งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

TEPE Online Teachers and Educational Personnels

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "TEPE Online Teachers and Educational Personnels"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน
TEPE Online Teachers and Educational Personnels Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Majors

2 งานสัมฤทธิ์ผล คนมีความสุข
กรอบแนวคิดการพัฒนาครู งานสัมฤทธิ์ผล คนมีความสุข

3 หลักการ 1. บูรณาการวัตถุประสงค์และวิธีการในการพัฒนาครู 2. พัฒนาโดยระบบICT 3. ใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. ยึดโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพ (School base development) 5. ผลการพัฒนาครูเป็นเครื่องมือการพัฒนางานสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ

4 วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษาโดยยึดถือ| ภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน ด้วยระบบ TEPE Online มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อการพัฒนางานในหน้าที่ของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2. เพื่อการขอมีและต่อใบประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. เพื่อการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญของครูและบุคลากรทางการศึกษา 4. เพื่อการพัฒนาก่อนแต่งตั้งการเข้าสู่ตำแหน่ง 5. เพื่อการพัฒนาก่อนแต่งตั้งการมีและเลื่อนวิทยฐานะ

5 กลุ่มเป้าหมายการพัฒนา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ รองแลผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ พนักงานราชการและอัตราจ้างชั่วคราวตำแหน่งครู

6 เป้าหมายการพัฒนาระดับองค์กร
ลำดับที่ 1 คุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 2 คุณภาพสถานศึกษา ลำดับที่ 3 คุณภาพในการบริหารจัดการขององค์กร

7 เส้นทางการเปลี่ยนสายงานของข้าราชการครู
ตำแหน่ง ครู ศึกษา นิเทศก์ รองผอ.ร.ร. ผอ.ร.ร. รองผอ.สพท ผอ.สพท. ศึกษานิเทศก์ รองผอ.สพท.

8 ระบบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน ด้วยระบบ TEPE Online

9 กระบวนการพัฒนา TEPE Online เป็นระบบพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พัฒนาโดยมุ่งหวังให้เป็นระบบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพและประสิทธิภาพโดยระบบมีกระบวนการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การพัฒนาตนเอง เป็นส่วนที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์การพัฒนา โดยการเข้ารับการพัฒนาด้วยการเรียนรู้ผ่านเว็บไซด์ TEPE Online 2. การรับรองความรู้ เป็นส่วนที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการประเมินผ่านการพัฒนาตนเองแล้ว เข้าทดสอบรับรองความรู้ โดยมีศูนย์ทดสอบจังหวัดเป็นองค์กรสำคัญในการดำเนินการทดสอบรับรองความรู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและเชื่อถือได้

10 ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง

11 การพัฒนาตนเอง สามารถเข้ารับการพัฒนาได้ตามความสนใจและความต้องการ ผ่านระบบ TEPE Online ตามวิธีการและเกณฑ์ที่กำหนดตามขั้นตอน ดังนี้ 1. การลงทะเบียนเข้าระบบ ผู้เข้ารับการพัฒนาดำเนินการลงทะเบียน เข้ารับการพัฒนา ดังนี้ 1.1 สมัครเป็นสมาชิกระบบ TEPE Online ที่ 1.2 กรอกข้อมูลพื้นฐานสำคัญของตนเองสำหรับการลงทะเบียน 1.3 ระยะเวลาการลงทะเบียนเข้ารับการพัฒนา ทั้งนี้ระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนและดำเนินการพัฒนาในช่วงเปิดภาคเรียน ระหว่างเวลา – น. ของวันถัดไป ในช่วงปิดภาคเรียนและวันเสาร์ อาทิตย์ ระบบจะเปิดตลอด 24 ชั่วโมง 2. การเข้าสู่ระบบการพัฒนา เมื่อผู้เข้ารับการพัฒนากรอกข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ตามความจริงก็สามารถเข้าสู่ระบบการพัฒนาโดยระบบจะแสดงการยอมรับการเข้าสู่ระบบ

12 การเข้าสู่ระบบการพัฒนา
ไม่ผ่าน เมื่อครบ 4 เดือนจึงขอเข้ารับการรับรองความรู้อีกครั้ง ในรอบ 1 ปี สามารถเข้ารับการรับรองความรู้ได้ 3 ครั้ง

