งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สัมมนาวิชาการ “แนวทางการพัฒนาความเป็น มืออาชีพในงานสังคมสงเคราะห์” 26 มกราคม 2550 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สัมมนาวิชาการ “แนวทางการพัฒนาความเป็น มืออาชีพในงานสังคมสงเคราะห์” 26 มกราคม 2550 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สัมมนาวิชาการ “แนวทางการพัฒนาความเป็น มืออาชีพในงานสังคมสงเคราะห์” 26 มกราคม 2550 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

2 รายชื่อแกนนำการพูดคุย ผู้กระตุ้น/จุดประเด็นความคิด 1) นางขนิษฐา เทวินทรภักติ นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่ง ประเทศไทย 2) ศาสตราจารย์ ยุพา วงค์ไชย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 3) นางปิยะฉัตร ชื่นตระกูล กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 4) น.ส. จินตนา นนทะเปารยะ ผู้อำนวยการสหทัยมูลนิธิ 5) นายชินชัย ชี้เจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงาน ก.ส.ค. ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

3 ปรากฎการณ์ (ลบ) ปัจจุบันมีกฎหมาย 7 ฉบับที่กำหนดให้ใช้วิชาชีพ สค. “นักสังคม” ยังอธิบายให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ว่างาน สค. เป็นศาสตร์ ศิลป์ อย่างไร มีรูปธรรมอะไรว่า ไม่มีเครื่อง พิสูจน์ว่าขาดนักสังคมฯวิชาชีพ แล้วจะเดือดร้อนอย่างไร ภาพลักษณ์เรื่อง “การแจกของ” “บทบาทของนักสังคมฯ อาสาสมัคร” เด่นกว่างาน สค. มืออาชีพ ยังมีความความเข้าใจผิด ระหว่าง “มนุษยธรรม” กับ “ความเป็นมืออาชีพ” ในการทำงานช่วยเหลือสังคม งาน สค. จับต้องหรือพิสูจน์ได้ยากว่าเกิดผลแล้ว

4 ปรากฎการณ์ (บวก) แต่บางส่วนก็มองว่ามีวิวัฒนาการเรื่องความเข้าใจงาน สค. ดีขึ้นตามลำดับ ปัจจุบัน “ฟ้าสว่าง การเมืองเปิด” ส่งเสริมให้ทำ caring society และงานสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพมากขึ้น (เปิด โอกาสให้งาน สค.) ประชาชน ชุมชน เอกชน สนใจเรื่องสวัสดิการสังคม มาก ขึ้น ชาวบ้านรู้เรื่องสิทธิต่างๆ และทวงถามมากขึ้น

5 ความเป็นมืออาชีพ > วิชาชีพ > อาชีพ ปรัชญา (philosophy) หลักการ (principles) เกณฑ์ (criteria) ตัวชี้วัด (indicators of success) ศึกษาหาข้อมูล และความรู้ตลอดเวลา (โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง จากอินเตอร์เนต) ระบบการสอนงานอย่างเข้มข้น (supervision) มี case conference บ่อยๆ การพัฒนาบุคลากร (in service training) ตลอด ไม่ใช่ ปล่อยให้เจ้าหน้าที่รู้เฉพาะงานแบบแคบๆ

6 ความเป็นมืออาชีพ > วิชาชีพ > อาชีพ พัฒนาวิธีการทำงาน เช่น จาก case work ไปสู่ group work และการสร้างเครือข่าย การ empower clients และ stakeholder อื่นๆ (ญาติ) เปลี่ยนสถานภาพจาก ผู้รับบริการ เป็น ผู้ช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือเพื่อนๆ (อาสาสมัคร, ผู้ช่วยเหลือนักสังคม) การแยกแยะประเภทและศักยภาพของ client (customer segmentation) และจัดบริการให้อย่างเหมาะสม “ใจ” ต้องพร้อมก่อน Social worker, auxiliary social worker, para social worker

