งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)
รองศาสตราจารย์ ดร. ชูชัย สมิทธิไกร สาขาวิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 Key of Success Doing the right thing. Doing things right.

3 Doing the right thing Doing things right การทำงานอย่างมีเป้าหมาย
การทำงานประจำให้ ดีขึ้นกว่าเดิม Doing things right การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ

4 หัวข้อการบรรยาย แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร์

5 การวางแผนยุทธศาสตร์เป็นหัวใจของการจัดการเชิงกลยุทธ์

6 การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
การจัดการที่เน้น … การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์การดำเนินงาน การพัฒนาปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อนำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติ การติดตาม ประเมินผล เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุผลตามแผนที่วางไว้

7 กระบวนการการจัดการเชิงกลยุทธ์
วางแผนยุทธศาสตร์ ดำเนินงาน ควบคุมติดตาม

8 กระบวนการคิดและวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
วิเคราะห์/ประเมิน สภาวะแวดล้อม หาทางเลือก กลยุทธ์ ทดสอบ/ ประเมิน ทางเลือก กลยุทธ์ วิเคราะห์/ประเมิน จุดแข็ง จุดอ่อน ประเมินผล ดำเนินการ วางแผน ไม่สำเร็จ สำเร็จ

9 กระบวนการการจัดการเชิงกลยุทธ์
วิเคราะห์ สถานการณ์ เราอยู่ที่ไหน สภาพภายใน สภาพแวดล้อม ภายนอก ผลที่ต้องการ เราจะเป็นอะไร วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ วิธีการ จะไปทางไหน อย่างไร กลยุทธ์ แผนงาน โครงการ การดำเนินการ ใครจะต้อง ทำอะไร เป้าหมายย่อย แผนปฏิบัติ การ ติดตาม ประะเมิน ที่ทำมาเป็น อย่างไร ทบทวน

10 แผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan)
เอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และกลยุทธ์ (Strategies) ต่างๆในการดำเนินงานขององค์การหนึ่งๆ เป็นแผนระยะยาว ที่บอกถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์การ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประสาน และกำกับติดตามการดำเนินงานในส่วนงานต่างๆ ขององค์การให้เป็นไปในทิศทาง และจังหวะเวลาที่สอดคล้องกัน เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอก และภายในองค์การเพื่อคาดคะเนแนวโน้มของสถานการณ์ และกำหนดแนวทางการดำเนินการขององค์การให้สอดคล้องเหมาะสมกับแนวโน้มของสถานการณ์ดังกล่าว

11 ลักษณะสำคัญของการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
ต้องมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกทุกด้าน ต้องมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ การวางแผนจะต้องมีทั้งแผนระยะยาว ระยะกลางและระยะสั้น ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ ให้ทุกส่วนมีความสัมพันธ์กัน

12 การกำหนดยุทธศาสตร์ระดับต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ระดับคณะ ยุทธศาสตร์ระดับ ภาควิชา/สาขาวิชา

13 กระบวนการในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
การวิเคราะห์ปัจจัยทางยุทธศาสตร์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม (SWOT) การกำหนดทิศทางของหน่วยงาน วิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) การวิเคราะห์ถึงประเด็นสำคัญที่จะต้องมุ่งเน้น / ให้ความสำคัญเพื่อที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) การกำหนดเป้าประสงค์สำหรับแต่ละประเด็น เป้าประสงค์ (Goals) การกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของแต่ละเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) และ เป้าหมาย (Target) การกำหนดกลยุทธ์หรือสิ่งที่จะทำเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ กลยุทธ์ (Strategies)

14 Key Performance Indicators
นิยามศัพท์ Vision วิสัยทัศน์ สิ่งที่อยากจะให้หน่วยงานเป็นในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า Mission พันธกิจ กรอบ ขอบเขต การดำเนินงานของหน่วยงาน Strategic Issues ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นหลักต้องคำนึงถึง ต้องพัฒนา ต้องมุ่งเน้น Goal เป้าประสงค์ อะไรคือสิ่งที่หน่วยงาน อยากจะบรรลุ Key Performance Indicators ตัวชี้วัด สิ่งที่จะเป็นตัวบอกว่าหน่วยงานสามารถบรรลุเป้าประสงค์หรือไม่ Target เป้าหมาย ตัวเลข หรือ ค่า ของตัวชี้วัด ที่จะต้องไปให้ถึง Strategy กลยุทธ์ สิ่งที่หน่วยงานจะทำเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์

15 วิสัยทัศน์ (Vision) “What we want to be?”

