งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ Tel ext 104 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Mobile:

2 1. หลักการ (Basic concepts)
1) เป็นการศึกษาผลกระทบของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น อันอาจส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาและรอบโครงการ ทั้งในลักษณะผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิตในธรรมชาติและรอบตัวมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 2) จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลหลายด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมกายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์และคุณภาพชีวิต ดังนั้น การศึกษาต้องมีประเด็น และระดับความละเอียดของการศึกษาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดของโครงการเป็นสำคัญ

3 3) เป็นงานทางเทคนิค ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามหลักทางวิชาการ คือต้องชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างชัดเจน และจะต้องเสนอมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้อย่างเหมาะสม 4) เป็นเอกสารที่มีความถูกต้องชัดเจนและเข้าใจง่าย มีการเสนอ วิธีการศึกษาและรายละเอียดทางวิชาการ พร้อการอ้างอิงไว้ในรายงานฯอย่างสมบูรณ์เพียงพอต่อการพิจารณาด้วย

4 5) ต้องมีการเสนอทางเลือก เช่น ทางเลือกสำหรับที่ตั้งโครงการ ทางเลือกสำหรับการดำเนินการที่มีผลกระทบน้อยกว่า เพื่อช่วยในการตัดสินใจดำเนินโครงการตลอดจนมีข้อมูลเปรียบเทียบทางด้านเงินลงทุนกับประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 6) ผลที่ได้จากการศึกษาและจัดทำรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องนำไปผนวกเป็นปัจจัยรวมในการออกแบบระบบป้องกันและควบคุมมลพิษ ตลอดจนระบบป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ล่วงหน้าอย่างเหมาะสมก่อนที่จะดำเนินโครงการ

5 2. วัตถุประสงค์ (Objectives)
1) เพื่อจำแนก ทำนายและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการ โดยเปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มีโครงการ 2) เพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นวางแผนโครงการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการดำเนินโครงการ 3) เพื่อสนับสนุนหลักการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4) เพื่อให้มีการนำปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการวางแผนโครงการและตัดสินใจดำเนินโครงการ

6 โครงการของเอกชนและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับ
3. ขั้นตอนการจัดทำและพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3.1 โครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นจาก ครม. บุคคลผู้ขออนุญาต เสนอรายงานต่อ สผ. และเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต รายงานไม่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ครบถ้วน สผ. ตรวจรับรายงาน (15 วัน) รายงานถูกต้อง/ข้อมูลครบถ้วน สผ. พิจารณาเสนอความเห็นเบื้องต้น (15 วัน) บุคลคลผู้ขออนุญาต แก้ไขรายงาน คณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯ พิจารณา (45 วัน) เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตรอการอนุญาต เห็นชอบ เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตสั่งอนุญาต โครงการของเอกชนและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับ ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไม่ต้องจัดทำ IEE, TOR

7 เสนอรายงานฉบับแก้ไขต่อ สผ. และเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต
3.2 โครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นจากคณะรัฐมนตรี (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม/จัดทำใหม่ทั้งฉบับ) บุคคลผู้ขออนุญาต *โครงการของรัฐ / รัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไม่มีกำหนดเวลาการพิจารณา เสนอรายงานฉบับแก้ไขต่อ สผ. และเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต แก้ไขรายงาน สผ. สรุปผลการพิจารณาเสนอ 30 วัน คณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯ พิจารณา ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ เจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาต รอการอนุญาต เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตสั่งอนุญาต

8 สผ.สรุปความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯ
3.3 โครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ โครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นจากคณะรัฐมนตรี เสนอ TOR ต่อ สผ. เพื่อให้ความเห็น รัฐ รัฐวิสาหกิจ จัดทำรายงานตั้งแต่ขั้นศึกษาความเหมาะสมของโครงการ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯ พิจารณา สผ.สรุปความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯ *การจัดทำ TOR ยังไม่เป็นขั้นตอนที่บังคับแต่เป็นข้อเสนอแนะที่ควรดำเนินการเพื่อให้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมากขึ้น คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

