งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Principles of Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Principles of Environmental Law"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Principles of Environmental Law
หลักการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม 3 Principles of Environmental Law

2 วิวัฒนาการของกฎหมายที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ทบทวน)
อิทธิพลของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมสากล เริ่มจากการไม่มีกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยตรง ใช้หลักกฎหมายละเมิดและหลักกฎหมายเรื่องเดือดร้อนรำคาญ (nuisance)เข้ามาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเรื่องภาระการพิสูจน์/ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล สร้างหลักกฎหมายเรื่องความรับผิดเด็ดขาดของผู้ประกอบการ สร้างกฎหมายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสวัสดิภาพอนามัยและกฎหมายในการแก้ปัญหามลพิษ (ในยุคทศวรรษที่ 60) 3 Principles of Environmental Law

3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
สภาพสิ่งแวดล้อม – มลพิษ การจัดการทรัพยากร  การจัดการพื้นที่คุ้มครอง เช่น การจัดการพื้นที่ป่า และ การจัดการพื้นทีลุ่มน้ำ การจัดการเมือง  ผังเมือง ควบคุมการใช้ที่ดิน สุขภาพอนามัย  วัตถุอันตราย, อาหารและยา, การใช้สารเคมี 3 Principles of Environmental Law

4 โครงสร้างของระบบกฎหมาย
มีกฎหมายมากมาย/กระจัดกระจาย กฎหมายว่าด้วยการจัดการทรัพยากร – ที่ดิน, น้ำ กฎหมายกำหนดการจัดการทรัพยสิน - ที่ดิน กฎหมายละเมิดและความรับผิดของผู้ประกอบการ กฎหมายเกี่ยวกับการผลิตในระบบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม – โรงงาน ขนส่ง การค้า ผังเมือง กฎหมายป่าไม้ – อุทยาน, การให้สัมปทานป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่าสัตว์น้ำ พันธุ์พืช กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม 3 Principles of Environmental Law

5 การจัดการทรัพยากรและระบบการผลิตในสังคม
Exclusion กีดกันได้ Non-exclusion ไม่สามารถกีดกันได้ Rival แย่งกันบริโภค Private goods: food, cars, clothes Common goods (Common-pool resources): fish in the river/sea, trees in the forest, underground water Non-rival ไม่กระทบการบริโภคของผู้อื่น (โดยทั่วไป/ในระดับหนึ่ง) Toll goods or Club goods: parks, movies, music, telephone, cable TV Public goods: air quality, national defense, broadcasting, ecosystem 3 Principles of Environmental Law

6 3 Principles of Environmental Law
จากตารางข้างต้น ทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นสินค้าประเภทใดในสังคม? ที่ดิน? แหล่งน้ำ? อากาศ? สัตว์ป่า สัตว์น้ำ? ต้นไม้? ป่าไม้? ระบบนิเวศน์? ปัญหาโศกนาฎกรรมกับของสาธารณะ Tragedy of the Commons Externalities & free riders 3 Principles of Environmental Law

7 โศกนาฏกรรมของ ของสาธารณะ
Maximum benefit? Jeremy Bentham “The greatest good for the greatest number” มนุษย์ต่างกอบโกย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเอง การทำกำไรสูงสุดของผู้ประกอบการ การดูแลของส่วนรวม เป็นภาระของทุกคนในสังคม การผลักภาระของต้นทุนการผลิตให้แก่สังคม โดยที่ตัวเองไม่ได้ร่วมในการดูแล บำรุงรักษาต้นทุน/ของส่วนรวมนั้น เช่น น้ำ อากาศ ที่ดินและทรัพยากร เสรีภาพในการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ ก่อปัญหาประชากรล้นโลก และยังเป็นประชากรที่โลภมากอีก! 3 Principles of Environmental Law

8 3 Principles of Environmental Law
การจัดการของส่วนรวม การโต้แย้งว่าคนเห็นแก่ตัว กับผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร แนวคิดว่าทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการจัดการ การกำหนดว่าต้องมีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของการผลิต การร่วมรับผิดชอบของผู้ใช้ จะจัดการกับ free rider เราจะจัดการกับ “คนกินแรงเพื่อน” อย่างไร? ไม่มีใครที่รู้แล้วจะฆ่าห่านทองคำของตัวเอง เพื่อเอาไข่ในท้องหรอก! วิธีการในการจัดการควรเป็นอย่างไร? ใครควรมีอำนาจในการจัดการ? 3 Principles of Environmental Law