16 ตัวอย่างวิสัยทัศน์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เป็นบริษัทพลังงานของไทย ที่ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มุ่งไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization) และเป็นผู้นำในภูมิภาค ด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม และให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้มีส่วนได้เสีย

17 ตัวอย่างวิสัยทัศน์ ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยมุ่งมั่นเป็นธนาคารที่มั่นคงที่สุด ที่ริเริ่มในสิ่งใหม่ และกระทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นธนาคารไทยที่ให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงของแผ่นดิน เพื่อเสริมสร้างคนและสังคมไทยให้พึ่งพาตนเองได้ แข่งขันได้ และร่วมมือได้อย่างทัดเทียมและยั่งยืนในประชาคมโลก

18 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามมาตรฐานสากล ที่มุ่งเน้นการวิจัย มีการผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและคุณภาพ มีการบริหารจัดการที่ดีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

19 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและคุณภาพ มุ่งเน้นการวิจัย การบริการสังคมและการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านภาษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มีการบริหารจัดการที่ดีตามมาตรฐานสากลบนพื้นฐาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

20 คำถามเพื่อการกำหนดวิสัยทัศน์
อะไรคือสิ่งที่องค์การของเราปรารถนา อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกับองค์การของเราในอนาคต อะไรคือผลลัพธ์โดยรวมที่องค์การต้องการจะบรรลุถึง อะไรคือมรดกที่เราจะมอบให้แก่คนรุ่นหลัง องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใดในอนาคต เราปรารถนาที่จะทำให้ผู้รับบริการ ชุมชนรับรู้ถึงภาพลักษณ์ขององค์การของเราในลักษณะใด

21 พันธกิจ (Mission) “What business we are in?”

22 Visions vs Missions วิสัยทัศน์ บอกให้รู้ถึงสิ่งที่หน่วยงานอยากจะหรือต้องการจะเป็นในอนาคต บอกให้รู้ถึงเส้นทางเดินของหน่วยงานในอนาคต พันธกิจ (Mission) บอกให้รู้ถึงขอบเขตการดำเนินงานของหน่วยงาน บอกให้รู้ถึงสาเหตุของการดำรงอยู่ และมุ่งเน้นที่บทบาท หน้าที่ ที่จะต้องทำ

23 ตัวอย่างพันธกิจ ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยมุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็นสถาบันที่แข็งแกร่ง ที่สามารถให้บริการด้านการเงิน ที่หลากหลาย ด้วยคุณภาพ มาตรฐานโลก โดยมีการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีและ ทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุผลที่ดีและเป็นธรรมต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และ ประเทศไทย

24 ตัวอย่างพันธกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สร้างบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติและเหมาะสมกับสังคม เสริมสร้างนิสิตให้เป็นบัณฑิตที่สามารถครองตนอย่างมีคุณธรรมและเป็นผู้นำสังคมได้ บุกเบิกองค์ความรู้ใหม่และบูรณาการองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคมไทย ถ่ายโอนองค์ความรู้กับสาธารณะเพื่อช่วยพัฒนาสังคมไทยไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในประชาคมโลก ทำนุบำรุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรม

25 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูง ที่มุ่งเน้นมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา ความมีเสรีภาพและวามเป็นเลิศทางวิชาการควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม ผลิตผลงานวิจัยนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการทำวิจัยในลักษณะบูรณาการและสหวิทยาการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น ประเทศและสากล นำความเชี่ยวชาญและศักยภาพของมหาวิทยาลัย ในการบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามความต้องการของชุชน ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือและของประเทศอย่างยั่งยืน พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิชาการในต่างประเทศภูมิภาคอาเซียน เอเชีย และนานาประเทศ พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาลและตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง

26 คณะมนุษยศาสตร์ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูง มุ่งเน้นคุณธรรมและความเป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ในระดับประเทศและนานาชาติ ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การสร้างฐานองค์ความรู้และเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น ประเทศชาติ และสังคมโลก โดยมุ่งเน้นการทำวิจัยที่บูรณาการและเป็นสหวิทยาการ เป็นแหล่งความรู้ บริการและแลกเปลี่ยนวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่เป็นความต้องการของสังคม ทำนุบำรุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและไทย อนุรักษ์ พัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิชาการต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน เอเชียและนานาประเทศ มีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และพึ่งพาตนเองได้