9 ขั้นกลั่นกรองโครงการ
ขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขั้นกลั่นกรองโครงการ ริเริ่มโครงการ อปท.ให้ความเห็นชอบการจัดทำรายงาน ขั้นกำหนด TOR กำหนด TOR &สาขาศึกษาหลัก คัดเลือกที่ปรึกษา ขั้นจัดทำรายงาน จัดทำรายงาน ไม่เห็นชอบรายงาน โครงการ จัดทำรายงานฉบับสุดท้าย คชก. แก้ไขรายงาน ขั้นพิจารณารายงาน เอกชน โครงการรัฐ ควรยุติโครงการ เห็นชอบรายงาน คชก. โครงการเสนอ ครม. ไม่เห็นชอบโครงการ เห็นชอบรายงาน ไม่เห็นชอบรายงาน หน่วยงานอนุญาต ไม่อนุญาตโครงการ ศึกษาเพิ่มเติม กก.วล. อนุญาตโครงการ ไม่เห็นชอบโครงการ หยุดหรืออุธรณ์ ยุติโครงการ ครม. ไม่อนุมัติโครงการ อนุมัติโครงการ ขั้นติดตามตรวจสอบ องค์การมหาชน ติดตามตรวจสอบการแก้ไข หน่วยงานอนุญาต ระยะเวลาพิจารณารายงานตาม พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535

10 4. แนวทางการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4.1 สาระสำคัญของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญการ ผู้พิจารณารายงานฯ ควรประกอบด้วยรายงานต่างๆ ดังนี้ 1. รายงานฉบับย่อ (Executive summary) รายงานฉบับย่อต้องเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจโดยใช้ภาษาที่บุคคลทุกกลุ่ม แม้แต่กลุ่มองค์กรเอกชนสามารถเข้าใจได้ง่าย และเสนอเรื่องย่อของข้อมูลส่วนต่าง ๆ โดยชี้ให้เห็นถึงจุดสำคัญ เช่น ผลกระทบที่สำคัญ และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเสนอข้อมูลที่กระชับเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่ายในสาระต่างๆ ที่เสนอไว้ได้โดยตลอด สาระสำคัญควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

11 (1) ประเภทและขนาดโครงการ พร้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
(2) ที่ตั้งโครงการ ควรมีภาพและแผนที่ที่ตั้งโครงการ แผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มาตราส่วน 1:50,000 บริเวณโดยรอบโครงการที่อาจได้รับ ผลกระทบหรือมาตราส่วนที่เหมาะสม (3) ทางเลือกที่ตั้งโครงการและวิธีการดำเนินโครงการ พร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือก แนวทางที่เสนอ (4) รายงานการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พร้อมมาตรการถป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว และมาตรการติดตามตรวจสอบตามแบบ สผ. 1 (5) มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

12 2. รายงานหลัก (Main Report) หรือรายงานฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย
1) ส่วนหน้าของรายงาน (1) ปกหน้าและปกในของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ตามแบบ สผ.2 (2) หนังสือรับรองการจัดทำรายงาน บัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงาน ตามแบบ สผ.3 (3) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (4) บัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงาน งานที่รับผิดชอบ พร้อมลายเซ็นต์และสัดส่วนการทำงาน

13

14

15

16

17

18 2) บทนำ (1) ที่มาของโครงการและเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการ (2) วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงาน (3) กำหนดการดำเนินโครงการ (4) ขอบเขตการศึกษาและวิธีการ