9 3 Principles of Environmental Law
สรุป - ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ควรมีการจัดการ ปัญหาคือ ใครมีอำนาจในการจัดการนี้? และจะจัดการอย่างไร? การจัดระบบโควต้า ใบอนุญาตเรือประมง การห้ามจับสัตว์ในฤดูวางไข่ การอนุญาตให้เฉพาะคนในชุมชนในการใช้ประโยชน์ การกำหนดการปล่อยของเสีย ตัวอย่าง การนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลาก! การนำมาตรการทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (หรือมาตรการกีดกันทางการค้า) เช่น เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลกับการส่งออกกุ้งไทย มาตรฐานของอาหารส่งออกไปยุโรป การขึ้นบัญชีประเทศที่ละเมิดCITES การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยต้องคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจของคนในชุมชนเข้ามาเป็นข้อพิจารณา การใช้ประโยชน์ในทรัพยากรเชิงอนุรักษ์ เช่น ecotourism 3 Principles of Environmental Law

10 กฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างกว้าง
กฎหมายในการจัดการทรัพยกร กฎหมายในการจัดการผลิต เช่น พรบ.โรงงาน กฎหมายในการจัดการพื้นที่ เช่น พรบ.ผังเมือง กฎหมายในการจัดการพลังงาน เช่น พรบ.รักษาอนุรักษ์พลังงาน กฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพ เช่น พรบ.สาธารณสุข พรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พรบ.อาหารและยา กฎหมายในการจัดการเฉพาะ เช่น พรบ.วัตถุอันตราย กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการของเสียมีพิษ การใช้สารเคมี กฎหมายกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 Principles of Environmental Law

11 จากการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสู่กฎหมายภายใน
Silent Spring by Rachel Carson (September 1962)  DDT ban (1972) Cuyahoga River  Clean Water Act 1969 Santa Barbara Oil Spill by Union Oil (10 วัน รั่วถึง 100,000 barrels) National Environmental Policy Act (NAPA)  President’s Council on Environmental Quality (CEQ)  Environmental Assessments  กำหนดบทบาทเฉพาะในฝ่ายบริหาร 3 Principles of Environmental Law

12 กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกรณีกฎหมายภายใน เช่น การเรีมต้นจากสหรัฐอเมริกามี กฎหมายว่าด้วยนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 1969, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพอากาศ 1970, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพน้ำ 1972 และกฎหมายว่าด้วยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 1973 การผ่านกฎหมายจากรัฐสภา ทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล การหาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา สิทธิในการพัฒนาของประเทศโลกที่สาม การพิสูจน์ถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อม – Technocentric vs. Anthropocentric vs. Ecocentric ! 3 Principles of Environmental Law

13 กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกรณีกฎหมายภายใน เช่น การเรีมต้นจากสหรัฐอเมริกามี กฎหมายว่าด้วยนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 1969, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพอากาศ 1970, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพน้ำ 1972 และกฎหมายว่าด้วยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 1973 3 Principles of Environmental Law

14 วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่นำมาสู่การวางหลักกฎหมาย
การได้รับผลจากมลพิษอย่างร้ายแรง เช่น โรคมินามาตะ จาการได้รับสารปรอทจากการบริโภคปลาทะเล 1908 – 1955 การได้รับค่าชดเชย โรคอิไต อิไต จากการที่คนงานเชื่อมโลหะ ได้รับแคดเมียม ทำให้ญี่ปุ่นซื่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้รับผลกระทบจากพิษของอุตสาหกรรม การปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว 1975 เขียนโดย มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ โรงงานนิวเคลียรที่เชอร์โนบิล 1986 3 Principles of Environmental Law

15 จากการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสู่กฎหมายภายใน
กฎหมายสิ่งแวดล้อมได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภา (ทั้งสองฝ่าย - รัฐบาลและฝ่ายค้าน) ต้นทุนของการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและการลงทุน ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายภายในรัฐ จากธุรกิจการเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีพรมแดน การใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือช่วย State & Non-State Actors 3 Principles of Environmental Law

16 ความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายสิ่งแวดล้อม ในระดับระหว่างประเทศ
1 เมื่อรัฐไม่ได้เป็นผู้ปกป้องสิทธิทางสิ่งแวดล้อม ให้แก่ประชาชน จากมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง อาจส่งผลให้รัฐเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มธุรกิจที่มีอำนาจเหนือรัฐได้ 2 บางครั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาข้ามพรมแดน ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ภายในรัฐใดรัฐหนึ่ง 3 Principles of Environmental Law