27 Strategic Formulation
Where do we go from here ? Where are we now ? Where do we want to go? How will we get there ?

28 4 สิ่งที่ควรรู้ในการประเมินสถานการณ์
รู้จักสภาวะแวดล้อม รู้จักตนเอง รู้จักคู่แข่ง รู้จักอนาคต

29 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ
General Environment สังคม เศรษฐกิจ Competitive Environment แรงงาน องค์การ ลูกค้า คู่ค้า ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ส่งวัตถุดิบ คู่แข่ง การเมือง ชุมชน เทคโนโลยี ต่างประเทศ

30 PESTDI Analysis Political Environment Economic Environment
Social Environment Technological Environment Demographic Environment International Environment

31 การวิเคราะห์สภาพภายในองค์การ
Inputs คน เงิน วัตถุดิบ เครื่องจักร Process เทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ การติดต่อสื่อสาร วัฒนธรรม Outputs สินค้า บริการ ภาพลักษณ์ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness)

32 โอกาส (Opportunities)
การวิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง (Strengths) สิ่งที่หน่วยงานมีความโดดเด่น (สามารถควบคุมได้) จุดอ่อน (Weaknesses) สิ่งที่หน่วยงานจะต้องมีการพัฒนา หรือแก้ไขปรับปรุง (สามารถควบคุมได้) โอกาส (Opportunities) - การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกองค์กรที่ส่งผลกระทบในทางบวกต่อองค์กร (ไม่สามารถควบคุมได้) ภัยคุกคาม (Threats) - การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกองค์กรที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อองค์กร (ไม่สามารถควบคุมได้)

33 จุดแข็ง จุดอ่อน ความชำนาญในการผลิต มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
ประสบการณ์การบริหาร มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เทคโนโลยีการผลิตสูง ราคาต่ำกว่า ฯลฯ จุดอ่อน ขาดการส่งเสริมการตลาด ไม่ชำนาญด้านการขาย ขาดเงินทุนหมุนเวียน ไม่มีสินค้าคงคลังเพียงพอในช่วงเวลาขายดี ขาดการควบคุมการจัดหาวัตถุดิบ ฯลฯ

34 โอกาส ภัยคุกคาม คู่แข่งน้อย/อ่อนแอ ความต้องการสูง ดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ
นโยบายของรัฐเอื้อต่อธุรกิจ ตลาดเป้าหมายมีกำลังซื้อสูง ขาดแคลนสินค้าในท้องถิ่น ฯลฯ ภัยคุกคาม การขึ้นราคาวัตถุดิบ ความขาดแคลนวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของรัฐ สาธารณูปโภคไม่ดี คอรัปชั่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ

35 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

36 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

37

38 การวิเคราะห์ SWOT ข้อคิดในกระบวนการวิเคราะห์
มองแบบ Outside – In ไม่ใช่ Inside – Out แต่เพียงอย่างเดียว (คิดโดยนั่งสมมติเอาเอง และคิดว่าหน่วยงานตนเองเป็นอย่างไร โดยขาดข้อมูลสนับสนุน) อย่าคิดแต่เฉพาะในปัจจุบัน จะต้องคิดถึงโอกาสและภัยคุกคามที่มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (3-5 ปี) SWOT แต่ละข้ออาจจะมีน้ำหนักหรือความสำคัญที่แตกต่าง วิเคราะห์แล้ว ควรสรุปให้เห็นภาพด้วยว่าสถานการณ์ขององค์การเป็นอย่างไร

39 กระบวนการในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
การวิเคราะห์ปัจจัยทางยุทธศาสตร์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม (SWOT) การกำหนดทิศทางของหน่วยงาน วิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) การวิเคราะห์ถึงประเด็นสำคัญที่จะต้องมุ่งเน้น / ให้ความสำคัญเพื่อที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) การกำหนดเป้าประสงค์สำหรับแต่ละประเด็น เป้าประสงค์ (Goals) การกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของแต่ละเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) และ เป้าหมาย (Target) การกำหนดกลยุทธ์หรือสิ่งที่จะทำเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ กลยุทธ์ (Strategies)

40 การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ สิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนา สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ประเด็นที่สำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาเพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์

41 การกำหนดเป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ประการที่ 1
ประเด็นยุทธศาสตร์ ประการที่ 2 เป้าประสงค์ ข้อที่ 1 เป้าประสงค์ ข้อที่ 2 เป้าประสงค์ ข้อที่

42 ความเชื่อมโยงระหว่างวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ส่วนที่ 1 วิสัยทัศน์ส่วนที่ 2 เป้าประสงค์ที่ 1 เป้าประสงค์ที่ 2 เป้าประสงค์ที่ 3 เป้าประสงค์ที่ 4

