งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง
ทัศนีย์ ศรีมงคล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ผู้ประสานงานงานพัฒนาการศึกษาและสังคม มูลนิธิโครงการหลวง สศช-1246

2 โครงการหลวง เริ่ม เมื่อปี ๒๕๑๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯหมู่บ้านชาวเขาใน จ.เชียงใหม่ ทรงพบว่า # ชาวเขาดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม ย้ายถิ่นฐานไปแบบเร่ร่อน # ยากจน ขาดความรู้ สุขภาพอนามัยไม่ดี # ปลูกฝิ่น ทำไร่โดยวิธีโค่นต้นไม้ ถากถาง เผาป่า # ขาดความรู้ในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ ของ ดิน ป่า และน้ำ

3 เป้าหมายของโครงการหลวง
1.ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม 2.ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติต้นน้ำลำธาร 3.กำจัดการปลูกฝิ่นและวิจัยหาพืชเศรษฐกิจมาปลูกทดแทนฝิ่น 4.รักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม 5.แบ่งการใช้พื้นที่ให้ถูกต้องระหว่างพื้นที่ทำกินกับพื้นที่ป่า 6.ส่งเสริมการผลิตพืชเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวเขามีเศรษฐกิจดีขึ้น

4 ลักษณะงานโครงการหลวง
งานวิจัย มี ๔ สถานีคือ # สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง # สถานีเกษตรหลวงปางดะ # สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ # ศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟ อราบิกา แม่หลอด งานพัฒนา ประกอบด้วย # ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ๓๖ แห่ง ใน ๕ จังหวัด # งานอารักขาพืช # งานพัฒนาและส่งเสริมการผลิต # งานพัฒนาการศึกษา สังคม และ สาธารณสุข งานการตลาด

5 พื้นที่ปฏิบัติงานของโครงการหลวง
312 หมู่บ้าน ใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ 1.เชียงใหม่ 2.เชียงราย 3.ลำพูน 4.พะเยา 5.แม่ฮ่องสอน มี สถานีวิจัย 6 แห่ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 36 แห่ง

6 ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้
วิธีการดำเนินงานของโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระราชทานวิธีการดำเนินงานของโครงการหลวงไว้ดังนี้ ลดขั้นตอน ปิดทองหลังพระ เร็วๆเข้า ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้

7 องค์ความรู้ของโครงการหลวง
ผลการวิจัยเกี่ยวกับ ผลไม้เมืองหนาว ผักเมืองหนาว ดอกไม้เมืองหนาว พืชไร่ และอื่นๆ รวม ๓๐๐ กว่าชนิด รวมทั้งการวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว การวิจัยด้านสังคม แนวทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมงบนพื้นที่สูง วิธีการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและระมัดระวัง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิธีการขนส่ง คัดบรรจุ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ และการตลาด

8 ประเภทของการวิจัยในโครงการหลวง

9 แนวทางการถ่ายทอดองความรู้จากโครงการหลวงสู่ชุมชน
การจัดทำสถานีวิจัย ๔ แห่ง และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ๓๖แห่งให้เป็นศูนย์เรียนรู้ การขยายผลงานโครงการหลวงไปสู่พื้นที่ข้างเคียงและพื้นที่ห่างไกล ๒๐ จังหวัด การจัดการความรู้โดยผ่านศูนย์การเรียนชุมชน ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๒๐ จังหวัด โดยศูนย์แม่ข่าย ๔๐ แห่งและศูนย์ลูกข่าย ๑๘๐ แห่ง

10 ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก
ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก


ดาวน์โหลด ppt การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google