งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางสาว ธันยพัต ภักดี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจรัลสนิทวงศ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางสาว ธันยพัต ภักดี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจรัลสนิทวงศ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางสาว ธันยพัต ภักดี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจรัลสนิทวงศ์
ทัศนคติที่มีต่อการนำระบบ E-Learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจรัลสนิทวงศ์ นางสาว ธันยพัต ภักดี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจรัลสนิทวงศ์

2 ปัญหาการวิจัย นโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ามีความสอดคล้องกับกระแสดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ในอนาคตคนไทยทุกคน จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี และจะมีความสามารถทักษะในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นเทคโนโลยีก็ยิ่งทวีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการศึกษา โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งข้อมูล ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างปัจเจกบุคคล องค์กร ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ

3 วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนแบบ E-learning ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการ จรัลสนิทวงศ์ และนำไปสู่แนวทางการใช้ E-learning เพื่อส่งเสริมการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการ จรัลสนิทวงศ์ อย่างมีประสิทธิภาพ

4 ผังสรุปสำคัญ ประชากรที่ศึกษา ตาราง 1 จำนวนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการ จรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2556

5 ผังสรุปสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูล
ตาราง 2 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของทัศนคติที่มีต่อการใช้ระบบ E-learning ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 200 คน

6 สรุปผลการวิจัย ส่วนที่ 1
วิเคราะห์ลักษณะข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เพศ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาขาวิชาที่เรียน แยกออกเป็น 4 สาขา ๆ ละเท่า ๆ กัน ประกอบด้วยสาขาการจัดการ การตลาด การบัญชี และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ มากที่สุด รองลงมา คือระดับสูงกว่า 3.00 ขึ้นไป และ ตามลำดับ ประสบการณ์ในการเรียนโดยใช้ระบบการเรียนการสอนแบบ E-learning ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีประสบการณ์ในการเรียนการสอนแบบ E-learning มากกว่าไม่มีประสบการณ์ ความต้องการให้นำระบบการเรียนการสอนแบบ E-learning ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความต้องการให้นำระบบการเรียนการสอนแบบ E-learning มาใช้ในสถาบันมากกว่าไม่ต้องการ

7 สรุปผลการวิจัย ส่วนที่ 2
ด้านรับรู้ประโยชน์ (Perceived Usefulness) ที่มีต่อทัศนคติในการใช้ระบบ E-learning มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.42 อยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง ด้านรับรู้ถึงการใช้งาน (Perceived Ease of Use) ที่มีต่อทัศนคติในการใช้ระบบ E-learning มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.45 อยู่ในระดับความคิดเห็นด้วยมาก ด้านเงื่อนไขในการอำนวยความสะดวก (Facilitating conditions) ที่มีต่อทัศนคติในการใช้ระบบ E-learning มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.93 อยู่ในระดับความคิดเห็นด้วยมาก ทัศนคติที่มีต่อการใช้ระบบ E-learning ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.97 อยู่ในระดับความคิดเห็นด้วยมาก สุดท้ายคือทัศนคติที่มีต่อการใช้ระบบ E-learning ทางด้านการเรียนผ่านระบบ E-learning ช่วยเสริมการเรียนในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 อยู่ในระดับความเห็นด้วยมาก และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88

8 สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติเกี่ยวกับการนำระบบ E-learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของทุกระดับการศึกษา และทุกสาขาอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก จากการวิเคราะห์สังเกตได้ว่าประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนผ่านระบบ E-learning มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง ทำให้การจัดสรรเวลาในการเรียนผ่านระบบ E-learning ยืดหยุ่นขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ทัศนคติเกี่ยวกับการนำระบบ E-learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการนำระบบ E-learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกันมากนัก อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาและค่าเดินทาง, ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา สามารถวัดผลการเรียนรู้ได้ทันที เข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียนและเวลาที่เรียน

9 จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt นางสาว ธันยพัต ภักดี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจรัลสนิทวงศ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google