งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู www.mbk.ac.th
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นปวช. 1 เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือกับการจัดกิจกรรมตามปกติ ผู้วิจัย นางอารีรัตน์ มาพันธ์สุ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู

2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ยากและสลับซับซ้อนต้องใช้เทคนิควิธีการเทคโนโลยี สื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในท้องถิ่นและจะต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในความ สำคัญและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนากระบวนการคิด ความสามารถในการคิด การรู้จักคิดหรือคิดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง การคิดเป็น ช่วยให้ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นดูเป็น เหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงศึกษา “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการจัดกิจกรรมตามปกติ” เพื่อให้เป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สำหรับครูในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ วิชาภูมิวัฒนธรรม เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 ระหว่างคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยการสอนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ 2. เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือและการจัดกิจกรรมตามปกติ

4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภูมิเศรษฐศาสตร์ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน SD. t Prob คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย 146 7.30 316 15.80 1.88 -20.24* .000 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนกลุ่มเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ และกลุ่มเรียนรู้โดยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน Sd t Prob กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 20 18.45 15.80 0.82 1.15 9.35* .000 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือและนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ

6 สรุปผลการวิจัย ผลการเปรียบเทียบการคะแนนก่อนเรียนและหลักเรียน พบว่า เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภูมิวัฒนธรรม เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 ระหว่างคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยการสอนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ มีคะแนนก่อนเรียนรวม = มีค่า = SD. = 1.87 มีคะแนนหลังเรียนรวม = มีค่า = SD = 0.83 สรุปได้ว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ ระดับ .05

7 ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
ได้แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ระดับชั้น ปวช. 1 ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ได้พัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เป็นแนวทางสำหรับครู วิชาภูมิเศรษฐศาสตร์ ในการพัฒนาทางการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในเนื้อหาอื่นและระดับชั้นอื่น ๆ

8


ดาวน์โหลด ppt สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google