่วนร่วม) รอยแผ่นดินถล่มต้นน้ำคลองผวน ตำบลกะทูน (พ.ย.๒๕๓๘)

17 ใครคือผู้จัดการการมีส่วนร่วม
1. บริษัทที่ปรึกษา ผู้จัดทำรายงาน EIA 2. ผู้ประสานงานการมีส่วนร่วมซึ่ง สผ. แต่งตั้ง (อาจเป็น ENGO หรือ สถาบันการศึกษา) 3. คณะทำงานการมีส่วนร่วม ซึ่ง สผ. แต่งตั้งประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ คือ ผู้ได้รับผลกระทบ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าของโครงการ และ/หรือ บริษัทที่ปรึกษา องค์การพัฒนาเอกชนจำนวน คน อำนาจหน้าที่และบทบาทของผู้ประสานงานการมีส่วนร่วม/คณะทำงานการมีส่วนร่วม 1. เป็นศูนย์กลางรับรู้ติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ประชาชน บริษัทที่ ปรึกษาที่จัดทำ EIAหน่วยงานเจ้าของโครงการ และหน่วยงานต่าง ๆ ใน ระหว่างที่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2. ประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาในการจัดประชุมระหว่างฝ่ายต่าง ๆ 3. ติดตามตรวจสอบว่าบริษัทที่ปรึกษาได้ผนวกความคิดเห็นของประชาชนเข้า ไว้ในรายงาน EIA อย่างครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ 4. ติดตามความคืบหน้าการจัดทำและการพิจารณารายงาน EIA และ ประสานงานกับประชาชนในพื้นที่ให้ทราบผลการพิจารณาดังกล่าว

18 การแต่งตั้งผู้ประสานงานการมีส่วนร่วม
สผ.จะแต่งตั้ง ENGO หรือสถาบันการศึกษาให้เป็นผู้ประสานงานการมี ส่วนร่วมเป็นรายโครงการ การแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วม สผ.จะเแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วมเป็นรายกรณีไป ในกรณีที่ สผ. เห็นควรแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วม สผ.จะพิจารณาแต่งตั้ง ENGO/สถาบันการศึกษา ให้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะทำงาน และ ให้ ENGO/สถาบันการศึกษา นำเสนอรายชื่อคณะทำงาน เพื่อให้ สผ. พิจารณาแต่งตั้งภายใน 15 วัน องค์ประกอบคณะทำงานการมีส่วนร่วม ควรมีจำนวน คน ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป ควรประกอบด้วย 1. ผู้รับผลกระทบ (40%) 2. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง (30%) 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำรายงาน EIA ซึ่งได้แก่บริษัท ที่ปรึกษาและหน่วยงานเจ้าของโครงการ (15%) 4. องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน ตัวแทน จากสถาบันการศึกษาและนักวิชาการอิสระ (15%)

19 การคัดเลือกตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ในระดับ “จังหวัด” ควรจากคณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด ในระดับ “อำเภอ” ควรจากคณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ ในระดับ “ตำบล” ควรมาจาก อบต. ซึ่งรับผิดขอบการวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในระดับตำบล และถ้าพื้นที่ที่รับผลกระทบจากโครงการประกอบด้วยหลายตำบล ก็ให้มีตัวแทนของ อบต. จากหลากหลายตำบล และใน กรณีที่เป็นเขตเทศบาล ก็ต้องปรับตัวแทนให้เหมาะสมกับกรณี ในกรณีกรุงเทพมหานคร ก็ควรให้มีตัวแทนจาก กทม. และเขตตามความเหมาะสม

