งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อพิจารณา ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อพิจารณา ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อพิจารณา ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
22 กันยายน 2551 บริษัท สำนักกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด เลขที่ 999/9 ชั้น 26 อาคาร ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

2 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. 2542 ประมวลกฎหมายอาญา เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

3 พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

4 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
เรื่องที่สมควรนำมาพิจาณา คำสั่งทางปกครอง คือ อะไร การทำคำสั่งทางปกครอง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง การบังคับทางปกครอง การขอให้พิจารณาใหม่ ระยะเวลาและอายุความ

5 คำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง คือ กฎ คือ การพิจาณาทาปกครอง คือ
การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ กฎ คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ การพิจาณาทาปกครอง คือ การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

6 การทำคำสั่งทางปกครอง
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น (ม. 12) ต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีสัมพันธ์กับคู่กรณี เช่น เป็นคู่กรณี เป็นคู่หมั้น เป็นญาติ เป็นเจ้าหนี้ ฯลฯ (ม. 13) ไม่มีเหตุอันจาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง (ม. 16) *ข้อยกเว้น แม้ว่าจะปรากฎภายหลังว่าเจ้าหน้าที่ขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการแต่งตั้งโดยไม่ชอบ ก็ไม่กระทบถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วในการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่

7 การทำคำสั่งทางปกครอง
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบ (ม. 27) ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่จำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง (ม. 29) ต้องระบุเหตุผลของคำสั่งทางปกครองตามแบบที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ในคำสั่งทางปกครองด้วย (ม. 37) หากคำสั่งนั้นสามารถอุทธรณ์หรือโต้แย้งได้ เจ้าหน้าที่จะต้องระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์เหรือโต้งแย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือโต้แย้ง และระยะเวลาเอาไว้ด้วย (ม. 40)

8 การทำคำสั่งทางปกครอง
สิทธิของคู่กรณี มีสิทธิในการนำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าเร่วมในการพิจาณาทางปกครองได้ (ม. 23) มีสิทธิแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการในการพิจารณาแทนได้ (ม. 24) มีสิทธิที่จะทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสในการได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนในการพิจารณาทางปกครอง (ม. 30) มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็น ในการพิจาณาทางปกครอง มีสิทธิร้องขอให้ออกคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ

9 การทำคำสั่งทางปกครอง
รูปแบบของคำสั่งทางปกครอง ทำเป็นหนังสือ ทำโดยวาจา ทำโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นๆ ผลของคำสั่งทางปกครอง มีผลตั้งแต่ขณะที่ได้รับแจ้ง มีผลจนกว่าจะมีการเพิกถอนหรือสิ้นเวลาที่กำหนด หรือโดยเหตุอื่น

10 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
หลัก คู่กรณีต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ ระบุข้อโต้แย้ง ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายให้ครบถ้วน ข้อยกเว้น เป็นคำสั่งที่ออกโดยรัฐมนตรี (ม. 44) เป็นคำสั่งที่ออกในรูปของคณะกรรมการ (ม. 48) มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนภายในเอาไว้เป็นการเฉพาะ (ม. 44) ฟ้องศาลปกครองได้ทันที

11 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
ขั้นตอนในการอุทธรณ์ คู่กรณียื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน (ม. 44) เจ้าหน้าที่พิจารณาและแจ้งผู้อุทธรณ์ภายใน 30 วัน (ม. 45) นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ต้องรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ภายใน 30 วัน (ม. 45 วรรค 2) นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ในกรณีที่ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน

12 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาอาจเพิกถอนคำสั่งได้ตลอดเวลา (ม. 49) โดยมีข้อพิจาณา คือ คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตก็ได้ คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ต้องคำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ด้วย คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่ตามข้อ 2 ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนมีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหายได้ แต่ต้องแจ้งขอรับค่าทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอน

13 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
ข้อพิจารณา (ต่อ) คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะเพิกถอนหรือมีผลไปในอนาคตได้ คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง จะเพิกถอนได้ก็ต่อเมื่อมีกรณีที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 53 เช่น มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอน กฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่อาจแบ่งแยกได้ อาจเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังได้ด้วย ในกรณีที่ มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในการดำเนินการตามคำสั่ง มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในการปฏิบัติตามเงื่อนไข

14 การบังคับทางปกครอง ไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่ด้วยกันในขณะที่ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ ถ้าเป็นคำสั่งที่ให้ชำระเงิน ต้องมีหนังสือเตือนให้ชำระภายในกำหนดไม่น้อยกว่า 7 วันก่อน จึงจะใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้ (ม. 57) ถ้าเป็นคำสั่งอื่นๆ จะต้องมีหนังสือเตือนให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำภายในภายในเวลาที่กำหนด (ไม่มีกำหนดเวลาขั้นต่ำ) จึงจะใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้ (ม. 59)

15 การบังคับทางปกครอง (ต่อ)
เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้เฉพาะที่ระบุเอาไว้ในคำเตือนเท่านั้น จะเปลี่ยนแปลงมาตรการได้ก็ต่อเมื่อมาตรการที่กำหนดเอาไว้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์การบังคับทาปกครองได้ โดยใช้วิธีเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

16 การขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อคู่กรณีมีคำร้องขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ได้ ภายใน 90 วันนับจากวันที่รู้ภึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ดังนี้ มีพยานหลักฐานใหม่ คู่กรณีที่แท้จริงไม่ได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณา หรือเข้ามาแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วม เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจในการทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ใช้ในการออกคำสั่งทางปกครองเปลี่ยนแปลงไป

17 คำขอให้พิจารณาใหม่ (ต่อ)
ข้อควรจำ * คำขอที่อาศัยเหตุตาม จะทำได้ก็ต่อเมื่อคู่กรณีไม่รู้ถึงเหตุนั้นในขณะที่ทำการพิจาณาในครั้งที่แล้ว

18 ระยะเวลาและอายุความ การนับวัน
ไม่ให้นับวันแรกของระยะเวลาเข้ารวมด้วย เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องทำการอย่างใดๆภายในเวลาที่กำหนด ให้นับวันสุดท้ายด้วย แม้จะเป็นวันหยุดก็ตาม ในกรณที่บุคคลต้องทำการอย่างใดๆภายในเวลาที่กำหนด ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุด ให้วันสุดท้ายคือ วันทำงานที่ถัดจากวันหยุดนั้น

19 ระยะเวลาและอายุความ การขยายระยะเวลา
ระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ในคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่สามารถขยายได้ ถ้าเวลาสิ้นสุดลงแล้ว เจ้าหน้าที่อาจขยายเวลาโดยให้มีผลย้อนหลังได้ เจ้าหน้าที่อาจขยายเวลาได้ ในกรณีที่บุคคลไม่สามารถกระทำการอย่างใดได้ภายในเวลาที่กำหนด เพราะมีเหตุอันไม่ใช่ความผิดของบุคคลนั้น ถ้าผู้นั้นได้ยื่นคำขอภายใน 15 วัน

20 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

21 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ศัพท์ที่สำคัญ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

22 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หลักที่สำคัญ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายแทนเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นการกระทำละเมิดที่เจ้าหน้าที่ทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ จะฟ้องตัวเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยไม่ได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ผู้เสียหายจะฟ้องหน่วยงานไม่ได้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิด

23 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ม. 8) หน่วยงานของรัฐต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายแทนเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐจะมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่หน่วยงานได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงและความเป็นธรรมเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องให้ชดใช้เต็มจำนวนความเสียหาย

24 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ม. 8) (ต่อ) ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดของหน่วยงานด้วย ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออก ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน ไม่ให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น อายุความในการเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่ตน มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย

25 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การบังคับให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่หน่วยงาน หน่วยงานฯ สามารถออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานฯ ได้ภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่ง ถ้าเจ้าเหน้าที่ไม่พอใจในคำสั่ง สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เจ้าหน้าที่สามารถขอผ่อนชำระเงินที่ต้องรับผิดได้ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการผ่อนชำระหนี้ของเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ 19 กันยายน 2545

26 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐเอง (ม. 10) ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้หน่วยงานเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ได้ โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำความผิดต่อบุคคลภายนอก ถ้าไม่ใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานต้องฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อายุความ 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่หน่วนงานเห็นว่าไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าต้องรับผิด ให้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานมีคำสั่งตามกระทรวงการคลัง

