งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรกฎาคม 2554

2 2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ
2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ ผู้ป่วยเป็นหญิงหม้ายอายุ 70 ปี อยู่คนเดียว กินยานอนหลับเพื่อฆ่าตัวตาย แพทย์ถูกตามไปพบ ในมือถือเศษกระดาษมีข้อความว่า ผู้ป่วยกินยานอนหลับ ต้องการตาย ขอให้แพทย์อย่านำส่งโรงพยาบาล และไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ แพทย์ทำตามความต้องการของผู้ป่วย รออยู่จนผู้ป่วยตาย ความเห็นนักกฎหมายส่วนมากร้อยละ 71.8 แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

3 2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ
2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ B. แพทย์นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการรักษา แต่ไม่ฟื้น อยู่ในเครื่องช่วยหายใจ แพทย์ปิดเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยตาย ความเห็นนักกฎหมายส่วนมากร้อยละ 80.2 แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

4 หลักกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคท้าย
“การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย”

5 2540 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ
ผู้ป่วยอายุ 60 ปี เป็นโรคความดันโลหิต มีอาการหมดสติทันที เพราะหลอดเลือดในสมองแตก เลือกออกในสมองจำนวนมาก แพทย์บอกว่า ถ้าไม่ผ่าเอาเลือดออก ผู้ป่วยจะตาย แต่ถ้าผ่า ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่จะอยู่ในสภาพเจ้าหญิงนิทรา ญาติไม่ยอมให้แพทย์ผ่า แพทย์จึงปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมา

6 2540 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ (ต่อ)
A. ผลของความเห็น ร้อยละ 26.4 แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ร้อยละ 72.4 แพทย์ไม่มีความผิด B. กรณีผ่าแล้ว ผู้ป่วยไม่ฟื้น แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยตายในเวลาต่อมา ผลของความเห็นแยกเป็น 2 กลุ่ม - ผู้ป่วยตาย 2 ชม.หลังถอด แพทย์มีความผิด 68.6/ ใม่ผิด 28.5 - ผู้ป่วยตาย 30 วันหลังถอด แพทย์มีความผิด 34.3/ ไม่ผิด 62.4

7 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ มาตรา 12 “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2550)
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2550)
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ . . .

10 สิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเท่าเทียมกัน ทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง

11 สิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การดำรงชีวิต = วิถีชีวิต
ข้อ 3 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย การดำรงชีวิต = วิถีชีวิต The right to self-determination (สิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง)

12 มาตรา 8 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
มาตรา 8 ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้


ดาวน์โหลด ppt ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google