17 3 Principles of Environmental Law
กรณีเขื่อนแม่น้ำโขง 3 Principles of Environmental Law

18 3 Principles of Environmental Law
เขื่อนไซยะบุรี 3 Principles of Environmental Law

19 3 Principles of Environmental Law
ปัญหาหมอกควัน 3 Principles of Environmental Law

20 ปัญหาหมอกควันจากที่ต่างๆ
ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น! 3 Principles of Environmental Law

21 3 Principles of Environmental Law
การแก้ปัญหาหมอกควัน การแก้ปัญหาแบบบ้านๆ 3 Principles of Environmental Law

22 3 Principles of Environmental Law
การแก้ปัญหาหมอกควัน การแก้ปัญหาแบบปัจเจก 3 Principles of Environmental Law

23 3 Principles of Environmental Law
ปัญหาโลกร้อน 3 Principles of Environmental Law

24 3 Principles of Environmental Law
น้ำทะเลร้อนขึ้น d 3 Principles of Environmental Law

25 3 Principles of Environmental Law
น้ำทะเลร้อนขึ้น 3 Principles of Environmental Law

26 3 Principles of Environmental Law
น้ำทะเลร้อนขึ้น 3 Principles of Environmental Law

27 3 Principles of Environmental Law
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 3 Principles of Environmental Law

28 3 Principles of Environmental Law
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 3 Principles of Environmental Law

29 กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับสากล
การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักอนุรักษ์ในระดับเหนือรัฐ - กฎหมายระหว่างประเทศ United Nations Conference on the Human Environment 1972 World Commission on Environment and Development 1983 United Nations Conference on Environment and Development 1992 World Summit on Sustainable Development 2002 3 Principles of Environmental Law

30 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ปฏิญญากรุงสตอกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ 1972 ปฏิญญากรุงริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา 1992 3 Principles of Environmental Law

31 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการว่าด้วยสิทธิอธิปไตยและความรับผิดชอบของรัฐ รัฐมีสิทธิอธิปไตยตามกฎบัตรสหประชาชาติ และหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของตนเองตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (และการพัฒนา) ของตน และมีความรับผิดชอบที่จะประกันว่ากิจกรรมต่างๆภายในอำนาจหรือการควบคุมของตนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่นหรือของบริเวณที่อยู่นอกขอบเขตอำนาจแห่งชาติ (สต๊อกโฮม ข้อ21) 3 Principles of Environmental Law

32 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการว่าด้วยการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติของโลก รวมทั้ง อากาศ น้ำ แผ่นดิน พืชและสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศตามธรรมชาติ จะต้องได้รับการปกป้อง เพื่อประโยชน์ของชนรุ่นนี้และชนรุ่นหลัง โดยการวางแผนหรือการจัดการอย่างระมัดระวังตามความเหมาะสม (ข้อ 2) 3 Principles of Environmental Law

33 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการป้องกันภาวะมลพิษ เรียกร้องให้หยุดการปล่อยสารพิษ รวมถึงความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณความเข้มข้นที่เกินขีดจำกัดของธรรมชาติจะรับได้ (ข้อ6) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่อยชัดเจนในปฏิญญากรุงสต๊อกโฮม เนื่องจากเน้นที่บทบาทของรัฐในการจัดการ แต่มีในปฏิญญากรุงริโอ (ข้อ 10) ว่าจะสามารถจัดการได้ดีหากสามารถให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 3 Principles of Environmental Law

34 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อลดภาวะการแข่งขันทางการค้า และความขัดแย้งทางการเมือง ให้มีการสนับสนุนความร่วมมือทางกด้านวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลข่าวสาร(ข้อ20) หลักการรับผิดและความชดใช้เยียวยา เมื่อเกิดความเสียหาย 3 Principles of Environmental Law

35 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ โดยการเจรจา การสอบสวน การประนีประนอม การไกล่เกลี่ย อนุญาโตตุลาการ การระงับข้อพิพาททางศาล การใช้องค์กรและข้อตกลงในระดับภูมิภาค 3 Principles of Environmental Law