19 3) รายละเอียดโครงการ ให้บรรยายถึงรายละเอียดข้อมูลโครงการอย่างเพียงพอเพื่อให้เกิดภาพพจน์ของโครงการ และเพื่อให้สามารถใช้เป็นแนวความคิดประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นข้อมูลที่จะต้องแสดงรายละเอียดไว้ ได้แก่ (1) ประเภทและขนาดโครงการ/กำลังผลิต (2) ความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการ (3) ที่ตั้งโครงการและเส้นทางเข้าถึงโครงการ ให้แสดงแผนที่ แผนผัง ในมาตราส่วนที่ชัดเจน พร้อมทั้งรูปถ่ายสีในบริเวณที่ตั้งโครงการและบริเวณใกล้เคียง และภาพจำลองสามมิติ แสดงให้เห็นความแตกต่างกรณีมีโครงการและไม่มีโครงการ

20 (4) ระยะเวลาที่จะดำเนินการ
(5) เหตุผลในการเลือกที่ตั้งโครงการ (โดยเป็นเหตุผลที่ได้ พิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อม) (6) รายละเอียดกระบวนการ กิจกรรมภายในโครงการความ ต้องการวัตถุดิบ พลังงาน ระบบสาธารณูปโภค จำนวน พนักงาน คนงาน ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แสดงแผนผังกระบวนการ แบบแปลนการก่อสร้าง โครงการและองค์ประกอบอื่นๆ ของโครงการ เพื่อให้ สามารถเข้าใจกระบวน /กิจกรรมได้อย่างชัดเจน (7) สารพิษหรือของเสียที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการการ ดำเนินการก่อสร้างโครงการ (ระบุชนิด ปริมาณ สารพิษ หรือของเสีย และจุดกำเนิดมลพิษ) (8) รายละเอียดระบบบำบัดมลพิษหรือของเสีย การดูแล การ ควบคุม และประสิทธิภาพของระบบ

21 ตาราง รายละเอียดและระยะเวลาของการศึกษา
ตาราง รายละเอียดและระยะเวลาของการศึกษา รายละเอียด ระยะเวลา (เดือน) 1. ลงนามในสัญญาการจ้างงาน 2. รวบรวมเอกสาร/ศึกษาพื้นที่เบื้องต้น 3. เก็บข้อมูลภาคสนาม 4. วิเคราะห์ข้อมูล/ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 5. ส่งรายงาน 5.1 รายงานแผนการศึกษาเบื้องต้น 5.2 รายงานฉบับกลาง 5.3 ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ 5.4 รายงานฉบับสมบูรณ์ และ รายงาน สรุปสำหรับผู้บริหาร

22 ภาพ บริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำคีรีธารแบบสูบกลับ จ
ภาพ บริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำคีรีธารแบบสูบกลับ จ.จันทบุรี

23 4) สภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ให้แสดงผลการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพปัจจุบันของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และคุณค่าต่างๆ ที่มีต่อมนุษย์ พร้อมด้วยแผนที่โครงการ และบริเวณพื้นที่ที่อาจได้รับผกระทบกระเทือนจากโครงการ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำคัญในแต่ละหัวข้อที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการ ที่ สผ.ได้ระบุข้อกำหนดในการศึกษา (TOR) ดังตาราง

24 ประเภท ประเด็นศึกษา 1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บนบก ภูมิสัณฐาน -ลักษณะภูมิประเทศ ระดับความสูง ลักษณะ โดดเด่น เช่น เกาะ หน้า ผา ฯลฯ ดิน -ชนิดดิน ศักยภาพของดิน หน้าตัดของดิน กษัยการของดิน การตกตะกอน -คุณสมบัติกายภาพ เคมี ชีวภาพ และ สมรรถนะของดิน ธรณีวิทยา -ลักษณะทางธรณีวิทยา แผ่นดินไหว ทรัพยากรแร่ -แหล่งแร่ ชนิด ปริมาณแร่ธาตุในพื้นที่ และ บริเวณใกล้เคียงโครงการ