7 ความเป็นมืออาชีพ > วิชาชีพ > อาชีพ บุคลากรในงานสังคมสงเคราะห์ 4 ประเภท 1) นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ (Professional Social worker) จบด้านสังคมสงเคราะห์โดยตรง 2) ผู้ช่วยงานสังคมสงเคราะห์ (Auxiliary or para social worker) จบด้านอื่นแต่ทำงานสังคมสงเคราะห์ 3) ผู้ช่วยงานสังคมสงเคราะห์ชุมชน (indigenous para social worker) คนในชุมชนที่ผ่านการอบรมแล้วมาเป็นผ็ ช่วยการทำงาน 4) อาสาสมัคร (volunteers) ผู้อาสามาทำงานให้สังคม และชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

8 ความเป็นมืออาชีพ > วิชาชีพ > อาชีพ องค์ประกอบการเป็นวิชาชีพตามกฎหมาย ลักษณะเนื้องานวิชาชีพ, คุณสมบัติคนทำงาน (ปฏิบัติโดย ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา), ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มี คุณวุฒิอื่นๆปฏิบัติงานแทนได้, เป็นงานที่มีผลกระทบต่อ ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด, มีองค์กร ตามกฎหมายรองรับ เชื่อม micro, meso กับ macro ให้ได้ ร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศด้าน สค. ให้ได้

9 การสื่อสารกับภายนอก –ไม่ใช่ propaganda –บอกให้โลกรู้ด้วยการกระทำ –ต้องพยายามทำให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่เราเข้าใจกันเอง และต้องระวังผลกระทบจากการใช้คำศัพท์เฉพาะในการ ทำงานของเรา

10 แง่คิดในการขับเคลื่อนงาน สค. อย่าทำงานแค่เพียงตาม “หน้าที่” หรือทำตามที่คนอื่นๆ เคยทำเท่านั้น ทำงานแบบ “ถอนราก ถอนโคน” คล้ายระบบ crisis management ที่กำหนดในแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สร้าง สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2550-2554 ต้องเชื่อมโยงกับสากล

11 บทเรียนความสำเร็จในการทำงาน ไปช่วยงาน “ผู้ใหญ่” (ปูชนียบุคคล) เรียนรู้จากการทำงาน ทบทวน ความคิด ประสบการณ์ ในการทำงาน (knowledge management) เปิดตัวทำงานร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ (ได้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์กับคนอื่นๆ) มองมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมืองให้ออก อย่ามองแค่ ปัญหาเฉพาะหน้าของ client

12 บทเรียนความสำเร็จในการทำงาน ทำงานเชิงรุก และทำตัวเองให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ ตลอดเวลา มองแบบองค์รวม (ป้องกัน แก้ไข พัฒนา) เชื่อมโยงไปถึง ระดับนโยบาย กฎหมาย (บริการ วิจัยเพื่อปรับปรุงบริการ บริหารจัดการ นโยบาย) การพัฒนาตนเอง (ผ่าน action research)

13 ข้อสังเกต เงื่อนไขขององค์กร (ระเบียบ กติกา วัฒนธรรมองค์กร) ของภาครัฐ จะเป็นอุปสรรคหรือไม่

14 กระบวนการขับเคลื่อนวิชาชีพ แก้ไข ยกร่างกฎหมาย การรับรองมาตรฐาน

15 โจทย์สำหรับคณะสังคมฯ ผลิตบัณฑิตได้มาตรฐานไหม ต้องเพิ่มความรู้เรื่อง การ บริหารจัดการเพิ่มไหม (รองรับการไปทำงาน) ควรเปิดสอน สค. ในหลายมหาวิทยาลัยดีไหม จะช่วยสร้างเครื่องมือทำงานด้าน สค. ได้ไหม สร้าง theory of practices, practical theory ช่วยสร้างการศึกษาด้าน สค. ในเพื่อนบ้าน สร้างมาตรฐาน การศึกษาด้าน สค. ระหว่างเพื่อนบ้าน จัด short course ตาม issue สำคัญๆได้ไหม, เอา best practices มาเล่าสู่กันฟัง, เทคนิคการวิเคราะห์, action research, วิจัยแบบสหวิชาชีพ

16 ยุทธศาสตร์ ? คนที่ไม่จบ สค. แต่ทำงานได้ดี มีคุณสมบัติส่วนตัว เหมาะสม จะเรียกว่า เป็นนักสังคมฯ ได้ไหม จัดเรียง priority กลุ่มเป้าหมายต่างๆ