36 United Nations Conference on Environment and Development 1992
Agenda 21 ส่วน 1 มิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ ส่วน 2 การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ส่วน 3 การสร้างความเข้มแข็งแก่บทบาทของกลุ่มหลัก – เด็ก สตรี องค์กรเอกชน และองค์กรท้องถิ่น ส่วน 4 วิธีการในการบังคับใช้ – การศึกษา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และกลไกการเงิน 3 Principles of Environmental Law

37 ที่มาของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
ลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อถกเถียงในประเด็น “soft law” การไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน ขั้นตอน และพันธกรณี การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (การเข้าเป็นภาคี) subject of law = State การให้สัตยาบัน Ratification การภาคยานุวัติ (การบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน) subject of law = people การรายงานผลปฏิบัติการ 21: 3 Principles of Environmental Law

38 ลักษณะการดำเนินงานตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
ข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่รัฐต้องปฏิบัติตาม Stockholm Declaration: Rio Declaration: รัฐกำหนดนโยบาย/ มีการจัดตั้งหน่วยงานดูแล รัฐออกกฎหมายภายใน ระดับประเทศเช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ 3 Principles of Environmental Law

39 หลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
หลักเหตุเดือนร้อนรำคาญ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่สมดุลคือการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต สันติภาพ การพัฒนา และสิ่งแวดล้อม ต้องพึงพิงซึ่งกันและกัน การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ 3 Principles of Environmental Law

40 หลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ (ต่อ)
หลักทรัพยสิทธิ (Property Rights) และสิทธิชุมชน สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน Rights to Know สิทธิการมีส่วนร่วม (Public Participation) ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle) ผู้ได้ประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary Pays Principle) หลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ Directive Principles of State) 3 Principles of Environmental Law

41 รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม
สิทธิในการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ม.66, 67 รวมถึงสิทธิในการฟ้องหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธินี้ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ ม.56,57 สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินใจ ม.58 สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และฟ้องหน่วยงานรัฐ ม.59,60 สิทธิในการออกเสียงประชามติ 3 Principles of Environmental Law

42 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน 3 Principles of Environmental Law

43 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง 3 Principles of Environmental Law

44 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 3 Principles of Environmental Law

45 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ 3 Principles of Environmental Law

46 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 58 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน 3 Principles of Environmental Law

47 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 59 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว  มาตรา 60 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น 3 Principles of Environmental Law

48 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้ มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการ บังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย 3 Principles of Environmental Law

49 World Database on Protected Areas (WDPA)
International Union for Conservation of Nature and Natural Resources (IUCN) Nigel Dudley, ed., Guidelines for Applying Protected Area Management Categories (Gland, Switzerland: International Union for Conservation of Nature and Natural Resources, 2008) 3 Principles of Environmental Law

50 3 Principles of Environmental Law
I) strict protection (including I(a) – strict nature reserve and I(b) – wilderness area) II) ecosystem conservation and protection (i.e. national parks) III) conservation of natural features (i.e. natural monuments) IV) conservation through active management (i.e. habitat/species management areas) V) landscape/seascape conservation and recreation VI) sustainable use of natural resources (i.e. managed resource protected areas) 3 Principles of Environmental Law

51 3 Principles of Environmental Law
ตามการจำแนกประเภทของพื้นที่คุ้มครองจากรายงานของประเทศที่ที่กรมอุทยานจัดทำขึ้นเพื่อรายงานต่อ International Centre for Environmental Management (ICEM) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า = I) strict protection เขตอุทยานแห่งชาติ = II) ecosystem conservation and protection พื้นที่สวนป่า = V) landscape/seascape conservation and recreation พื้นที่ลุ่มน้ำ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า = VI) sustainable use of natural resources ข้อสังเกต – เราอาจจัดให้การจัดการป่าชุมชนอยู่ในประเภทการจัดการพื้นที่คุ้มครองแบบที่ 6 ได้ 3 Principles of Environmental Law

52 ข้อแนะนำในการจัดการ พื้นที่คุ้มครอง
ขยายพื้นที่ ปรับปรุงการเชื่อมต่อ/เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่คุ้มครอง พัฒนา ปรับปรุงการจัดการพื้นที่คุ้มครอง พัฒนา ปรับปรุงประโยชน์ของพื้นที่คุ้มครองต่อชุมชนท้องถิ่น จัดการผู้ใช้/ผู้เข้าชมพื้นที่คุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนา ปรับปรุงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานรัฐ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน ข้อสังเกตในการเสนอข้อแนะนำนี้ มีความเป็นไปได้ในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่คุ้มครองได้มากน้อยเพียงใด? 3 Principles of Environmental Law