25 ประเภท ประเด็นศึกษา ในน้ำ
ประเภท ประเด็นศึกษา ในน้ำ น้ำผิวดิน/น้ำใต้ดิน แหล่งน้ำ ปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ อัตรา การไหล น้ำทะเล ลักษณะทางสมุทรศาสตร์ คุณภาพน้ำ การหมุนเวียนของน้ำ การแบ่งชั้นของน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้น อุณหภูมิ หมอก พายุ คุณภาพอากาศ เสียง ระดับความเข้มของเสียง ความถี่

26 ประเภท ประเด็นศึกษา 2. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ สัตว์/พืช นิเวศวิทยาบนบก/ในน้ำ ชนิด ปริมาณ การแพร่กระจาย แหล่งที่อยู่อาศัย การอพยพย้ายถิ่น สิ่งมีชีวิตที่หายาก ชนิด ปริมาณ ความสำคัญ 3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ น้ำดื่ม/น้ำใช้ แหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ ความเพียงพอ การคมนาคมขนส่ง เส้นทางคมนาคม (ทางหลวง ทางรถไฟ ขนส่งทาง น้ำ) ไฟฟ้าและพลังงาน แหล่งที่มา ชนิด ประเภท ความ เพียงพอ น้ำท่วม/ระบบ ควบคุมประสิทธิภาพการระบายน้ำ

27 ประเภท ประเด็นศึกษา การเกษตรกรรม การพัฒนาการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การชลประทาน การปลูกป่า การอุตสาหกรรม ลักษณะการทำอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ลักษณะทางทำเหมืองแร่ นันทนาการ รูปแบบ ลักษณะการใช้พื้นที่ นันทนาการ พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ของสาธารณะ พื้นที่ สีเขียว การใช้ที่ดิน สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การกำหนดพื้นที่เฉพาะ

28 ประเภท ประเด็นศึกษา 4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
ประเภท ประเด็นศึกษา 4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจสังคม ข้อมูลประชากร (จำนวน อาชีพ รายได้ ภาษา ศาสนา ฯลฯ) การตั้งถิ่นฐาน ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการ การสาธารณสุข อัตราการเจ็บป่วย โรคระบาด โรคประจำถิ่น การบริการทางสาธารณสุข อาชีวอนามัย โรคจากการทำงาน อุบัติเหตุจากการทำงาน ความเสี่ยง (กรณีโครงการที่มีความเสี่ยง) ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ โบราณคดี ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม สุนทรียภาพ คุณค่าความงดงามของแหล่งท่องเที่ยวสถานที่ สำคัญทางธรรมชาติแหล่งธรรมชาติอัน ควรอนุรักษ์

29 5) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ
ให้ทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งขนาด (magnitude) และทิศทาง (direction) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมในการดำเนินโครงการทั้งที่เป็นผลกระทบโดยตรงและผลกระทบทางอ้อม ทั้งในในระยะสั้นและระยะยาว อย่างเป็นรูปธรรม โดยแสดงผลในรูป matrix checklist modeling

30 ในทุกๆ สิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบทางลบตั้งแต่ระดับน้อยขึ้นมาจะต้องเสนอ
6) มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ในทุกๆ สิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบทางลบตั้งแต่ระดับน้อยขึ้นมาจะต้องเสนอ - มาตรการหรือแผนป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ - มาตรการหรือแผนแก้ไข เพื่อให้ระดับผลกระทบลดลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ สำหรับสิ่งแวดล้อมที่เสียหาย ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงและนำกลับคืนได้ ต้องมีแผนชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น แผนชดเชยทรัพย์สิน และที่ดิน เป็นต้น

31 7) การพิจารณาทางเลือกของโครงการ
7) การพิจารณาทางเลือกของโครงการ (1) การเลือกขนาดโครงการ (project screening) สถานที่เดียวกันแต่เลือกขนาดโครงการ (2) การเลือกที่ตั้งโครงการ (site screening) โครงการเดียวกัน แต่เลือกสถานที่ ต้องพิจารณาให้มีความสมดุลกันทั้ง 3 ทาง คือ 1. เศรษฐกิจสังคม 2. วิศวกรรม 3. สิ่งแวดล้อม

