งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี (IRPC INSTITUTE OF TECHNOLOGY) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ของนักศึกษาระดับปวช.1 ด้วยการเรียน แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ผู้วิจัย : นางสาวกุลธารินท์ เกิดมณี สังกัด : การศึกษาเอกชน

2 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ทำความเข้าใจยาก โดยเฉพาะเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ผู้เรียนจะเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียนทำให้ผลการเรียนค่อนข้างต่ำ ผู้สอนจึงปรับปรุงการเรียนการสอนใหม่โดยมีการจัดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ มีการเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ วิธีการสอนหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปของกระบวนการกลุ่ม คือการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD (Student Teams-Achievement Divisions) โดยมีการจัดกลุ่มผู้เรียนให้คละกันตามความสามารถทางการเรียน มีการติวและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม ให้กำลังใจกัน คนเรียนเก่งจะช่วยเหลือคนเรียนอ่อน ทำให้ผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนแต่ละคนดีขึ้น

3 เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ของนักศึกษาระดับปวช.1 ด้วยการเรียน แบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค STAD

4 ขั้นตอนการดำเนินการ เป็นดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินการ เป็นดังนี้ จัดปฐมนิเทศเพื่อทำความเข้าใจกับผู้เรียนเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอน แบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค STAD บทบาทของผู้เรียนและ ผู้สอน จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัดผลและประเมินผล ทดสอบก่อนเรียนเรื่องแฟคเทอเรียล วิธีเรียงสับเปลี่ยนและเรื่องวิธีจัดหมู่ จำนวน 30 ข้อ แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้เป็นคะแนนก่อนเรียน

5 ขั้นตอนการดำเนินการ ดำเนินการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้โดย ใช้เทคนิค STAD โดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนเองแล้วให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มคละ กันตามความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลางและต่ำ เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้และทบทวนเนื้อหา ทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน แต่มีการสลับข้อคำถามกัน แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้ เป็นคะแนนหลังเรียน นำคะแนนจากแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแต่ละชุด ไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
คะแนนต่ำสุด คะแนนสูงสุด ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักศึกษาจำแนกตาม ระดับความสามารถทางการเรียน ในการทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ประเภทของนักศึกษาแบ่งตามระดับความสามารถทางการเรียน จำนวน การทดสอบก่อนเรียน การทดสอบหลังเรียน คะแนนต่ำสุด คะแนนสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มเก่ง 5 17.00 24.50 19.50 3.38 25.50 28.00 26.80 1.04 กลุ่มปานกลาง 15 13.50 26.00 20.27 3.39 22.00 28.50 26.40 2.16 กลุ่มอ่อน 21.30 3.33 23.00 2.07

7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยรวมของคะแนนแบบทดสอบ วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน แบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค STAD ประเภท จำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบก่อนเรียน 25 20.32 3.38 การทดสอบหลังเรียน 26.48 1.91

8 สรุปผลการศึกษา จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนและ
หลังเรียนเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ของนักศึกษา โดยรวมคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน มีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ของนักศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

9 อภิปรายผลการศึกษา จากผลการวิจัย นักศึกษามีคะแนนแบบทดสอบเฉลี่ยก่อนและ
หลังเรียน แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ย รวมของคะแนนหลังเรียนเพิ่มจาก เป็น 26.48 พบว่า ผู้เรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เป็นเพราะ การเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ อาจมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google