53 3 Principles of Environmental Law
พื้นที่ลุ่มน้ำ การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำจำแนกตามมติคณะรัฐมนตรี แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้นย่อย คือ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ ในปี พ.ศ สำหรับลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ชี มูล และลุ่มน้ำภาคใต้ ปี พ.ศ สำหรับลุ่มน้ำภาคตะวันออก และปี พ.ศ สำหรับลุ่มน้ำตะวันตก ภาคกลาง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนอื่นๆ (ลุ่มน้ำชายแดน) พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1B, เป็นพื้นที่ที่สภาพป่าส่วนใหญ่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน พ.ศ.2525 3 Principles of Environmental Law

54 3 Principles of Environmental Law
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ที่มีค่าดัชนีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตามที่การศึกษาเพื่อจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำของแต่ละลุ่มน้ำได้กำหนดไว้ พื้นที่ดังกล่าวเหมาะต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองจากลุ่มน้ำชั้นที่ 1 สามารถนำพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ที่สำคัญอย่างอื่นได้ เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นต้น พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งการทำไม้ เหมืองแร่ และการปลูกพืชกสิกรรมประเภท ไม้ยืนต้น 3 Principles of Environmental Law

55 3 Principles of Environmental Law
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4 โดยสภาพป่าของลุ่มน้ำชั้นนี้ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นที่ใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการพืชไร่เป็นส่วนใหญ่  พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5 พื้นที่นี้โดยทั่วไปเป็นที่ราบหรือที่ลุ่มหรือเนินลาดเอียงเล็กน้อย และส่วนใหญ่ป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาและ กิจการอื่นไปแล้ว  3 Principles of Environmental Law

56 มาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1A, มติคณะรัฐมนตรีกำหนดห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบอื่นอย่างเด็ดขาดทุกกรณี ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, ก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคงในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 จำนวน 3 เส้นทาง โดยยกเว้นไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2519 เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, อีกไม่ว่ากรณีใด พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1B, มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ในกรณีที่ต้องมีการก่อสร้างถนนผ่าน หรือการทำเหมืองแร่ หน่วยงานรับผิดชอบจะต้องควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน และกรณีส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่ต้องใช้ที่ดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องจัดทำรายงานการเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป 3 Principles of Environmental Law

57 มาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 2 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ในกิจกรรมป่าไม้ เหมืองแร่ แต่ต้องควบคุมวิธีการปฏิบัติในการใช้ที่ดินอย่างเข้มงวดกวดขัน และการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางด้านการเกษตรกรรม ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ในกิจกรรมป่าไม้ เหมืองแร่ กสิกรรม หรือกิจการอื่น ๆ แต่ต้องมีการควบคุมวิธีการปฏิบัติอย่างเข้มงวดให้เป็นไปตามหลักอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 4 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ทุกกิจกรรม แต่หากใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ต้องเป็นบริเวณที่มีความลาดชันไม่เกิน 28 เปอร์เซ็นต์ และต้องมีการวางแผนใช้ที่ดินตามมาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 5 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ได้ทุกกิจกรรม 3 Principles of Environmental Law

58 การกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรม
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรม และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรม ป่าเสื่อมโทรม หมายความว่า ป่าที่มีสภาพเป็นป่าไม้ร้าง หรือทุ่งหญ้า หรือเป็นป่าที่ไม่มีไม้มีค่าขึ้นอยู่เลย หรือมีไม้มีค่าลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อยและป่านั้นยากที่จะฟื้นคืนดีตามธรรมชาติได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 คือ เป็นป่าไม้ที่มีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นคืนดีได้ตามธรรมชาติ โดยมีไม้ขนาดความโตวัดโดยรอบลำต้นตรงที่สูง 130 เซนติเมตร ตั้งแต่ 50 – 100 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ 8 ต้น หรือมีไม้ขนาดความเกิน 100 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ 2 ต้น ในกรณีที่ป่านั้นอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้นที่ 1A, ชั้นที่ 1B, และชั้นที่ 2 แม้จะมีต้นไม้น้อยเพียงใดก็ตาม ก็มิให้กำหนดเป็นป่าเสื่อมโทรม จบ ☃ 3 Principles of Environmental Law


ดาวน์โหลด ppt Principles of Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google