20 แนวทางในการดำเนินงานของคณะทำงานการมีส่วนร่วม
.ตัวแทนจากคณะทำงานระดับจังหวัด เป็นประธานฯ โดยตำแหน่ง รอง ประธานฯ ให้มาจากการเลือกตั้งของคณะทำงานฯ ส่วนเลขานุการของ คณะทำงานฯได้แก่ผู้ประสานงานฯ ซึ่ง สผ.แต่งตั้ง .เลขาฯ เป็นผู้เรียกประชุม ทำรายงานการประชุม บริหารงานและประสานงาน ทั่วไปในการจัดการการมีส่วนร่วม .คณะทำงานฯ สามารถให้ศาลากลางจังหวัดหรือที่ทำการอำเภอเป็นศูนย์ ประสานงานการมีส่วนร่วมและเป็นที่จัดการประชุมตามความเหมาะสม .คณะทำงานฯ ต้องดูแลรับผิดชอบ -การจัดการมีส่วนร่วม -การจัดระบบข้อมูลการมีส่วนร่วม -การประสานงานให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างฝ่ายต่าง ๆ -การจัดทำและจัดส่งรายงานการมีส่วนร่วม -การจัดทำและจัดส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการต่อ สผ. -การจัดการค่าใช้จ่ายการมีส่วนร่วม

21 ขั้นตอนการมีส่วนร่วม
ขั้นตอนที่ 1 การรับทราบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เจ้าของโครงการจัดทำรายงาน IEE ส่งให้ สผ. และ -คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด (เพื่อทราบ) -คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ (เพื่อทราบ) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. สภาตำบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร เขต ตามแต่กรณี (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) ขั้นตอนนี้ เป็นการให้ข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบว่าจะมีการดำเนินการโครงการในพื้นที่ และทราบความคิดเห็นเบื้องต้นของเจ้าของโครงการ ขั้นตอนนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ประชาชนในพื้นที่ควรได้รับทราบข้อมูลภายใน 15 วัน หลังจาก สผ.ได้รับข้อมูลดังกล่าว ขั้นตอนนี้ เจ้าของโครงการยังไม่มีความรับผิดชอบที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น แต่อาจพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ถ้าเริ่มให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนนี้ก็อาจเปิดช่องทางดังกล่าวไว้ หรือประชาชนอาจเลือกที่จะส่งความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ สผ.หรือหน่วยงานเจ้าของโครงการ

22 ขั้นตอนที่ 2 สผ.พิจารณาเลือกรูปแบบการจัดการการมีส่วนร่วม
สผ.พิจารณาเลือกรูปแบบการจัดการการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษารับผิดชอบ ให้ผู้ประสานงานฯ รับผิดชอบหรือให้คณะทำงานฯ รับผิดชอบ ทั้งนี้ให้ผู้ประสานงานฯ เสนอรายชื่อคณะทำงานฯ ภายใน 15 วัน ในกรณีที่ให้ผู้ประสานงานฯ รับผิดชอบ สผ.อาจให้ผู้ประสานงานฯ เสนอแนวทางการจัดการมีส่วนร่วม แผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายให้ สผ.และเจ้าของโครงการพิจารณา ในกรณีที่ให้คณะทำงานฯ รับผิดชอบ สผ.ดำเนินการ แต่ภายหลังจากที่มีการแต่ตั้งคณะทำงานฯ แล้วให้คณะทำงานฯ พิจารณารับรองหรือปรับปรุงแนวทางการจัดการการมี่ส่วนร่วมและแผนงานตามที่ผู้ประสานงานฯ ได้เสนอไว้ ภายในกรอบค่าใช้จ่ายเดิม

23 ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณาร่างขอบเขตการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ร่าง TOR)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกที่ประชาชนผู้รับผลกระทบจะได้แสงดความคิดเห็นต่อโครงการ ขั้นตอนนี้ ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ ต้องชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนการทำงานและแผนงานการจัดการการมีส่วนร่วม ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการมีส่วนร่วมที่จะเป็นสื่อกลางรับฟังและบันทึกความคิดเห็นของประชาชนเพื่อรายงานต่อ สผ.และบริษัทที่ปรึกษา และทำหน้าที่ประสานงาน ตรวจสอบให้ประชาชนได้รับเอกสารข้อมูล และให้เกิดการมีส่วนร่วม ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทและข้อจำกัดของผู้จัดการการมีส่วนร่วมเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้เกิดความเชื่อใจในกันและกันระหว่างผู้จัดการการมีส่วนร่วมและฝ่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ประสานงานฯ ได้รับการแต่งตั้งจาก สผ.ในกรณีที่ไม่มีคณะทำงานฯ สผ.อาจแนะนำให้เจ้าของโครงการนำร่าง TOR ไปปรึกษาหารือ ชุมชนในพื้นที่เอง