32 การพิจารณาทางเลือกของโครงการแต่ละทางเลือกนั้น
ประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้น คือ 1. สรุปผลเสียหายทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น 2. วิเคราะห์แสดงความสัมพันธ์เปรียบเทียบผลกระทบในแต่ละ ทางเลือกต่างๆ ของโครงการ พิจารณาเลือกโครงการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ใกล้เคียงกัน แต่ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ทางเลือกอื่น ๆ ทั้งนี้ ผลกระทบดังกล่าวจะต้องอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ด้วย

33 8) การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หากโครงการได้มีการประสานงานถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการและมีใบอนุญาตหรือยินยอมการใช้ประโยชน์หรือเอกสารอื่นใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการพิจารณารายงานฯ ก็ให้แสดงไว้ในส่วนนี้ นอกจากนี้หากโครงการได้มีการทำประชาพิจารณ์ หรือการมีสวนร่วมของประชาชนในขั้นการกำหนดหัวข้อการศึกษาหรือในระยะการจัดเตรียมรายงานฯ ไว้แล้ว ก็ให้แสดงรายละเอียดผลการดำเนินงานด้วย

34 9) มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ในส่วนนี้เป็นการอธิบายเกี่ยวกับแผนงานการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบยืนยันประสิทธิภาพของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงานและเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับ - สถานี หรือสถานที่ในการตรวจวัด - ระยะเวลา และความถี่ในการตรวจวัด - ดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ทำการตรวจวัด - วิธีการ และงบประมาณในการตรวจวัด - หน่วยงานที่ทำการตรวจวัด

35 10 ) บทสรุป ทำตารางสรุปผลกระทบในแต่ละสิ่งแวดล้อม และ ผลกระทบโดยรวมของโครงการ ตลอดจนมาตรการป้องกัน แผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแผนติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม 11) ภาคผนวก ประกอบด้วยแหล่งที่มาของเอกสาร รายงานการศึกษา ผลงานวิจัย ข้อมูลภาคสนาม ตัวอย่างแบบสอบถาม มาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ตลอดจนจะต้องมีรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้และสามารถจัดหาให้ได้หากผู้พิจารณาต้องการ

36 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1. รายงานฉบับย่อ (Executive summary) 1) ประเภทและขนาดโครงการ พร้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) ที่ตั้งโครงการ ควรมีภาพและแผนที่ที่ตั้งโครงการ 3) ทางเลือกที่ตั้งโครงการและวิธีการดำเนินโครงการ 4) รายงานการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 5) มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 2. รายงานหลัก (Main Report) หรือรายงานฉบับสมบูรณ์ 1) ส่วนหน้าของรายงาน 2) บทนำ 3) รายละเอียดโครงการ 4) สภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน 5) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ 6) มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 7) การพิจารณาทางเลือกของโครงการ 8) การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 9) มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม 10) บทสรุป 11) ภาคผนวก

37 เอกสารที่ต้องนำเสนอ ส.ผ.
1. จำนวนรายงานฯ 1.1 โครงการของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย - รายงานฉบับหลัก (Main Report) จำนวน ชุด - รายงานฉบับย่อ (Executive Summary) จำนวน ชุด - สรุปรายละเอียดโครงการ จำนวน 25 ชุด (ตามแบบฟอร์ม) - CD – ROM (รายละเอียดโครงการ) จำนวน แผ่น - รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับหลัก) จำนวน ชุด - รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับย่อ ) จำนวน ชุด CD – ROM (ฉบับสมบูรณ์) จำนวน แผ่น 1.2 โครงการของเอกชน - รายงานฉบับหลัก (Main Report) จำนวน 18 ชุด - สรุปรายละเอียดโครงการ จำนวน 18 ชุด (ตามแบบฟอร์ม) - รายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน ชุด (ฉบับแก้ไขปรับปรุง 5 ชุด ฉบับรวมเล่ม 1ชุด) - CD – ROM (ฉบับสมบูรณ์) จำนวน แผ่น