17 ประเด็นน่าสนใจ ตำแหน่ง สค. แต่ไม่เรียนทาง สค. โดยตรง (ควรมีการ สำรวจ และเพิ่มความรู้ให้ครบถ้วน ?) งาน สค. เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวตนสูง และต้องยึดหลักการ สค. ให้มั่น งาน สค. ใน พมจ. ต้องกำหนดให้ทำ case conference & case management ชื่อตำแหน่งงานเปลี่ยนตามชื่อหน่วยงานทำให้เสีย เอกลักษณ์ ตัวตนในการทำงาน ต้องมีความรู้หลายอย่าง และต้องแม่นยำในความรู้ (สร้าง ความชำนาญเฉพาะด้าน) ต้องสร้างทักษะในการทำงานกับวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้ง ความรู้ในเรื่อง issue หลักๆของหน่วยงานต้นสังกัด

18 ประเด็นน่าสนใจ งาน สค. ถูกมองว่าเป็นงานรอง เป็นงานสนับสนุน ขึ้นกับ ว่าวิชาชีพหลักเขาจะจ่ายงานให้หรือไม่ ขาดโอกาสในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้กับอาชีพอื่นๆ และกับประเทศอื่นๆ esp. การสัมนานานาชาติ ขาดมาตรฐานในการทำงานเป็นอย่างเดียวกัน (เช่น ระหว่างโรงพยาบาล) การจูงใจให้วิชาชีพอื่นเห็นว่าเขาควรเอาเวลาไปทำอย่าง อื่นที่เป้นงานหลัก ไม่ต้องมาแย่งทำงานของ สค. วิชาชีพมาเรียน counseling, จิตวิทยา มากขึ้น และไป แย่งบทบาทของนักสังคมฯมากขึ้น

19 ประเด็นน่าสนใจ ระบบ refer คนไข้ไปหน่วยงานอื่นล่าช้า ทำให้ นัก สค. ในโรงพยาบาลถูกตำหนิ เพื่อนฝูงในหน่วยงานอื่นจะช่วย ได้อย่างไร การจับประเด็นปัญหา และทำงานนั้นๆอย่างต่อเนื่อง พร้อม สร้างความรู้จากบทเรียนการทำงาน เผยแพร่ความรู้ที่เรา ได้ผ่านสื่อต่างๆ ต้องยึดมาตรฐานการทำงานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กรณีทำงานกับวิชาชีพอื่นๆ เน้นการสร้างกลไกการทำงาน รวบรวม best practices, techniques การทำงานจาก แหล่งต่างๆ

20 ประเด็นน่าสนใจ ระบบหมุนเวียนคนเข้าไปทำงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ ทำงานแทนกันได้ ต้องกล้าแสดงออก และไม่ยอมจำนนง่ายๆ ต้องทำ job description, core competency ระบบ case management, ระบบติดตามจนเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งการ refer การประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ, ระบบ ข้อมูล การเข้าใจและทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิของกลุ่มเป้าหมาย โอกาสการสร้างตำแหน่งใหม่ทาง สค. และการสร้าง synergy ระหว่างวิชาชีพต่างๆ

21 ประเด็นน่าสนใจ เริ่มต้นที่ตัวเราก่อน เริ่มจากเล็ก (small is beautiful) เปลี่ยนวิธีคิด ไม่แย่งเป็นพระเอก นางเอก แต่เราเป็นหนึ่ง ในทีมงานที่ทำให้งานใหญ่สำเร็จ คิดอย่างละเอียด รอบคอบ (well begun is half done) (การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับงานสำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง) คิดเชิงบวก “เราก็หนึ่งในตองอู ไม่ใช่หนึ่งในใบตอง” ใช้ประโยชน์จาก corporate social responsibility (CSR)

22 ติดตามข่าวสาร ส่งข่าวคราว ความก้าวหน้า ชื่อและผลงานที่ดีเด่น ของเพื่อนนักสังคมสงเคราะห์ในสาขาต่างๆได้ที่ www. ของคณะ www.tu.ac.th/org/socadm


ดาวน์โหลด ppt สัมมนาวิชาการ “แนวทางการพัฒนาความเป็น มืออาชีพในงานสังคมสงเคราะห์” 26 มกราคม 2550 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google