43 แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็น ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ 1. 1. 1.1 1.2 1.1 1.2 1.3 2. 2. 2.1 2.2 2.1 2.2 2.3 3. 3. 3.1 3.2 3.1 3.2

44 การกำหนดกลยุทธ์ กลยุทธ์ เป็นสิ่งที่หน่วยงานจะทำ หรือ ดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ เป้าประสงค์แต่ละประการ จะต้องมีกลยุทธ์มารองรับ กลยุทธ์เป็นการมองถึงสิ่งที่จะทำให้บรรลุเป้าประสงค์ แต่ยังไม่ลงไปในรายละเอียดถึงขั้นของโครงการ กลยุทธ์แต่ละข้อจะต้องมีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพ

45 การกำหนดกลยุทธ์คือการตอบ 3 คำถามสำคัญ
Where are we now? ปัจจุบันเราอยู่ ณ จุดไหน? SWOT Analysis Where do we want to go? เราต้องการไปสู่ จุดไหน? Vision and Goals How do we get there? เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร? Strategies

46 แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์
Top - Down แปลงจากนโยบายของรัฐบาล หรือ ของหน่วยงานในระดับที่อยู่เหนือขึ้นไป จากผลการวิเคราะห์ SWOT จากสิ่งที่ผู้บริหารคิด หรือ อยากจะทำ Bottom – Up เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น

47 การกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส รุก (aggressive) พัฒนาองค์การ (turnaround) ป้องกัน/แตกตัว (defend/diversify) ประคองตัว/ถอย (retrenchment) ภัยคุกคาม

48

49 กระบวนการในการแปลงแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ
การกำหนดกลยุทธ์ กลยุทธ์ (Strategies) หน่วยงานที่รับผิดชอบกลยุทธ์ แต่ละข้อ หน่วยงานที่รับผิดชอบ โครงการและสิ่งที่จะดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ โครงการ (Project) หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละโครงการ งบประมาณที่จะต้องใช้สำหรับแต่ละโครงการ งบประมาณที่จะเสนอขอ

50 โครงการ หน่วยงาน รับผิดชอบ งบประมาณที่ได้รับ จัดสรรในปี 25.. กลยุทธ์ (Strategies) 1.1 … 1.1.2 1.2 … 1.2.2 2.1 … 2.1.2 2.2 … 2.2.2

51 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพในระดับสากล 
เป้าประสงค์ บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่เป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล มีทักษะความเป็นผู้นำ ขยัน อดทน ใฝ่รู้ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างมีเหตุผล การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับสากล (World Class University) การให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร้อยละของบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ความสำเร็จของการพัฒนาเป็น e – University ผลการตรวจสอบและประเมินระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวทางของ สกอ. และ สมศ. ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย และ ของโลก จำนวนผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้มีความสามารถพิเศษที่ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

52 เป้าหมาย ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งคุณธรรมจริยธรรม และความรู้ ความสามารถ ในระดับดีขึ้นไป บัณฑิตที่จบการศึกษาในแต่ละปีมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ความสำเร็จของการพัฒนาเป็น e – University ภายในปี 2559 ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากทุกปี ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เอเชีย และระดับโลก อยู่ในอันดับที่ไม่เกินกว่าที่ 3 ของทุกประเทศทุกปี อยู่ใน 50 อันดับของเอเชียภายในปี 2559 อยู่ใน 300 อันดับของโลกภายในปี 2559 ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาตามความสามารถ เพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

53 กลยุทธ์ นำระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning, Self Direct Learning, Life Long Learning และ ICT Integrated Learning มาใช้อย่างจริงจัง พัฒนาและเพิ่มจำนวนหลักสูตรสหกิจศึกษาในทุกกลุ่มสาขา พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่นักศึกษา พัฒนาและส่งเสริมความเป็นนานาชาติ (English & ICT Literacy) พัฒนาความเป็น e – University ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐานของประเทศไทย (TQF) และมาตรฐานสากล ปรับโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน/ผู้ใช้บัณฑิตอย่างแท้จริง เปิดหลักสูตรสองภาษา (Bilingual) หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรร่วมมือกับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นในคณะที่มีความพร้อม ปรับปรุง / พัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีความเป็นนานาชาติโดยเป็นหลักสูตรที่เน้นการศึกษาเชิงวิจัย / การเรียนรู้ด้วยตนเองร่วมกับชุมชนและภาคเอกชนให้มากขึ้น จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพนักศึกษาตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถออกแบบวิชาที่ประสงค์จะเรียน และสนับสนุน multi – disciplinary approach