38 เอกสารที่ต้องนำเสนอ ส.ผ.
2. หนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการเสนอรายงานฯ (ถ้ามี) 3. เอกสารที่ต้องผนวกไว้ในรายงานฯ - ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการจัดทำรายงานฯ - บัญชีรายชื่อรับรอง หัวข้อการศึกษา และคุณวุฒิของผู้ร่วม จัดทำรายงานฯ โดยระบุหัวข้อศึกษา คุณวุฒิการศึกษา ที่อยู่ ที่ทำงานปัจจุบัน ลายมือชื่อ สัดส่วนการทำงาน เป็นต้น - แผนการดำเนินการและระยะเวลาการศึกษา โดยระบุวัน เดือน ปี ที่ เริ่มดำเนินการศึกษาและสิ้นสุดการศึกษา

39 5. ประเภทของรายงาน 5.1 ข้อเสนอโครงการ (Project Proposal)
5. ประเภทของรายงาน 5.1 ข้อเสนอโครงการ (Project Proposal) 5. 2 รายงานการศึกษาเบื้องต้น (Inception Report) 5.3 รายงานโปรแกรมการประกันและควบคุมคุณภาพ (QA/QC Program Report) 5.4 รายงานความก้าวหน้า (Progress Report) 5.5 รายงายฉบับกลาง (Interim Report) 5.6 ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) 5.7 รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) 5.8 รายงานเอกสารประกอบการสัมนาประชาพิจารณ์

40 5. ประเภทของรายงาน 5.1 ข้อเสนอโครงการ (Project Proposal) จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาหรือสถานศึกษาที่มีใบอนุญาตให้เป็นผู้ที่มีสิทธิจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และขึ้นทะเบียนไว้ตามบัญชีของ สผ. เนื้อหาของรายงานควรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) ด้านวิชาการ - ระบุสิ่งแวดล้อมที่จะต้องศึกษา (ตาม TOR) และเพิ่มเติมได้ ตามที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ - วิธีการศึกษาแต่ละทรัพยากรอย่างคร่าวๆ - ระยะเวลาการศึกษา - ระยะเวลาการส่งรายงานและจำนวนรายงาน - แผนการดำเนินงานอย่างคร่าวๆ

41 ระบุรายชื่อบุคลากรผู้ชำนาญการและงานที่รับผิดชอบและ เจ้าหน้าที่โครงการ
2) บุคลากร ระบุรายชื่อบุคลากรผู้ชำนาญการและงานที่รับผิดชอบและ เจ้าหน้าที่โครงการ 3) งบประมาณ ระบุงบประมาณทั้งหมดในการจัดทำรายงานโดยแยกเป็น - ด้านบริหารโครงการ - ด้านการเก็บ/วิเคราะห์ข้อมูล - ค่าตอบแทนผู้ชำนาญการ/ผู้ศึกษา

42 บุคลากรที่ร่วมโครงการ
คณะผู้ศึกษาขอเสนอบุคลากรหลักเพื่อดำเนินการศึกษาปรับปรุงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธารแบบสูบกลับ ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1) รศ.ดร.สามัคคี บุณยะวัฒน์ หัวหน้าโครงการ/ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม 2) รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะฤษดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรดิน/พลังงาน/เสียง/ผู้จัดการโครงการ/บรรณาธิการ 3)รศ.ดร.วีระพล แต้สมบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกวิทยาน้ำผิวดินและแหล่งน้ำ /การใช้น้ำ /ป้องกันน้ำท่วม 4) รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมโชค ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว/แร่/น้ำใต้ดิน/เสียง 5) รศ.ดร.วิชา นิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ/การจัดการลุ่มน้ำ 6) รศ.ดร.สุขุม เร้าใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน 7) รศ.ดร.ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาทางน้ำ/ทรัพยากรประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 8) รศ.ดร.ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี ผู้เชี่ยวชาญด้านการชดเชยทรัพย์สิน 9) รศ.ศรีอร สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการชดเชยทรัพย์สิน 10) ผศ.ดร.พัฒนา อนุรักษ์พงศธร ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศ/เสียง

