งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด

2 ความหมายของทฤษฎี นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

3 นักคิดคนสำคัญ จอร์น ล็อค (John locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt)
ทิช เช เนอร์ (Titchener) แฮร์บาร์ต (Herbart)

4 คำนิยามของนักทฤษฎี มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม - จอห์น ล็อก เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางสัมผัสทั้ง 5 - วิลเฮล์ม วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ - ทิชเชเนอร์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ - แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจแฮร์บาร์ต เชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่

5 หลักการสอนตามทฤษฎี 1. การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี 3. การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ

6 หลักการสอนตามทฤษฎี(ต่อ)
3.1   ขั้นเตรียมการ หรือขั้นนำ (preparation)ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม 3.2   ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่ 3.3   ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction) ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ 3.4   ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆต่อไป 3.5   ขั้นประยุกต์ใช้ (application)ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิม

7 ข้อดี ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อให้มีการทำงานหรือการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องหรือเชื่อมโยงกันให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงในส่วนของสมอง ความคิด จินตนาการ ซึ่งให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นได้รวดเร็ว ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด เหมาะสำหรับเด็กมัธยมศึกษาขึ้นไป

8 อ้างอิง ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด.เข้าถึงได้จาก กรกฎาคม 2555 ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด.เข้าถึงได้จาก กรกฎาคม 2555

9 สมาชิกกลุ่ม 1.นางสาววาริน โสระฎา นางสาวชุติมา กันทะวงษ์ นางสาวฐาปนี รุ่งคีรีรัตน์ นางสาวจาริยา จับใจนาย นายสุพจน์ วันชัยรุ่งรุจี นายอิสรพงษ์ แก่นจันทร์ โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา


ดาวน์โหลด ppt ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google