54 พัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะในการสอน/ วิจัย และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบตามมาตรฐาน ปรับปรุง / พัฒนาห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอน การวิจัยให้ได้มาตรฐานสากล สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ( Health University) สร้างและพัฒนาระบบการจูงใจให้นักเรียนเก่งเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยต่อผู้ปกครองเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการเลือกเรียนของนักเรียน พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างความรู้ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาแก่ส่วนงานอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสฝึกงานหรือทำงานในบริษัทชั้นนำระดับนานาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศ พัฒนาฐานข้อมูล Recruiters List ของมหาวิทยาลัยให้มีความสมบูรณ์และมีความทันสมัย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ/ หรือเพิ่มการรับเข้านักศึกษาจากนานาชาติ จัดสรรที่นั่งและโอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ แสวงหาแหล่งเงินและจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส การจัดหาสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการทางการศึกษาอื่นเพื่อรองรับผู้พิการ ผู้มีความสามารถพิเศษประเภทต่างๆ

55 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ ความมั่นคงของท้องถิ่น ประเทศ และ สากล เป้าประสงค์ : เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่มีคุณภาพระดับโลก ตัวชี้วัด ผลการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติ จำนวนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ในชุมชนและสังคม (การเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ / การนำไปอ้างอิง (Citation) ในฐานข้อมูลมาตรฐานสากล / Refereed journal/ การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ ลิขสิทธิ์ จำนวนเงินทุกวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก / ภาคการผลิต จำนวนอาจารย์ นักวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จำนวนโครงการวิจัยที่ร่วมบูรณาการกับประเทศกลุ่มอาเซียนและนานาชาติ

56 เป้าหมาย ผลงานจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติ อยู่ในอันดับที่ไม่เกินกว่าที่ 2 ของประเทศทุกปี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้รับการตีพิมพ์ / นำไปอ้างอิง และพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ มีเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ผลงานวิจัยได้รับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ทุกปี เงินสนับสนุนงานวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก / ภาคการผลิต เพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 อาจารย์ นักวิจัย ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายใน และแหล่งทุนภายนอกร้อยละ 80 ของอาจารย์ / นักวิจัยทั้งหมด จำนวนโครงการวิจัยที่ได้ร่วมบูรณาการกับประเทศกลุ่มอาเซียนและนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 2 โครงการต่อปี

57 กลยุทธ์ พัฒนาและส่งเสริมการวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกับภาควิชาการ ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม วิจัยเชิงนโยบายสาธารณะ วิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนานักวิจัยทุกมิติ พัฒนาระบบบริหารจัดการทุนวิจัย การจัดสรรทรัพยากรวิจัย การสนับสนุนทุนวิจัยสมทบ (Matching Fund) และทุนวิจัยเริ่มต้น (seeding money) สร้างและพัฒนาระบบพี่เลี้ยง (Mentor System) การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ รวมทั้งมีระบบทางด่วน (Fast Track) ที่สนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ (young star - researchers) พัฒนาวารสาร CMU journal ให้มีคุณภาพระดับนานชาติ โดยการจัดระบบการบริหารจัดการของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Press)

58 พัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัย (CMU – RIS) ให้มีคุณภาพและทันสมัย
ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิจัยไปนำเสนอผลงานทางวิชาการในเวทีระดับชาติ และ นานาชาติ สร้างและพัฒนาระบบ Research Assistant (RA) และนำมาใช้อย่างจริงจัง ส่งเสริม พัฒนาความรู้ และผลักดันให้อาจารย์ / นักวิจัยดำเนินการเพื่อขอรับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ ลิขสิทธิ์ ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจคณาจารย์ / นักวิจัย ที่ประสบผลสำเร็จในการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ ลิขสิทธิ์ ผลิตผลงานวิจัยที่เป็นลักษณะเชิงบูรณาการและสหวิทยาการ งานวิจัยเชิงวิชาการที่เป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยตามความต้องการของพื้นที่ งานวิจัยที่ตอบโจทย์/ ปัญหาของประเทศ และตอบนองต่อการพัฒนาภาคการผลิต เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา/ องค์กรกับประเทศกลุ่มอาเซียน และกับนานาชาติในสาขาที่มีความพร้อมและแสวงหานักวิจัยระดับนานาชาติมาร่วมทำวิจัย

59

60 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

61 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


ดาวน์โหลด ppt การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google