43 11) ผศ.ดร.ชวเลข วณิชเวทิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการคมนาคมขนส่ง
11) ผศ.ดร.ชวเลข วณิชเวทิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการคมนาคมขนส่ง 12) ผศ.ดร.กาญจน์เขจร ชูชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ที่ดินและเกษตรกรรม 13) อ.สุรพันธ์ เพชราภา ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจสังคม/คุณภาพชีวิต 14) อ.วรชัย วิริยารมณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณสถาน/โบราณวัตถุ 15) อ.พูลศิริ กิจวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตร/อุตสาหกรรม 16) ดร.สมนิมิตร พุกงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการพังทลายของดิน/สิ่งอำนวยความสะดวก/บรรณาธิการ 17) อ.ยุทธพงษ์ คีรีมังคละ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาบนบก/บรรณาธิการ 18) นางเติมศิริ จงพูลผล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัย/บรรณาธิการ 19) นางสาวชัญญา วงศ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข/โภชนาการ/บรรณาธิการ 20) นางรื่นจิตร คงสินธ์ บรรณาธิการและประสานงาน 21) นางจุฑาพร ฉันทากร บรรณาธิการและประสานงาน 22) นางธนกร เสริมสมัคร บรรณาธิการและประสานงาน 2. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี 1) อ.มาโนชญ์ กุลพฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม/ชลประทาน 2) อ.มนตรี ตั้งจันทร์แสงศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐสังคม

44 หัวข้อของข้อเสนอโครงการ
1) คำนำ 2) วัตถุประสงค์ 3) คณะผู้ทำการศึกษา 4) หลักการศึกษา/เหตุผล 5) ลักษณะโครงการ 6) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 7) ขอบเขตการศึกษา 8) วิธีการศึกษา 9) ระยะเวลาการดำเนินการ 10) ผลที่คาดว่าจะได้รับ 11) การส่งรายงาน 12) งบประมาณ 13) ระยะเวลาในการจ่ายเงิน

45 5. 2 รายงานการศึกษาเบื้องต้น (Inception Report)
เป็นรายงาน ที่จัดทำขึ้นภายหลังข้อเสนอโครงการได้รับอนุมัติและทำสัญญาแล้วประมาณ 1 เดือน มีหัวข้อรายงานดังนี้ :- 1) คำนำ 2) วัตถุประสงค์ (รวมของโครงการ) 3) ขอบเขตการศึกษาของทั้งโครงการและแต่ละสิ่งแวดล้อม 4) ลักษณะโครงการ 5) ผู้ชำนาญการ 6) แผนการดำเนิน/ปฏิบัติงานอย่างละเอียด - ระยะเวลาการเก็บข้อมูลของแต่ละสิ่งแวดล้อม - ระยะเวลาการส่งรายงาน 7) รายละเอียดการศึกษาของแต่ละสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียด - วัตถุประสงค์ (ของแต่ละด้าน) - ขอบเขตการศึกษา - วิธีการศึกษาตามหลักการทั่ว ๆ ไป ของแต่ละด้าน

46 5.3 รายงานโปรแกรมการประกันและควบคุมคุณภาพ (QA/QC Program Report)
5.3 รายงานโปรแกรมการประกันและควบคุมคุณภาพ (QA/QC Program Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเช่นเดียวกับรายงานการศึกษา เบื้องต้น แต่มีรายละเอียดที่ชัดเจนแน่นอนกว่า สามารถติดตาม และควบคุมได้ มีรายละเอียดดังนี้ 1) คำนำ 2) วัตถุประสงค์ (รวมของโครงการ) 3) ขอบเขตการศึกษาของทั้งโครงการและแต่ละสิ่งแวดล้อม 4) ลักษณะโครงการ 5) ผู้ชำนาญการและผู้ร่วมงานแต่ละด้าน (รวมทั้งหมด) 6) แผนการดำเนินการ/ปฏิบัติการอย่างละเอียด ระบุ - ระยะเวลา/ช่วงเวลาการเก็บข้อมูล/ วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน - ระยะเวลาการส่งรายงาน