24 ขั้นตอนที่ 4 การรับทราบ TOR
เมื่อ สผ. ได้รับ TOR ฉบับสมบูรณ์จากเจ้าของโครงการแล้ว สผ. ต้องส่ง TOR ให้ผู้จัดการการมีส่วนร่วม (บริษัทที่ปรึกษา/ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ) ซึ่งมีหน้าที่ส่ง TOR ให้ -คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับ จังหวัด (เพื่อทราบ) คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับ อำเภอ (เพื่อทราบ) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) ขั้นตอนนี้ประชาชนจะได้ทราบว่าความคิดเห็นที่ได้แสดงไว้ต่อร่าง TOR และทราบขอบเขตและแนวทางการศึกษาผลกระทบที่จะใช้ในการทำการศึกษาผลกระทบเพื่อจะได้ติดตามและตรวจสอบดูว่าได้มีการศึกษาในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร และได้เตรียมพร้อมที่จะให้ข้อมูลความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว หากยังมีข้อข้องใจเกี่ยวกับขอบเขตการศึกษาก็สามารถบันทึกความคิดเห็นดังกล่าวไว้กับผู้จัดการการมีส่วนร่วม เพื่อเสนอต่อบริษัทที่ปรึกษาพิจารณา

25 ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำร่างรายงาน EIA
เป็นสื่อกลางแจ้งความก้าวหน้าของการจัดทำรายงานให้ชุมชนทราบ รายงานความคิดเห็นของประชาชน การจัดการการมีส่วนร่วม และปัญหาอุปสรรคแก่ สผ.ตามความเหมาะสม ประสานงานให้มีการปรึกษาหารือระหว่างชุมชนกับบริษัทที่ปรึกษาในช่วงเวลาที่บริษัทฯจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ ขั้นตอนนี้ ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาในพื้นที่และเป็นโอกาสที่ผู้จัดการการมีส่วนร่วมและบริษัทที่ปรึกษาจะได้จัดการมีส่วนร่วมแบบ Consultation ในพื้นที่

26 ขั้นตอนที่ 6 การพิจารณาร่างรายงาน EIA พร้อมรายงานสรุป
-ผู้จัดการการมีส่วนร่วม คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด (เพื่อทราบ) คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ (เพื่อทราบ) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงาน EIA ในพื้นที่ และทำรายงานการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งให้ สผ. ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นเพราะมีร่างรายงาน EIA ให้วิพากษ์วิจารณ์ และรูปแบบการจัดการมีส่วนร่วมแบบการประชุมในพื้นที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นได้มากที่สุด

27 ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องเชิญเจ้าของโครงการและบริษัทฯมาร่วมประชุมให้เกิดการแลกเปลี่ยนสองทางกับประชาชนในพื้นที่ด้วย ผู้จัดการการมีส่วนร่วมอาจจัดการประชุมในรูปแบบผสมผสานโดย การประชุมช่วงเช้าเป็น technical hearing โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญไปยังพื้นที่ให้ประชาชนเป็นผู้สังเกตการณ์ ซึ่งจะไม่ได้อภิปรายแต่จะได้ประโยชน์จากการฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ในช่วงบ่าย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะกลายเป็นผู้สังเกตการณ์และทั้งสองฝ่ายจะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะต้องจัดการประชุมดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่ที่ได้รับร่างรายงาน EIA พร้อมรายงานสรุป และต้องประชาสัมพันธ์วัน-เวลาที่จะจัดประชุมก่อนหน้าวันประชุมอย่างน้อยที่สุด 7 วัน

