งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จุดเริ่มต้น พัฒนาการจนถึงปัจจุบัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จุดเริ่มต้น พัฒนาการจนถึงปัจจุบัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จุดเริ่มต้น พัฒนาการจนถึงปัจจุบัน
นิสิตรู้จัก ประเทศไทย/ บ้านเกิดเมืองนอนของตนเองว่าอย่างไรบ้าง จุดเริ่มต้น พัฒนาการจนถึงปัจจุบัน นิสิตรู้จัก คนไทย/ ตัวตนของตนเอง ว่าอย่างไร

2 บทนำไทยศึกษา: ประเทศไทย - จากซุนดาสู่อาเซียน
บทนำไทยศึกษา: ประเทศไทย - จากซุนดาสู่อาเซียน ผู้บรรยาย: อ. ดร.กฤตยา ณ หนองคาย

3 ที่มาของภาพ

4 ล้านปีที่แล้ว ดินแดนกว้างไกลและหมู่เกาะทั้งหมดในอาเซียนเชื่อมต่อเป็นแผ่นดินเดียวเรียกว่า แผ่นดินซุนดา (Sundaland)  เวลานั้นโลกถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง น้ำในมหาสมุทรแห้งเหือด เกิดเป็นสะพานแผ่นดินหลายแห่ง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษมนุษย์ตระกูลลิงไม่มีหาง ร่อนเร่พเนจรอยู่บนแผ่นดินซุนดานานหลายแสนปี

5 จนกระทั่ง ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ปีที่แล้ว เมื่อยุคน้ำแข็งหนาวเหน็บผ่านไป อากาศอบอุ่นขึ้น ธารน้ำแข็งละลายลงสู่มหาสมุทร น้ำทะเลสูงขึ้นท่วมแผ่นดินซุนดาบางส่วน จึงเกิดเป็นหมู่เกาะกระจัดกระจายแยกจากแผ่นดินใหญ่ แล้วคงรูปลักษณ์เป็น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงวันนี้ 

6 ที่มาของภาพ- http://www.the-truth-seekers.org/

7 ที่แบ่งกว้างๆ ได้ 2 ส่วน คือผืนแผ่นดินใหญ่ˆและหมู่เกาะ
 ประเทศไทยตั้งอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ที่แบ่งกว้างๆ ได้ 2 ส่วน คือผืนแผ่นดินใหญ่ˆและหมู่เกาะ ที่มาของภาพ -

8 เพื่อที่จะเข้าใจพัฒนาการ
ของแผ่นดินและคนไทย เราต้องเดินทางย้อนหลังกลับไป สู่เวลาที่แผ่นดินบนโลก ยังไร้ชื่อ สู่...สมัยก่อนประวัติศาสตร์

9 ตัวอย่างหลักฐาน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่นักโบราณคดีขุดค้นพบ
โครงกระดูก ในหลุมฝังศพโบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องมือ เครื่องใช้ โครงกระดูก ในหลุมฝังศพโบราณ ลูกปัด ตัวอย่างหลักฐาน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่นักโบราณคดีขุดค้นพบ อาหาร (ข้าว)

10 คนกับหมา ภาพเขียน บนผนังถ้ำ/ เพิงผา คนจูงวัว กวาง

11 “สมัยก่อนประวัติศาสตร์”
หมายถึง สมัยที่ไม่มีหลักฐาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ให้อ้างอิง สมัยประวัติศาสตร์

12 แผนที่แสดงแหล่งโบราณคดีสำคัญในอุษาคเนย์

13 แหล่งโบราณคดีบนแผ่นดินประเทศไทยปัจจุบัน
ที่พบร่องรอยวิถีชีวิตสมัยล่าสัตว์-เก็บหาของป่า และ สมัยเกษตรกรรม

14 เป็น “สมัยปฏิวัติสมัยแรกของมนุษย์” เป็น “การก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่”
ความสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน จากสมัยเก็บหาของป่า-ล่าสัตว์ สู่สมัยเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ในช่วงราว ๑๐,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็น “สมัยปฏิวัติสมัยแรกของมนุษย์” เป็น “การก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่” การแสวงหาอาหาร การผลิตอาหาร พึ่งธรรมชาติทั้งหมด พึ่งธรรมชาติบางส่วน เร่ร่อน ไม่มีโอกาสสั่งสมวัฒนธรรม ลงหลักปักฐาน มีโอกาสสั่งสมวัฒนธรรม

