งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 3 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 3 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 3 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป
หน่วยที่ 3 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป

2 วงจรบัญชี (The Accounting Cycle)
ขั้นตอนวีธีการบันทึกบัญชีครบวงจรในทางการค้า ลำดับขั้นไว้เป็นวงจรหมุนเวียนจนครบวงจรรอบปีทางบัญชีดังนี้ รายการค้า สมุดจดรายการขั้นต้น บัญชีแยกประเภท งบทดลอง รายการปรับปรุงและปิดบัญชี กระดาษทำการ งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน

3 1. เมื่อรายการค้าเกิดขึ้น ใช้เอกสารเป็นหลักฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์รายการค้า 2. เมื่อวิเคราะห์รายการค้าได้ให้นำไปบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป 3. ผ่านจากสมุดรายวันทั่วไปยังบัญชีแยกประเภท เพื่อรวบรวมรายการค้าไว้เป็นหมวดหมู่ 4. จัดทำงบทดลอง 5. ทำรายการปรับปรุงและปิดบัญชี 6. ทำงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน

4 ชนิดของสมุดรายวัน 1. สมุดรายวันเฉพาะ (Special Journal) เป็นสมุดที่ใช้สำหรับบันทึก รายการค้า โดยแบ่งออกเป็น 1.1 สมุดรายวันซื้อ 1.2 สมุดรายวันส่งคืนสินค้า 1.3 สมุดรายวันขาย 1.4 สมุดรายวันรับคืนสินค้า 1.5 สมุดรายวันรับเงิน 1.6 สมุดรายวันจ่ายเงิน 2. สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการขั้นต้นได้ทุกรายการ

5 ประโยชน์ของสมุดรายวัน
1. การบันทึกรายการค้าจะบันทึกเรียงตามลำดับวันที่ก่อนหลังจะทำให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย 2. การบันทึกรายการค้าจะใช้หลักบัญชีคู่ (Double Entry System) จำนวนเงินบัญชีด้านเดบิตและเครดิตจะเท่ากันเสมอ 3. เป็นประโยชน์ของสมุดรายวันเฉพาะ จะช่วยลดการผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทลดน้อยลง 4. แยกการทำบัญชีของพนักงานผู้บันทึกรายการได้หลายคน กรณีเป็นสมุดรายวันเฉพาะป้องกันการทุจริตได้

6 แบบของสมุดรายวันทั่วไป
2 1 4 5 6 7 3 4 8

7 1. เขียนคำว่าสมุดรายวันทั่วไป 2. เขียนคำว่า “หน้า. ” ของสมุดตามลำดับ 3
1. เขียนคำว่าสมุดรายวันทั่วไป 2. เขียนคำว่า “หน้า....” ของสมุดตามลำดับ 3. ช่อง วัน เดือน ปี 4. บันทึกชื่อบัญชีที่เดบิตและเครดิต 5. ช่องเลขที่บัญชีที่แบ่งเป็นหมวดบัญชีไว้ เพื่ออ้างอิงในบัญชีแยกประเภท 6. ใส่จำนวนเงินของบัญชีที่เดบิต 7. ใส่จำนวนเงินของบัญชีที่เครดิต 8. เขียนคำอธิบายรายการและขีดเส้นใต้

8 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป
ขั้นที่ 1 เขียนคำว่า สมุดรายวันทั่วไป และเขียนหน้าของสมุดรายวันทั่วไป ขั้นที่ 2 เขียน พ.ศ.... เดือน.... วันที่.... ขั้นที่ 3 เขียนชื่อบัญชีที่เดบิตและเครดิตให้ชิดเส้นซ้าย พร้อมลงจำนวนเงิน ขั้นที่ 4 เขียนบัญชีที่เครดิตให้เยื้องไปทางขวาประมาณ 1 นิ้ว พร้อมลงจำนวนเงิน ขั้นที่ 5 เขียนคำอธิบายรายการ ขั้นที่ 6 ขีดเส้นคั่นรายการ

9 รายการเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
รายการเปิดบัญชี (Opening Entries) เป็นรายการแรกของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปจะบันทึกบัญชีเมื่อมีการลงทุนครั้งแรกและเริ่มรอบระยะบัญชีใหม่ (งวดบัญชีใหม่) ดังนี้ 1. การนำสินทรัพย์เพียงชนิดเดียวมาลงทุน ตัวอย่าง วันที่ 1 กันยายน 2549 นายเลิศนำเงินสดมาลงทุน 10,000 บาท

10

11 2. การนำสินทรัพย์หลายชนิดมาลงทุน เป็นการบันทึกรายการที่มีบัญชีเดบิตหรือบัญชีเครดิตมากกว่า 1 บัญชี ตัวอย่าง วันที่ 1 กันยายน 2549 นายเลิศนำสินทรัพย์ต่อไปนี้มาลงทุน เงินสด 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 5,000 บาท อาคาร 200,000 บาท

12

13 3. การนำสินทรัพย์และหนี้มินมาลงทุน นอกจากจะนำเงินสด สินทรัพย์อื่นมาลงทุนและมีการรับโอนหนี้สินมาด้วย โดยบันทึกรายการเงินสด สินทรัพย์อื่นๆ ให้หมดก่อนแล้วจึงนำบัญชีลูกหนี้และทุนเป็นลำดับสุดท้าย ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 นายเลิศเปิดกิจการโดยการนำเงินสด 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 5,000 บาท อาคาร 200,000 บาท และรับโอนเจ้าหนี้การค้า 50,000 บาท

14


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 3 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google