28 ขั้นตอนที่ 7 การพิจารณารายงาน EIA
เมื่อบริษัทฯ ได้ปรับปรุงร่างรายงาน EIA ภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนแล้ว ก็จะนำเสนอรายงาน EIA +รายงานสรุปต่อ สผ.และ ผู้จัดการการมีส่วนร่วม คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับจังหวัด (เพื่อทราบ) คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับอำเภอ (เพื่อทราบ) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) ขั้นตอนนี้ ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องตรวจสอบว่าฝ่ายต่าง ๆ ได้รับเอกสารครบถ้วนแล้วหรือไม่ และประสานงานให้ประชาชนส่งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน EIA เป็นลายลักษณ์อักษรไปยัง สผ. (ถ้ามี) ผู้จัดการการมีส่วนร่วมเองก็มีหน้าที่ตรวจสอบว่ารายงาน EIA ได้ปรับปรุงตามข้อร้องขอและความคิดเห็นของประชาชนที่ได้แสดงไว้ในขั้นตอนต่าง ๆ ที่ผ่านมาหรือไม่ อย่างไร และส่งรายงานการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ สผ. ภายใน 30 วันนับแต่ที่ได้รับรายงาน EIA

29 สผ.จะพิจารณารายงาน EIA ที่บริษัทที่ปรึกษาได้ปรับปรุงแล้ว ประกอบรายงานการมีส่วนร่วมของประชาชนของผู้จัดการการมีส่วนร่วมและความคิดเห็นจากประชาชนที่ส่งมาให้ สผ. เป็นลายลักษณ์อักษร และนำเสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ จะสิ้นสุดสภาพเมื่อถึงขั้นตอนนี้ คณะกรรมการผู้ชำนาญการจะพิจารณารายงาน EIA และเอกสารประกอบและอาจวินิจฉัยดังนี้ .เห็นชอบรายงาน EIA หรือส่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ .ให้บริษัทที่ปรึกษาแก้ไขเพิ่มเติมตามแนวทางที่ชี้แนะ .ให้จัดประชาพิจารณ์เพื่อนำผลมาประกอบการพิจารณา การจัดประชาพิจารณ์ให้ใช้แนวทาง “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙“

30 ระบบข้อมูลในการจัดการการมีส่วนร่วม
ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะต้องรับผิดชอบจัดระบบข้อมูลในการมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้ .จัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบที่ศูนย์ประสานงานการมีส่วนร่วม ทั้งนี้โดยขอความร่วมมือให้คณะทำงานการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด หรือคณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอจัดที่ทำการให้เอกสารเหล่านี้สำหรับผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ และประชาชนที่สนใจมาขอดู และจะต้องจัดไว้ให้สะดวกแก่ประชาชนที่มาขอดู โดยอาจให้ห้องปฏิบัติงานของฝ่ายแผนฯ .จัดแสดงแผนงานการมีส่วนร่วมไว้ให้ประชาชนทราบ .จัดเก็บรายชื่อผู้ร่วมประชุมแต่ละครั้งและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ .จัดเก็บความคิดเห็นที่มีผู้ส่งมาเป็นลายลักษณ์อักษร .เมื่อส่งเอกสารให้ฝ่ายต่าง ๆ ให้บันทึกไว้ด้วยว่าส่งให้ใคร เมื่อไร .ควรกระตุ้นให้ฝ่ายต่าง ๆ ส่งความคิดเห็นโดยทำแบบฟอร์มแบบสอบถามสั้น ๆ ประกอบการส่งเอกสารข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่มีความขัดแย้งด้านข้อมูลความคิดเห็นมาก .ทำสมุดบันทึกการทำงานของผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ

31 ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะต้องเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ นี้ไว้ที่ศูนย์ประสานงานการมีส่วนร่วมที่ศาลากลางจังหวัดหรือที่ว่าการอำเภอ และต้องแสดงหรือส่งมอบให้ สผ. หรือคณะกรรมการผู้ชำนาญการเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องเก็บรักษาเอกสารนี้ไว้จนกว่ารายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ หรือคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อนึ่ง ระบบข้อมูลการมีส่วนร่วมและข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดส่งเอกสารให้แก่ฝ่ายต่าง ๆ ข้างต้นมีรากฐานมาจากแนวคิด ดังนี้ .ให้ฝ่ายต่าง ๆ ทราบข้อมูลความก้าวหน้าของการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรก .ให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้รับทราบข้อมูลความคิดเห็นจาก 2 ทาง คือ รายงานจากบริษัทที่ปรึกษาและความคิดเห็นของประชาชน .ให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณารายงาน EIA ได้ทราบความคิดเห็นของประชาชนโดยตรง และให้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทที่ปรึกษาได้นำความคิดเห็นของประชาชนมาผนวกและพิจารณาประกอบการจัดทำและแก้ไขรายงานด้วยหรือไม่

32 ให้จังหวัด/อำเภอ เป็นศูนย์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ. โครงการและ อบต
.ให้จังหวัด/อำเภอ เป็นศูนย์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ โครงการและ อบต. ทำหน้าที่เป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูลแก่ ประชาชน .ให้กรรมการของคณะทำงานฯ เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ สำคัญ .ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชนผู้รับผลกระทบและหน่วยงาน ต่าง ๆ ควรใช้วิธีต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น การประกาศและตีพิมพ์ ปิดประกาศในสถานที่ทำการของทาง ราชการในท้องถิ่น คือ ศาลากลางจังหวัด ที่ทำการอำเภอ ที่ ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบลและหมู่บ้าน การลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น การแจ้งข่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ การใช้สื่อของรัฐประชาสัมพันธ์และในการเสนอสรุปผลการมี ส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสื่อ ทีวี วิทยุ และสิ่งพิมพ์

33 แนวทางการประชุมสาธารณะ
มีหลักเกณฑ์/แนวทางในการดำเนินการ ดังนี้ สถานที่จัดการประชุม ควรอยู่ในพื้นที่โครงการหรือใกล้พื้นที่โครงการมาก ที่สุด เพื่อลดภาระการมีส่วนร่วมของผู้รับผลกระทบซึ่งเป็นกลุ่มที่ สำคัญที่สุดในการประชุม วันเวลาจัดการประชุม ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องประสานงาน การ กำหนดการประชุมในวันเวลาที่ผู้รับผลกระทบสามารถเข้าร่วมได้มาก ที่สุด และต้องประกาศและทำการประชาสัมพันธ์วัน-เวลา ล่วงหน้า อย่างน้อยที่สุด 7 วัน ผู้จัดการการมีส่วนร่วมควรพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุมให้ครอบคลุม คนทั้ง 7 กลุ่มตามที่เสนอไว้ และให้ความสนใจกับผู้รับผลกระทบให้ มากที่สุด ผู้รับผลกระทบควรเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในการประชุมและ ควรได้รับโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด

34 หัวข้อการประชุม และกำหนดการประชุมต้องมีความชัดเจน
หัวข้อการประชุม และกำหนดการประชุมต้องมีความชัดเจน และประกาศให้ทุกฝ่ายทราบล่วงหน้า และในการ ประกาศ ประชาสัมพันธ์ ควรอธิบายด้วยว่าเป็นการประชุมเพื่ออะไร อยู่ในขั้นตอนใดของการจัดทำรายงานและจะมีฝ่ายใดมา เข้าร่วมบ้าง เอกสารประกอบการประชุมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอกสารที่ได้รับจากบริษัทที่ปรึกษาจะเป็นสาระที่สำคัญ ใน การประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมต้องได้รับเอกสารโดยเร็ว ที่สุดและมีโอกาสทำความเข้าใจกับเอกสารดังกล่าว ผู้ดำเนินการประชุมควรมีความเข้าใจในโครงการและขั้นตอนการจัดทำรายงานอย่างแจ่มแจ้ง ผู้จัดการการมีส่วนร่วมควรรับหน้าที่นี้และควรเชิญผู้ที่มีความเป็นกลางและได้รับการยอมรับจากชุมชนมาทำหน้าที่ช่วยดำเนินการประชุมด้วย