15 พัฒนาการทางวิถีชีวิต/สังคม
ตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต/สังคมบนแผ่นดินที่ปัจจุบันเป็นประเทศไทย ปรับจากตารางท้ายเล่มหนังสือ “ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ บรรพชนคนไทยในอุษาคเนย์” โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ พัฒนาการทางวิถีชีวิต/สังคม - ล่าสัตว์และเก็บหาของป่าจนถึงเริ่มการเพาะปลูก เร่ร่อนจนถึงเริ่มตั้งรกราก ช่วงเวลา ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ปีมาแล้ว มนุษย์หลายกลุ่มจัดการฝังผู้เสียชีวิต มีการโรยฝุ่น สีแดงที่ศพและฝังข้าวของเครื่องใช้ ไว้กับศพ เช่น ภาชนะดินเผา

16 ประมาณ ๔,๐๐๐ ถึง ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เริ่มสมัยโลหะ เหล็ก และเกลือ มนุษย์อุษาคเนย์ เชื่อเรื่องผีสางนางไม้ มีระบบความเชื่อของตนเอง ที่เหมือนกันคือ การให้ความสำคัญแก่นาคและกบ กบ นาค พบกลองมโหระทึก/กลองสำริด/กลองดองซอนทั่วไปในอุษาคเนย์ กลองนี้เป็นเครื่องหมายของ ความศักดิ์สิทธิ๋ ความอุดมสมบูรณ์และความเป็นผู้นำ

17 ชื่อชุมชนหมู่บ้านที่เรารู้จักเช่น บ้านเชียง
มีชุมชนหมู่บ้านกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในอาณาบริเวณ ที่ปัจจุบัน เป็นประเทศไทย แผนที่แสดงชุมชนหมู่บ้านบางแห่ง ที่สำคัญ เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

18 บริเวณพื้นที่ ที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน
มีแม่น้ำสำคัญ ของภูมิภาค ขนาบ ๒ ข้าง คือ แม่น้ำโขง (ทางตะวันออก) และ แม่น้ำสาละวิน (ทางตะวันตก)

19 เป็นบรรพชน ของ“คนไทย” ทุกวันนี้
บริเวณลุ่มน้ำทั้ง ๒เป็นที่รวมทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหลักแหล่งของผู้คนหลากหลาย ชนเผ่าชาติพันธุ์ ผู้คนจำนวนหนึ่งเคลื่อนย้ายไปๆ มาๆ แล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณประเทศไทยเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยประสมประสานเผ่าพันธุ์ สังคม-วัฒนธรรม กับคนพื้นเมืองดั้งเดิมและมีภาษาพูดร่วมกัน  เป็นบรรพชน ของ“คนไทย” ทุกวันนี้

20 ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว พัฒนาการของเมืองใน สุวรรณภูมิ มีการค้าทางทะเล การรับอารยธรรมอินเดียที่มากับพ่อค้า และคนวรรณะอื่นๆ เช่น กษัตริย์/พราหมณ์ ราว ๓๐๐ ปีหลังพระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพาน พระภิกษุ ๒ รูป คือพระโสณะและพระอุตตระ เดินทางมาพร้อมเรือสินค้า นำพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ชื่อสุวรรณภูมิ ปรากฏในบันทึกของพ่อค้าชาวอินเดีย ราว พ.ศ. ๑ มีหลักฐานที่ดอนตาเพชร (จ.กาญจนบุรี) ภูเขาทอง (จ.ระนอง) และ ควนลูกปัด (จ.กระบี่) ว่าพื้นที่เหล่านั้นเคยเป็นเมืองท่าการค้า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑-๑๒

21 นี่คือ สุวรรณภูมิ !!! Asia

22 แผนที่แสดงเส้นทาง ที่อารยธรรมอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิ

23 ราว๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว - เริ่มการแบ่งชนชั้นและแนวคิดเรื่องระบบกษัตริย์ ชุมชนขยายตัวขึ้นจนถึงขั้นเป็นเมือง/รัฐ ผู้นำกลายเป็นกษัตริย์ มีพระนามเป็นคำในภาษาสันสกฤต และมีการตั้งชื่อบ้านนามเมืองตามชื่อบ้านเมือง ในวรรณคดีอินเดีย พราหมณ์เผยแผ่ศาสนาฮินดู รัฐชายฝั่งทะเลรับนับถือทั้งศาสนาพุทธและฮินดู บางรัฐเปลี่ยนไปมาระหว่าง ๒ ศาสนาดังกล่าว ทำให้เกิดรัฐที่รับนับถือ ทั้งพุทธและฮินดูปะปนกัน การรับนับถือศาสนาใดๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำศาสนาเข้ามาแต่ขึ้นอยู่กับผู้นำของรัฐ ชาวบ้านยังไม่มีโอกาสเข้าถึง ศาสนาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นพุทธหรือฮินดู ยังคงนับถือผีสางนางไม้อยู่เช่นเดิม มีเพียงชนชั้นปกครองเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงศาสนาไปตามศรัทธา

24 สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู
ศิวลึงค์ สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู เสมาธรรมจักร สัญลักษณ์ของศาสนาพุทธและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดี ราว ๒,๐๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ ปี มาแล้ว เกิดเมือง ที่รับอิทธิพลอินเดีย เมืองและรัฐรับนับถือ ศาสนาฮินดู และพุทธแตกต่างกันไป

25 เมืองอู่ทองรุ่งเรืองขึ้น ทางฝั่งตะวันตกของ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณที่ปัจจุบันคือสุพรรณบุรี) รัฐสำคัญๆ ในบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยารุ่งเรืองขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ ทวารวดี และในภูมิภาคอื่นได้แก่ หริภุญไชยที่ลุ่มแม่น้ำปิง เวียงจันทน์ที่ลุ่มแม่น้ำโขง และยะรัง (ปัจจุบันคือปัตตานี)ที่ชายฝั่งคาบสมุทร พระเจ้าแผ่นดินอู่ทองทรงเลือกรับศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำรัฐและอาจทรงสร้างพระเจดีย์องค์แรกขึ้นที่อู่ทองด้วย ต่อจากนั้นการสร้างเจดีย์ก็แพร่หลายไปทั่ว ตัวอย่างเช่นที่นครปฐม เป็นต้น อย่างไรก็ตามพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกๆ ของอู่ทองก็ทรงรับวัฒนธรรมอินเดียรูปแบบอื่นๆ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทั้งของพุทธและฮินดูด้วย คัมภีร์พุทธได้แก่พระสูตรและชาดก เนื้อหาของพระคัมภีร์ได้รับการถ่ายทอดไว้ ในรูปแบบต่างๆ เช่น จารึกและภาพปูนปั้น คัมภีร์ฮินดูได้แก่มหาภารตะและรามายณะ การรับเนื้อหาของคัมภีร์ปรากฏใน การตั้งชื่อบ้านนามเมือง และพระนามของพระเจ้าแผ่นดินในชั้นหลัง

26 ราว ๑,๐๐๐ ปี มาแล้ว รัฐแถบชายฝั่งอันดามันรับนับถือ พุทธศาสนานิกายเถรวาท/หินยาน ในขณะที่อาณาจักรขอมทางฝั่งทะเลสาบ (ปัจจุบันคือประเทศกัมพูชา) รับนับถือศาสนาฮินดู

27 โบราณวัตถุสถานเนื่องด้วยศาสนาพุทธ-ฮินดูที่พบ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน

28 หลัง พ.ศ.๑๖๓๙ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ กล่าวคือ เปลี่ยนราชวงศ์และการเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจ (เช่น ศูนย์อำนาจเปลี่ยนจากละโว้ มาเป็นอโยธยา ในขณะที่สุโขทัย เริ่มรุ่งเรืองขึ้นทางฝั่งลุ่มแม่น้ำยม สุพรรณบุรีรุ่งเรืองขึ้น ทางลุ่มแม่น้ำท่าจีน และนครศรีธรรมราชรุ่งเรืองขึ้น ทางตอนใต้ รัฐทั้งหมดนี้รับนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท/หินยาน ที่รับมาแต่ครั้งสุวรรณภูมิ และทวารวดี อาณาจักรขอมเปลี่ยนแปลงจาก การรับนับถือศาสนาฮินดูเป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน ขณะนั้นอาณาจักรขอม มีศูนย์อำนาจอยู่ที่นครวัดและแผ่อำนาจมายังชุมชนที่ลุ่มแม่น้ำมูน-ชี ตลอดมาจนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐที่รับนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท/หินยาน

29 “พลละโว้” “เสียมกุก” รูปสลักบนแผ่นหินที่ระเบียงทิศใต้ ปีกตะวันตกของปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา เป็นขบวนแห่ “พลละโว้” (ซ้าย) ตามหลัง “เสียมกุก”- ชาวสยาม (ขวา) ราว พ.ศ.๑๖๕๐