47 7) รายละเอียดการศึกษาแต่ละด้าน มีหัวข้อดังนี้ :-
(1) วัตถุประสงค์ (2) ขอบเขตการศึกษา (3) วิธีการศึกษา - การเลือกจุดเก็บตัวอย่าง/การวางแปลงตัวอย่าง (ระบุสถานที่และจำนวน) - การเก็บข้อมูล/ความถี่ในการเก็บ - การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุวิธี/ดัชนีที่วิเคราะห์ (4) บุคลากร (5) อุปกรณ์และเครื่องมือ

48 5.4 รายงานความก้าวหน้า (Progress Report)
เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการศึกษา EIA จะมีกี่รายงานขึ้นอยู่กับระยะเวลาการศึกษา รายงานความก้าวหน้า มีหัวข้อรายงานดังนี้ 1) คำนำ 2) วัตถุประสงค์ของรายงานความก้าวหน้า 3) ลักษณะโครงการ 4) รายละเอียดที่ได้ดำเนินการไปแล้ว (1) การประชุมผู้ร่วมงาน/หน่วยงาน (2) งานในสำนักงาน (3) งานภาคสนาม (4) ผลการศึกษา (ถ้ามี) 5) ปัญหาอุปสรรค 6) งานที่จะดำเนินการต่อไป - เก็บข้อมูลภาคสนามครั้งที่ 2 - วิเคราะห์ข้อมูล - เขียนรายงาน - เขียนรายงานฉบับสมบูรณ์

49 5.5 รายงายฉบับกลาง (Interim Report)
จัดทำขึ้นในกรณีที่มีระยะเวลาการศึกษา 1ปีหรือมากกว่าเป็นรายงานผลการศึกษาที่ผ่านมาครึ่งปี (6 เดือน) เน้นผลการศึกษามากขึ้น มีหัวข้อรายงานดังนี้ 1) คำนำ 2) วัตถุประสงค์ (ของโครงการ) 3) ลักษณะโครงการ - ความเป็นมาของโครงการ - รายละเอียดของโครงการ - สถานที่/ตำแหน่งที่ตั้ง 4) รายละเอียดของการศึกษาแต่ละด้าน - คำนำ - วัตถุประสงค์ - รายละเอียดการศึกษา - ผลการศึกษา (ต้องมี) 5) งานที่จะดำเนินการต่อไป

50 5.6 ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์(Draft Final Report)
ทำรายงานเหมือนรายงานฉบับสมบูรณ์ทุกประการ เพื่อส่งให้เจ้าของโครงการพิจารณารายงาน เพื่อปรับปรุง/เพิ่มเติม/แก้ไข ก่อนทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 5.7 รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เพื่อส่งให้ สผ. พิจารณา มีหัวข้อดังได้กล่าวไว้แล้ว แบ่งเป็น 1) รายงานหลัก (Main Report) 2) รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) 3) รายงานฉบับผนวก (Appendix Report) ถ้ามีข้อมูล ประกอบมาก

51 5.8 รายงานเอกสารประกอบการสัมนาประชาพิจารณ์
1) คำนำ (1) เหตุผล (2) วัตถุประสงค์ 2. รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ 3. ผลการศึกษา 3.1 ผลการศึกษาความเหมาะสม (ทางเลือก) 3.2 ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4. ภาคผนวก (1) รายชื่อ กก.ประชาพิจารณ์ (2) รายงาน/ตาราง ที่มีรายละเอียดมากๆ

52

53

54

55 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google