35 ค่าใช้จ่ายในการจัดการการมีส่วนร่วม
การจัดการการมีส่วนร่วมอาจนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการทำ EIA ค่าใช้จ่ายในการจัดการการมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ขั้นตอนการจัดส่ง IEE และเอกสารประกอบให้ประชาชนซึ่งต้องเป็น ความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการ 2. ขั้นตอนการพิจารณาร่าง TOR ซึ่งมีการแต่งตั้งผู้ประสานงานฯ และ คณะทำงานฯ และมีการนำร่าง TOR ไปปรึกษาหารือชุมชน อาจใช้ เงินจากกองทุนที่จัดตั้งขึ้นพิเศษ หรือ สผ.ดำเนินการให้เจ้าของ โครงการรับผิดชอบ 3. ขั้นตอนการจัดส่ง TOR การจัดทำร่างรายงาน EIA การพิจารณาร่าง รายงาน EIA และการพิจารณารายงาน EIA ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้บริษัท ที่ปรึกษาที่จัดทำรายงาน EIA ควรเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากการมี ส่วนร่วมของประชาชนถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งในการแสวงหา ความคิดเห็นและข้อมูลในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

36 ในทางปฏิบัติบริษัทที่ปรึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยเวลาทำข้อตกลงกับเจ้าของโครงการโดยอาจทำเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของโครงการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ในกรณีที่มีการแต่ตั้งผู้ประสานงานฯ และคณะทำงานฯ บริษัทที่ปรึกษาและผู้ประสานงานฯ ที่ สผ.กำหนดต้องทำสัญญาการจัดการการมีส่วนร่วมโดยผู้ประสานงานฯ นำเสนอแนวทาง แผนงาน และงบประมาณค่าใช้จ่ายแก่ สผ.และบริษัทที่ปรึกษา ประกอบสัญญา สัญญานี้จะทำให้ ENGO/สถาบันการศึกษาที่มีฐานะเป็นผู้ประสานงานฯ มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อ สผ.แต่จะได้รับค่าใช้จ่ายจากบริษัทที่ปรึกษา โดยมี สผ.รับทราบเป็นพยาน ในกรณีที่ใช้รูปแบบคณะทำงานฯ ENGO/สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผู้ประสานงานฯ และเลขานุการของคณะทำงานฯ ก็ยังต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบเรื่องการเงิน เพราะผู้ประสานงานฯ ยังคงเป็นองค์กรที่รับผิดขอบการจัดการการมีส่วนร่วมต่อ สผ.

37 ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ จะประกอบด้วย
4. ค่าใช้จ่ายในการจัด Technical Hearing และประชา พิจารณ์ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเจ้าของ โครงการ ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ จะประกอบด้วย ค่าตอบแทนผู้ประสานงานฯ ค่าเบี้ยเลี้ยง – เดินทางผู้ประสานงานฯ ค่าเบี้ยเลี้ยง – เดินทางคณะทำงานฯ ค่าจัดทำและจัดส่งเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม ค่าเดินทางผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ที่ควรมาร่วมการประชุมหรือให้จ้อมูล ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการมีส่วนร่วมและค่าใช้จ่าย ในการจัดระบบข้อมูลการมีส่วนร่วม ค่าไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร โทรเลข ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์