30 มีศาสนาใหม่เข้ามาได้แก่ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
พ.ศ. ๑๘๙๓ ราชวงศ์อู่ทอง สถาปนาอยุธยา หลัง พ.ศ. ๑๙๐๐ ราชวงศ์อู่ทองผนึกกำลังกับราชวงศ์สุโขทัย มีชัยเหนือราชวงศ์ละโว้ ได้ปกครองอยุธยา และแผ่แสนยานุภาพ ไปตลอดที่ราบภาคกลาง จนถึงนครศรีธรรมราชทางตอนใต้ สุโขทัยทางตอนเหนือ เกิดเป็นราชอาณาจักรสยามขึ้นเป็นครั้งแรก มีศาสนาใหม่เข้ามาได้แก่ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

31 ภาพวาดแสดงผังเมืองแสดงความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ. ศ
ภาพวาดแสดงผังเมืองแสดงความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ.๒๒๐๖ สมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

32 แผนที่โบราณแสดงราชอาณาจักรสยาม (ซ้าย) และ
SIAM Ò IUDIA แผนที่โบราณแสดงราชอาณาจักรสยาม (ซ้าย) และ แผนที่เกาะเมืองอยุธยา (ขวา) เรียกอยุธยาว่าสยาม Gulf de Siam

33 พ.ศ.๒๓๑๐ เสียกรุง ชาวสยาม ฟื้นอำนาจขึ้นใหม่ ในนามกรุงธนบุรี
อยุธยา(สยาม) พ.ศ.๒๓๑๐ เสียกรุง ชาวสยาม ฟื้นอำนาจขึ้นใหม่ ในนามกรุงธนบุรี แผ่อำนาจขึ้นไป ถึงล้านนา ล้านช้าง และ เวียงจันทน์ เกาะบางกอกที่ตั้งของกรุงธนบุรี

34 พระราชวังพระเจ้า ตากสิน
พ.ศ.๒๓๒๕ สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีใหม่ของประเทศ ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก ในนามของสยามประเทศ ประชาชนในสยามประเทศ เรียกว่า “ชาวสยาม” คำที่ใช้เรียกนี้ หมายรวมคนหลากเชื้อชาติ เข้าด้วยกัน สะท้อนการสืบทอด กลุ่มชาติพันธุ์ นับเนื่องมาแต่ครั้งสุวรรณภูมิ พระราชวังพระพุทธยอดฟ้าฯ เกาะบางกอก พระราชวังพระเจ้า ตากสิน

35 เป็นรูปช้างเผือกบนพื้นแดง ตามแบบธงชาติในครั้งกระนั้น
SIAM SIAM ฉลากน้ำหอม “สยาม” สมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) เป็นรูปช้างเผือกบนพื้นแดง ตามแบบธงชาติในครั้งกระนั้น SIAM รูปยาซิกาแรตแสดงการเปลี่ยนแปลง ธงชาติและตราแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ สมัยรัชกาลที่ ๖ แต่ชื่อประเทศยังเป็น “สยาม”

36 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พ.ศ.๒๔๗๕
เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย แต่ชื่อประเทศก็ยังคงเป็น สยาม

37 ร่วม เพลงชาติของไทย ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ คำร้องฉบับแรกสุด ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์ขึ้นภายหลัง ในปีเดียวกัน

38 พ.ศ.๒๔๘๒ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีมติให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก ประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย (Thailand) ประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ จึงกลายเป็น “คนไทย” ไปทั้งหมดด้วยโดยปริบาย

39 เพลงชาติไทย(ปัจจุบัน)
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทย ทวีมีชัยชโย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องใหม่และได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒

40 การเปลี่ยนแปลง ยังไม่จบ

41 อดีต ซุนดา สุวรรณภูมิ สยาม ประเทศไทย
ใน ๑ ภาคการศึกษาต่อไปนี้ นิสิตจะได้รับการทบทวนความรู้เก่า เรียนความรู้ใหม่ โดยหวังว่านิสิตจะมองเห็นและเข้าใจ สังคม (ประวัติศาสตร์ ศาสนา ) และ วัฒนธรรมไทย (ภาษาวรรณคดี ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมพื้นบ้าน-ภูมิปัญญา) ใน ๓ มิติ อนาคต ประชาคมอาเซียน อดีต ซุนดา สุวรรณภูมิ สยาม ประเทศไทย ปัจจุบัน ประเทศไทย

42 ขอให้มีความสุข ในการเรียนรู้
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”                      (One Vision, One Identity, One Community) ขอให้มีความสุข ในการเรียนรู้


ดาวน์โหลด ppt จุดเริ่มต้น พัฒนาการจนถึงปัจจุบัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google