งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“ การพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“ การพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “ การพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้
ผลงานวิจัยเรื่อง “ การพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้ งานไฟวิ่ง 7 ดวงโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2(ปวช.2) สาขา อิเล็กทรอ-นิกส์ ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ” โดย นางสาวจุฑามาศ ทัศนศร

2 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้งานไฟวิ่ง 7 ดวง เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ปฏิบัติ การทดลองได้สำเร็จตามเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ และครู ผู้สอนจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วทันเวลาตามกำหนดการสอน ในรายวิชาวงจรอิเล็กทรอนิกส์

3 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ทักษะ หมายถึง ความสามารถในการออกแบบวงจร ประกอบ บัดกรี และทดสอบวงจรไฟวิ่ง 7 ดวง เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง วิธีการสอนที่ให้เพื่อนักเรียนช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ แบบกลุ่มรับผิดชอบ( 1:5) โดยเพื่อนช่วยสอนเป็นนักเรียนห้องเดียวกัน แต่มีความสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว มีทักษะการคิด การวางแผนและทักษะการปฏิบัติงานที่ดีกว่ามาช่วยสอน การร่วมมือกันทำงาน การคิดอย่างมีจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะวิชาชีพ และทักษะต่างๆ ที่เป็นการสร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง

4 กรอบแนวคิดในการวิจัย
มีองค์ประกอบดังนี้       1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากนักเรียนที่ออกแบบได้และประกอบ วงจรได้ถูกต้องตามกำหนดเวลา 2. ตั้งคำถามเพื่อประเมินค่าทักษะการคิดและความเข้าใจหลักการ ทำงานตามคุณสมบัติของวงจร(การสรุปผลการทดลองใบงาน ที่1)

5 กรอบแนวคิดในการวิจัย
3. เมื่อได้กลุ่มเป้าหมาย 7 คน ก็ทำการซักซ้อมความเข้าใจการ แก้ปัญหาที่พบเบื้องต้น 4. จากนั้นก็แบ่งกลุ่มรับผิดชอบ เป็น 7กลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย 1คน ดูแลการออกแบบประกอบ บัดกรี ทดสอบวงจร และแก้ ปัญหาเบื้องต้น ของประชากร 5คน

6 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้วิจัย ได้แก่ ผู้เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียนรายวิชาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางาน อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมาย 7 คน ก็ทำการซักซ้อมความเข้าใจการแก้ปัญหาที่พบเบื้องต้น จากนั้นก็แบ่งกลุ่มรับผิด ชอบ เป็น 7กลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย 1คนดูแลการออกแบบประกอบ บัดกรี ทดสอบวงจร และแก้ปัญหาเบื้องต้น ของประชากร 5คน

7 รูปที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ Plan Action Observing Reflection สรุปผลการวิจัย รูปที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

8 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบประเมินผู้เรียนมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ(Reting scale) ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เป็นแบบประเมินการปฏิบัติการทดลองตามแบบทดสอบจริงของผู้เรียนจำแนกออกเป็น 2 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 ด้านกระบวนการปฏิบัติการ

9 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้
หมวดที่ 2 ด้านผลการปฏิบัติการตามแบบทดลอง/แบบประเมินผลงาน การประกอบและทดสอบวงจร

10 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้
ชิ้นงานสมบูรณ์ของวงจรไฟวิ่ง 7 ดวง

11 สรุปผลการวิจัย 1. ด้านกระบวนการปฏิบัติงานออกแบบและประกอบวงจรไฟวิ่ง 7 ดวง ของผู้เรียน มีผลการประเมินตามลำดับจากมากไปหา น้อย ตามค่าเฉลี่ยจากเกณฑ์ที่กำหนด เป็นดังนี้คือความสะอาด รอบพื้นที่ปฏิบัติงาน (4.30),ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน(4.18) การเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนในห้อง(3.98),ความปลอดภัยในการทำงาน (3.84) ,การอ่านแบบวงจรและออกแบบแผ่นปริ้นท์(3.70)

12 สรุปผลการวิจัย 2. ด้านผลการปฏิบัติงานออกแบบและประกอบวงจรไฟวิ่ง 7 ดวง มีผลการประเมินตามลำดับจากมากไปหาน้อย ตาม ค่าเฉลี่ยจากเกณฑ์ที่กำหนด เป็นดังนี้คือ การวางอุปกรณ์ ตรงตามตำแหน่ง/ค่าอุปกรณ์ (4.41) , ความถูกต้องการ ทำงานของวงจรรวม(4.39), จัดขา บัดกรีชิ้นงาน ความ ประณีต รวม(4.20)

13 สรุปผลการวิจัย 3. ด้านระยะการปฏิบัติงานออกแบบและประกอบวงจรไฟวิ่ง 7 ดวง มีผลการประเมินตามลำดับจากมากไปหาน้อย ตาม ค่าเฉลี่ยจากเกณฑ์ที่กำหนด เป็นดังนี้คือ เวลาแต่ละ ขั้นตอน (4.36), เวลาการส่งผลงาน (4.36)

14 ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากผลข้อมูลทางสถิติทำให้ทราบถึงการพัฒนาหรือแนวโน้มที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนวิชาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอนพอใจที่เลือกเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนในการสอนแบบปฏิบัติการเมื่อเห็นความกระตือรือร้นของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องรับผิดชอบต่อเพื่อนในกลุ่มและเกิดความภาคภูมิใจในตนเองส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ถูกช่วยเหลือก็เกิดความไว้วางใจเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนผู้ช่วยสอนทำให้กล้าคิดกล้าทำกล้าซักถามและแก้ปัญหาที่ไม่ยากเกินไปเบื้องต้นได้

15 ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรให้นักเรียนกลุ่มผู้ถูกช่วยเหลือ เลือกนักเรียนผู้ช่วยเหลือตามความสมัครใจ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการยอมรับกันและกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่พบ จนเกิดทักษะทางการปฏิบัติงานและทักษะทางสังคมต่อไป

16 จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt “ การพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google