38 ความคิดเห็นของประชาชนจะมีผลอย่างไรต่อรายงาน EIA และการดำเนินงานโครงการ?
1. บริษัทฯ ผู้จัดทำรายงาน EIA จะปรับปรุงรายงาน EIA ให้ ครอบคลุมข้อมูล ข้อคิดและคำถามของประชาชน 2. เจ้าของโครงการจะปรับเปลี่ยนหรือออกแบบโครงการให้มี ความเหมาะสมขึ้น 3. สผ. ได้รับทราบความคิดเห็นของประชาชนในขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ สามารถใช้ข้อมูลนี้ประกอบการพิจารณา รายงาน EIA ได้ 4. คณะกรรมการผู้ชำนาญการและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ มีรายงาน EIA และข้อมูลการมีส่วนร่วม ประกอบการพิจารณารายงาน 5. ผู้มีอำนาจตัดสินใจโครงการ (รมต./ครม./หน่วยงานซึ่ง ออกใบอนุญาต) จะมีรายงานและข้อมูลการมีส่วนร่วม ประกอบการพิจารณา

39 ประชาพิจารณ์จะอยู่ในขั้นตอนใดของการมีส่วนร่วม?
สำหรับโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับภาคเอกชนที่ต้องขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ประชาพิจารณ์ สามารถจัดได้ ใน 2 ขั้นตอน คือ -ขั้นตอนการพิจารณารายงาน โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการ หรือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาเห็นสมควรให้เจ้าของโครงการจัดประชาพิจารณ์ (โดยอาศัยอำนาจรัฐมนตรีเจ้าสังกัด) เพื่อประกอบการพิจารณารายงาน EIA -ขั้นตอนการตัดสินใจโครงการ โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดประชาพิจารณ์ สำหรับโครงการเอกชนที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจาก ครม. จะจัดประชาพิจารณ์ได้เฉพาะในขั้นตอนการพิจารณารายงาน EIA โดยความคิดเห็นของคณะกรรมผู้ชำนาญการ โดย สผ. จะเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์จำนวน 3 คน (เป็นการอิงรูปแบบประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙)

40 ประชาพิจารณ์มีขั้นตอน/กระบวนการจัดทำอย่างไร
ประชาพิจารณ์ ณ ที่นี้จะใช้รูปแบบและกระบวนการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนี้ 1. สำหรับโครงการที่ต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม. 1.1 รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ประกอบด้วย -ประธานกรรมการ (ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ) -กรรมการอื่น ๆ อีกไม่น้อยกว่า 3 คน 1.2 คณะกรรมการประชาพิจารณ์กำหนดวันเวลาและสถานที่ในการจัด ประชาพิจารณ์ 1.3 ประชาสัมพันธ์/ประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอความคิดเห็นก่อน การนัดประชุมครั้งแรก ไม่น้อยกว่า 15 วัน

41 - นัดประชุมครั้งแรก และกำหนดประเด็นประชาพิจารณ์
- ประกาศประเด็นที่จะประชาพิจารณ์ และนัดวันประชุมครั้งต่อ ๆ ให้ ประชาชนทราบ -ในการประชุมจะให้เจ้าของโครงการแถลงข้อเท็จจริง และให้ ผู้ชำนาญการหรือที่ปรึกษาแถลงต่อจากนั้นให้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แถลง -คณะกรรมการประชาพิจารณ์ จัดทำรายงานประชาพิจารณ์ -เสนอรายงานต่อรัฐมนตรี/ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร -การเปิดเผยรายงานจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐมนตรี/ผู้ว่าราชการ จังหวัด/ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (ในกรณีนี้จะต้องเปิดเผยรายงาน ประชาพิจารณ์ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการหรือคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการพิจารณารายงาน EIA)

42 2. สำหรับโครงการของเอกชน
2.1 คณะกรรมการผู้ชำนาญการมีคำวินิจฉัยให้เจ้าของ โครงการจัดทำประชาพิจารณ์ 2.2 สผ. แต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ 3 คน 2.3 ประชาสัมพันธ์/ประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอ ความคิดเห็นก่อนการนัดประชุมครั้งแรก ไม่น้อย กว่า 15 วัน

43 ขอขอบคุณและสวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google