13 การเลือกวัตถุประสงค์การพัฒนา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการพัฒนาตนเอง เลือกวัตถุประสงค์การพัฒนา ดังนี้ 1. เพื่อการพัฒนางานในหน้าที่ของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2. เพื่อการขอมีและต่อใบประกอบ 3. เพื่อการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และ วิทยฐานะเชี่ยวชาญของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4. เพื่อการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง 4.1 การเข้าสู่ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ รองผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารการศึกษา 4.2 ให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครู ศึกษานิเทศก์ รองผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารการศึกษา

14 หลักสูตรการพัฒนา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นฐานด้วยระบบ TEPE Online ตามวัตถุประสงค์การพัฒนา ได้แก่ 1. การพัฒนางานในหน้าที่ 2. การขอมีและต่อใบประกอบวิชาชีพ 3. การขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ 4. การพัฒนาก่อนแต่งตั้ง ซึ่งมีขอบข่ายของหลักสูตรการพัฒนา ดังนี้ 1. การพัฒนางานในหน้าที่ จำนวน 120 วิชา 2. การขอมีและต่อใบประกอบวิชาชีพครู จำนวน 11 มาตรฐานความรู้ ตามที่คุรุสภากำหนด

15 ซึ่งมีขอบข่ายของหลักสูตรการพัฒนา ดังนี้
1. การพัฒนางานในหน้าที่ จำนวน วิชา 2. การขอมีและต่อใบประกอบวิชาชีพครู จำนวน มาตรฐานความรู้ ตามที่คุรุสภากำหนด ประกอบด้วย 1) ความเป็นครู 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 2) ปรัชญาการศึกษา 8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 3) ภาษาและวัฒนธรรม 9) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ 4) จิตวิทยาสำหรับครู ) การประกันคุณภาพการศึกษา 5) หลักสูตร ) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ 6) การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้

16 หลักสูตรการพัฒนา 3. การขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ 3.1 ครู
3. การขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ 3.1 ครู องค์ความรู้ จำนวน 21 วิชา สมรรถนะหลัก จำนวน 11 วิชา สมรรถนะประจำสายงาน จำนวน 3 วิชาหลัก วิชาย่อย 3.2 ศึกษานิเทศก์ องค์ความรู้ จำนวน วิชา สมรรถนะหลัก จำนวน วิชา สมรรถนะประจำสายงาน จำนวน วิชา

17 หลักสูตรการพัฒนา 3.3 ผู้บริหารสถานศึกษา องค์ความรู้ จำนวน 15 วิชา
องค์ความรู้ จำนวน วิชา สมรรถนะหลัก จำนวน วิชา สมรรถนะประจำสายงาน จำนวน วิชา 3.4 ผู้บริหารการศึกษา องค์ความรู้ จำนวน วิชา สมรรถนะประจำสายงาน จำนวน วิชา

18 หลักสูตรการพัฒนา 4. การพัฒนาก่อนการแต่งตั้ง
4.1 การเข้าสู่ตำแหน่ง (ตามหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกำหนด และ ก.ค.ศ.เห็นชอบ) 4.1.1 การพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สมรรถนะวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้พื้นฐาน ทักษะ เทคนิคและกระบวนการนิเทศการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กระบวนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ติดตาม ประเมิน รายงานผลการจัดการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

19 4.1.2 การพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 คุณลักษณะผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ สถานศึกษาที่พึงประสงค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การบริหารและการจัดการในสถานศึกษา

20 4.1.3 การพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 บุคคลแห่งการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สร้างและพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

21 หลักสูตรการพัฒนาก่อนมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ความเป็นครู หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตำแหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การจัดทำและนำเสนอแนวทางการพัฒนางานในหน้าที่ หรือ พัฒนานวัตกรรมและการสร้างหรือการปฏิบัติตนเป็เครือข่าย เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของครูเชี่ยวชาญ

22 หลักสูตรการพัฒนาก่อนมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคนิคการพัฒนาการนิเทศการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของศึกษานิเทศก์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะเชี่ยวชาญ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคนิคการพัฒนาการนิเทศการศึกษาและการสร้างเครือข่ายงานนิเทศ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การสร้างและพัฒนาผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและการพัฒนาภาพลักษณ์ของศึกษานิเทศก์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพัฒนาระบบคุณภาพการนิเทศการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

23 หลักสูตรการพัฒนาก่อนมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่หรือพัฒนานวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่

24 ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่หรือพัฒนา นวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่