27 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
สิทธิของผู้เสียหายในการเรียกค่าสินไหมทดแทน (ม. 11) ผู้เสียหาย อาจ ฟ้องคดีในมูลละเมิดต่อศาลปกครองโดยตรง ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

28 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานฯต้องพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีอำนาจขยายเวลาได้อีก 180 วัน ถ้ามีปัญหาและอุปสรรคในการพิจารณา ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจในผลการวินิจฉัย สามารถฟ้องศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน

29 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง พ.ศ. 2542

30 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
เรื่องที่สมควรพิจารณา เขตอำนาจศาลปกครอง เขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง การพิจารณาคดีของศาลปกครอง อำนาจในการทำคำพิพากษาของศาลปกครอง

31 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
เขตอำนาจศาลปกครอง (ม. 9) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกี่ยวกับการออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ (อายุความ 90 วัน) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานฯหรือเจ้าหน้าที่ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด (อายุความ 90 วัน) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (อายุความ 1 ปี)

32 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
เขตอำนาจศาลปกครอง (ม. 9) (ต่อ) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (อายุความ 1 ปี) คดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องฟ้องต่อศาลปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานฯหรือเจ้าหน้าที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างใดๆ

33 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
เขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด (ม. 11) คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ฎ. หรือ กฎ ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด

34 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
เงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครอง (ม. 42) ต้องเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตาม ม. 9 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีดกเลี่ยงได้ จากการกระทำหรืองดเว้นการกระของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การแก้ไขหรือบรรเทาความเสียหาย ต้องใช้มาตการบังคับตาม ม. 72 ถ้ามีกฎหมายกำหนดขั้นตอนในการแก้ไขความเสียหายหรือเดือดร้อนเอาไว้โดยเฉพาะ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนนั้นก่อน จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ เช่น การอุทธรณ์คำสั่ง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

35 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
การพิจาณาคดีของศาลปกครอง ใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน ศาลมีอำนาจในการเรียกให้หน่วยงานฯหรือเจ้าหน้าที่มาชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เรียกให้คู่กรณีมาให้ถ้อยคำ ฯลฯ ต้องทำโดยเร็ว และเปิดโอกาสให้คู่กรณีสามารถยืนยันหรือหักล้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้

36 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
อำนาจในการทำคำพิพากษา (ม. 72) สั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน สั่งให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานฯปฎิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด สั่งให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานฯใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ สั่งให้ปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง สั่งให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดๆเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย

37 กฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

38 โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 147 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อหรือจัดการทรัพย์สินแต่เบียดบังเอาไว้เองโดยทุจริตหรือให้ผู้อื่นเอาไปโดยทุจริต โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท

39 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
มาตรา 148 เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนหรือจูงใจผู้อื่นให้มอบหรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ตนหรือผู้อื่น โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท หรือ ประหารชีวิต

40 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
มาตรา 149 เป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่ง ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิต

41 โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 150 เป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดในตำแหน่ง โดยเห็นแก่ประโยชน์อื่นใดซึ่งเรียก รับ หรือยอมรับไว้ก่อนได้รับตำแหน่ง โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท

42 โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 151 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับ 2,000-40,000 บาท

43 โทษ จำคุก 1-10 ปี และ ปรับ 2,000-20,000 บาท
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 152 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น โทษ จำคุก 1-10 ปี และ ปรับ 2,000-20,000 บาท

44 โทษ จำคุก 1-10 ปี และ ปรับ 2,000-20,000 บาท
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 153 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จ่ายทรัพย์สิน จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น โทษ จำคุก 1-10 ปี และ ปรับ 2,000-20,000 บาท

45 โทษ จำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โทษ จำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

46 โทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี และ ปรับ ไม่เกิน 14,000 บาท
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 158 เป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสาร อันเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องปกครองหรือรักษาไว้ หรือยอมรับให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น โทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี และ ปรับ ไม่เกิน 14,000 บาท

47 Q&A

48 Finish


ดาวน์โหลด ppt ข้อพิจารณา ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google