งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
การสร้างชุดแบบฝึกทักษะเรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี โรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดย นาย วาทิตย์ พลคณา วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

2 ปัญหาของการวิจัย ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รหัส ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2546 ของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิชาพื้นฐาน โดยกำหนดจำนวนคาบเรียน ทฤษฏี 3 คาบต่อสัปดาห์ จำนวน 2 หน่วยกิต เนื้อหาแบ่งออกเป็น 10 หน่วยประกอบด้วย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ การรักษาดุลยภาพของร่างกาย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ โครงสร้างของอะตอมและตารางธาตุ สมบัติสารและการจำแนกสาร พันธะเคมี แรงและชนิดของแรง การเคลื่อนที่ของวัตถุ งานและพลังงาน เป็นเนื้อหาในทางฟิสิกส์ โดยเฉพาะในเรื่องงานและพลังงาน

3 ปัญหาของการวิจัย(ต่อ)
ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญว่าเพื่อต้องการให้นักเรียนสามารถนำหลักการของงานไปใช้ประโยชน์และสามารถเปรียบเทียบการใช้พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำ ซึ่งเป็นการวัดประเมินผลตัวผู้เรียนจากการปฏิบัติจริง จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในรายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี โรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจ จำนวน 20 คน เนื้อหาเรื่อง งานและพลังงาน พบว่านักศึกษาบางส่วนไม่เข้าใจ เรื่อง งานและพลังงาน เนื่องจากนักศึกษาขาดความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ขาดการฝึกฝนในเรื่องการคำนวณ ทบทวนและทำแบบฝึกหัดในบทเรียน

4 ปัญหาของการวิจัย (ต่อ)
ดังนั้นเพื่อวัดความเข้าใจในบทเรียนและทำให้จดจำเกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาหาแนวทางเพื่อให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจโดยการใช้แบบฝึกทักษะจึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น ซึ่งในแบบฝึกทักษะนี้จะทำให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์และการคำนวณในการทำแบบฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความรู้และเข้าใจมากขึ้นอีกทั้งยังเป็นการทบทวนเนื้อหา เนื่องจากแบบฝึกทักษะนี้สามารถใช้ในห้องเรียนและครูผู้สอนสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง รวมไปถึงการให้คำแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการทำแบบฝึกทักษะจึงทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

5 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะเรื่องงานและพลังงาน
ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี ก่อนและ หลังใช้แบบฝึกทักษะ

6 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ชุดการสร้างแบบ ฝึกทักษะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี โรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจ จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ สร้างชุดแบบฝึกทักษะ เรื่อง งานและพลังงาน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางาน การบัญชี โรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจ

7 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานและพลังงาน จำนวน 6 ชุด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี 2. แบบฝึกทักษะ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี จำนวน 5 ชุด หลังจากที่ได้ศึกษาเนื้อหาในแต่ละแผนการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อทดสอบความรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน หลังจากจบเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ 1. ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับจุดประสงค์ของการวัด (IOC) ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) 2. การวิเคราะห์ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นสูตร KR-20 วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรู 3. การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่องงานและพลังงาน ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าร้อยละ 4. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการศึกษาหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และการหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80

8 ตารางหรือผังงานสรุปความสำคัญ
ศึกษาตำรา คู่มือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างชุดแบบฝึก สร้างชุดแบบฝึกทักษะ เรื่องงานและพลังงาน แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์คะแนนการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน

9 การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ
ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับจุดประสงค์ของการวัด (IOC) ใช้ค่าเฉลี่ย ( x ) 2. การวิเคราะห์ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นสูตร KR-20 วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 3. การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่องงานและพลังงาน ใช้ค่าเฉลี่ย ( x ) และค่า ร้อยละ 4. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการศึกษาหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และการหา ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

10 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานและพลังงาน จำนวน 6 ชุด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี 2. แบบฝึกทักษะ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี จำนวน 5 ชุด หลังจากที่ได้ศึกษาเนื้อหาในแต่ละแผนการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อทดสอบความรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน หลังจากจบเนื้อหา

11 สรุปผลการวิจัย 1.การสร้างชุดแบบฝึกทักษะเรื่องงานและพลังงานสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/2 สาขางานการบัญชี โรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจ ในการสร้างชุดแบบฝึกทักษะ จำนวน 5 ชุด หลังจาก ที่ได้ศึกษาเนื้อหาในแต่ละแผนการเรียนรู้

12 สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 2.ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเรื่อง งานและพลังงาน พบว่าจากการทดสอบก่อนเรียนนักศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ และจากการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบร้อยละความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน สรุปได้ว่าภายหลังการใช้ชุดแบบฝึกทักษะเรื่องงานและพลังงานนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

13 สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 3.ด้านประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะ เรื่อง งานและพลังงานโดยใช้แบบฝึกหัด 5 ชุด ได้กำหนดให้นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย ในแต่ละแบบฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า คะแนนการทำแบบฝึกหัดในแต่ละแบบฝึกนักเรียนสามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ประสิทธิ์ภาพของชุดแบบฝึกทักษะเรื่องงานและพลังงาน ในแต่ละแบบฝึกหัด มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ละแบบฝึกหัดเฉลี่ยและค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ) โดยคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง คิดเป็นร้อยละอยู่ระหว่างร้อยละ และคะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ คิดเป็นร้อย แสดงว่า การสร้างชุดแบบฝึกทักษะเรื่องงานและพลังงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

14 จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google