25 หมวดหลักสูตรวิชา หมวดที่ 1 องค์ความรู้ เป็นหมวดของหลักสูตรรายวิชาต่างๆ ที่เป็นองค์ความรู้สำหรับผู้เข้ารับการพัฒนาจำเป็น มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการพัฒนา หมวดที่ 2 สมรรถนะหลัก เป็นหมวดของหลักสูตรรายวิชาต่างๆที่เสริมสร้างและพัฒนา ทักษะและคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่จำเป็นสำหรับผู้เข้ารับการพัฒนาซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง หมวดที่ 3 สมรรถนะประจำสายงาน เป็นหมวดของหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ ที่เป็นความรู้เฉพาะสายงานซึ่งมีความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมาย ผู้เข้ารับการพัฒนาต้องพิจารณาและทำความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อจะได้เลือกหลักการพิจารณาได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การพัฒนา และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีรายชื่อหลักสูตรรายวิชาการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้

26 การดำเนินการพัฒนา ผู้เข้ารับการพัฒนาดำเนินการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ทางการพัฒนา ดังนี้ 1. เลือกหลักสูตรการพัฒนา ที่ต้องการตามคำอธิบายหลักสูตรและลงทะเบียนเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตร นั้น ๆ 2. ดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการพัฒนาที่หลักสูตรรายวิชากำหนดไว้ ดังนี้ การทดสอบก่อนเรียน (Pre –Test) ตามรายวิชาที่หลักสูตรรายวิชากำหนดไว้ 2.2 การศึกษาเรียนรู้ตามกระบวนการที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือการสรุปองค์ความรู้ เป็นต้น 3. การทดสอบหลังเรียน (Post–Test) ตามวิธีการที่หลักสูตรกำหนด 4. ในกรณีที่ผู้เข้ารับการพัฒนาไม่ผ่านการทดสอบหลังเรียน หรือมีปัญหาในการเรียนรู้ไม่ครบองค์ประกอบตามเงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนดไว้สามารถเข้ารับการเรียนรู้และพัฒนาใหม่ได้ด้วยการเรียนซ้ำซึ่งไม่ต้องลงทะเบียนเรียนใหม่

27 การดำเนินการพัฒนา 5. แนวปฏิบัติในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการพัฒนา ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะส่งผลให้ผู้เข้ารับการพัฒนา สามารถเรียนรู้ได้อย่างสะดวกถูกต้องและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ 5.1 กรอกข้อมูลต่าง ๆ ตามความเป็นจริง 5.2 ศึกษาเรียนรู้ตามระบบและวิธีการที่ได้กำหนดไว้ 5.3 ตั้งใจศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจัง และต่อเนื่องจนจบหลักสูตรรายวิชาที่ได้เลือกไว้ 5.4 ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและพึ่งตนเอง 5.5 หากมีปัญหาขัดข้องหรือเกิดข้อสงสัย ผู้เข้ารับการทดสอบ ให้ติดต่อ ประสาน งานกับศูนย์สอบจังหวัดในจังหวัดนั้น ๆ หรือ ศูนย์ประสานระบบ TEPE Online

28 การวัดและประเมินผล การวัดผลประเมินผลการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นฐานด้วยระบบ TEPE Online ได้กำหนดให้มี การวัดผลประเมินผลก่อนพัฒนา และเมื่อสิ้นสุดการพัฒนา ดังนี้ 1. การประเมินก่อนการพัฒนา ผู้เข้ารับการพัฒนาสมัครเข้ารับการพัฒนาในวิชาใดวิชาหนึ่ง ต้องเข้าโปรแกรมรับการประเมินความรู้ ก่อนรับการพัฒนาด้วยการทดสอบความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ในแต่ละรายวิชา ตามจุดประสงค์ที่เข้ารับการพัฒนาซึ่งในแต่ละรายวิชาจะมีการกำหนดเกณฑ์ตัดสินผ่านไว้ 2. การประเมินหลังการพัฒนา ผู้เข้ารับการพัฒนาต้องเข้ารับการประเมินความรู้ด้วยการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาในแต่ละรายวิชาที่เข้ารับการพัฒนาในระบบ Online ซึ่งจะกำหนดเกณฑ์ผ่านไว้ในแต่ละรายวิชา ในกรณีที่สอบไม่ผ่านโปรแกรม จะให้กลับไปเรียนซ้ำ ซึ่งมีคำแนะนำไว้อย่างเป็นระบบ

29 การวัดและประเมินผล (ต่อ)
การวัดและประเมินผล (ต่อ) 3. เกณฑ์การผ่านการพัฒนา การผ่านรายวิชา เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของรายวิชานั้น ๆ ซึ่งจะใช้ผลการประเมิน การผ่านเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์ของการเข้าพัฒนา เป็นการพิจารณาประมวลผลการผ่านการพัฒนา ความรู้จากการทดสอบหลังการพัฒนาตามเกณฑ์การประเมินรายวิชานั้น ในระบบ Online แต่ละรายวิชาใน 3 หมวด คือ หมวดองค์ความรู้ หมวดสมรรถนะหลัก และหมวดสมรรถนะประจำสายงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ ในกรณีที่ผู้ลงทะเบียนเข้ารับการพัฒนาตนเอง ได้ตามเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดแล้วสามารถ Download เกียรติบัตรการเข้ารับการพัฒนาระบบ และสามารถลงทะเบียนสมัครสอบเพื่อขอรับใบรับรองความรู้(สัมฤทธิบัตร) กับศูนย์สอบจังหวัดต่อไป

30 การเข้ารับการทดสอบเพื่อการรับรองความรู้
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการพัฒนาตนเอง ตามวิธีการและเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถขอรับ การทดสอบเพื่อการรับรองความรู้โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1. ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับการทดสอบความรู้เพื่อการรับรองความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ กำหนดวัน เวลา สนามสอบและห้องสอบตามที่ศูนย์สอบจังหวัดกำหนดไว้ในระบบ TEPE Online 2. กรอกข้อมูลด้วยข้อความต่าง ๆ ให้ถูกต้องและตรงตามความจริง หากมีข้อผิดพลาด สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ภายในระยะที่กำหนด โดยสามารถลงทะเบียนเข้ารับการทดสอบ ณ ศูนย์สอบจังหวัด สนามสอบ และห้องสอบใดก็ได้ทุกแห่งทั่วประเทศ ผ่านระบบ TEPE Online ซึ่งระบบจะปิดอัตโนมัติ เมื่อมีผู้สมัครสอบแต่ละห้องสอบ / สนามสอบ เต็มจำนวนแล้ว

31 การเข้ารับการทดสอบเพื่อการรับรองความรู้
3. เข้ารับการทดสอบความรู้เพื่อการรับรองความรู้ตามวัน เวลาและสนามสอบที่กำหนด 4. ปฏิบัติตนในการเข้าทดสอบความรู้ภายในห้องสอบตามวิธีการและระเบียบการสอบอย่างเคร่งครัด

32 การดำเนินการสอบ ระบบ TEPE Online กำหนดการสอบในวัน เสาร์/อาทิตย์ วันละ 2 รอบ ๆ ละ นาที ตามคำชี้แจง ในการสอบของ แต่ละรายวิชา ดังนี้ รอบที่ 1 เริ่มเวลา – น. รอบที่ 2 เริ่มเวลา – น. ณ สนามสอบตามที่ศูนย์สอบจังหวัดแต่ละจังหวัดกำหนด

33 การดำเนินการสอบ ครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม 2558 สอบวันเสาร์/อาทิตย์ที่ 1,2/8,9/15,16/ และ 29,30 ครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม 2558 สอบวันเสาร์/อาทิตย์ที่ 5,6/12,13/ และ 26,27 ครั้งที่ 3 เดือนเมษายน 2559 สอบวันเสาร์/อาทิตย์ที่ 2,3/9,10/23,24/ 30 เมษายน และ 1 พฤษภาคม 2559

34 การรับรองความรู้ การรับรองความรู้เป็นการทดสอบความรู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการพัฒนาตนเองตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละวัตถุประสงค์ของการพัฒนา โดยมีศูนย์สอบจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการรับรองความรู้เป็นขั้นตอนสำคัญและเกิดประโยชน์ต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างยิ่งที่จะนำผลการรับรองความรู้เพื่อไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตนเองต่อไป

35 ศูนย์สอบ ศูนย์สอบจังหวัดเป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินการทดสอบความรู้ของการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการพัฒนาและยื่นประสงค์เข้ารับการทดสอบ ศูนย์สอบจังหวัด ซึ่งมีอยู่ 77 ศูนย์ ตามจังหวัดโดยมีคณะกรรมการบริหารศูนย์สอบจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการและกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 หรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด ที่มีเขตเดียว เป็นประธานคณะกรรมการ และมี คณะกรรมบริหารศูนย์สอบจังหวัด ขึ้นอยู่กับจำนวนเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนั้น

36 Thank you! TEPE Online


ดาวน์โหลด ppt TEPE Online Teachers and Educational Personnels

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google