งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 2"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 2
บทที่ 7 เครื่องแต่งกาย ของ คนไทยสมัยต่าง ๆ: ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 2

2 คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 3
สมัยไทยมุง 2 บุรุษและสตรีเกล้าผมสูง สวมเสื้อไม่มีแขน ผ่าหน้า ติดกระดุม นุ่งกางเกง สมัยอ้ายลาว การแต่งกายในสมัยนี้อยู่ในยุคบุกป่าฝ่าดง จึงแต่งให้กระชับเข้า โดยการรัดขากางเกง มุ่นผมให้สูงขึ้นทั้งบุรุษ และสตรี เสื้อก็ใช้ปิดคอและแขนยาว การประดับอาภรณ์ต่าง ๆ ก็มีอยู่บ้าง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 3

3 คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 4
3 สมัยน่านเจ้า เนื่องจากไทยน่านเจ้าได้มีระบบการจัดตำแหน่งขุนนางขึ้นอย่างครบครัน ดังนั้นการแต่งกายเพื่อเสริมความสง่าผ่าเผยจึงอาจมีขึ้นด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีหนังเสือคลุมกาย ผ้ารัดพุงสีทอง ชั้นสูงกว่านี้ใช้ผ้ารัดพุงสีแดงแถบเหลือง ชั้นผู้น้อยใส่เสื้อแบบเสื้อกั๊ก ด้านหน้ามีลายปักหรือผ้าห้อย คล้องคอบอกชั้นยศ สตรีชั้นผู้ดีในสมัยน่านเจ้านุ่งซิ่นไหม บนเอวมีผ้าซิ่นไหมประดับอีกผืนหนึ่ง ไว้ผมสูง บางทีประดิษฐ์ผมเป็นเปียห้อยแล้วม้วนไว้ด้านหลัง ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิม หรืออำพัน คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 4

4 คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 5
สมัยฟูนัน 4 บุรุษนุ่งโจงกระเบนหรือโธตีตามแบบอินเดียใต้ยาวคลุมหัวเข่า คาดเข็มขัดและพับขอบผ้านุ่ง ชักชายผ้าออกมาค่อนข้างมากปิดหัวเข็มขัด เครื่องประดับร่างกายมีทั้งเครื่องประดับศีรษะ กรองคอ ต่างหู พาหุรัด กำไลข้อมือ และเข็มขัด ทั้งบุรุษและสตรีน่าจะไว้ผมยาวเกล้าผมมุ่นเป็นมวยไว้กลางกระหม่อม และมีเครื่องประดับศีรษะ เช่น พวงดอกไม้รัดรอบมวยผม เกี้ยวสำหรับประดับ รอบมวยผม เทริด (เครื่องประดับศีรษะรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) ชฎามกุฎทรงกรวยยอดตัด ด้านหน้าทำเป็นกรอบหน้า คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 5

5 คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 6
สมัยทวารวดี 5 บุรุษสมัยทวารวดีเกล้าผมมวย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าผืนยาวครึ่งแข้งหรือนุ่งโจงกระเบนแบบโธตี ตกแต่งร่างกายด้วยตุ้มหู กรองคอ กำไลแขน กำไลมือ ไม่สวมรองเท้า สตรีสมัยทวารวดีไว้ผมเกล้ามวย ไม่นิยมสวมเสื้อ ใช้ผ้าสะพายเฉียงบาง ๆ นุ่งผ้าผืนเดียวทบซ้อนกันข้างหน้า ยาวครึ่งแข้ง ตกแต่งร่างกายด้วยตุ้มหู กรองคอ กำไลแขน กำไลมือ ไม่สวมรองเท้า คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 6

6 คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 7
สมัยศรีวิชัย 6 บุรุษสมัยศรีวิชัยไว้ผมทรงเกล้าตรงเป็นกระพุ่มมวยเรียวสูง รัดด้วยเครื่องประดับ ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าแบบชายพกต่ำ ผืนยาวครึ่งแข้ง ตกแต่งร่างกายด้วยตุ้มหู สร้อยคอ กำไลแขน กำไลมือ ไม่สวมรองเท้า สตรีสมัยศรีวิชัยไว้ผมเกล้ามวย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้า ยาวครึ่งแข้ง ตกแต่งร่างกายด้วยตุ้มหู กรองคอ กำไลแขน กำไลมือ กำไลเท้า ไม่สวมรองเท้า คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 7

7 คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 8
สมัยลพบุรี 7 บุรุษสมัยลพบุรีไว้ผมยาวเกล้ามวย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าสั้นเหนือเข่า ทิ้งชายพกออกมาข้างนอกเป็นแผ่นใหญ่ ตกแต่งร่างกายด้วยตุ้มหู สร้อยคอ กำไลแขน กำไลมือ กำไลเท้า ไม่สวมรองเท้า สตรีสมัยลพบุรีไว้ผมเกล้ามวย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้ายาว ครึ่งแข้ง ตกแต่งร่างกายด้วยตุ้มหู กรองคอ กำไลแขน กำไลมือ กำไลเท้า ไม่สวมรองเท้า คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 8

8 สมัยเชียงแสน ภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงว่าบุรุษสมัยเชียงแสน
8 ภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงว่าบุรุษสมัยเชียงแสน นิยมนุ่งสนับเพลา ใส่เสื้อแขนยาวปล่อยชายผ่าอก ติดกระดุม บ้างใช้ผ้าพาดบ่า ส่วนสตรีนุ่งผ้าซิ่น แบบผ้าถุง กรอมถึงข้อเท้า มีผ้ารัดอกและสไบห่ม ไว้ผมมวยเกล้ารัดมวยผมด้วยเครื่องประดับ สอด ต่างหูห้อย ขณะที่งานประติมากรรมแสดงว่าบุรุษและสตรีชั้นสูงนุ่งผ้าจับกลีบ มีหัวเข็มขัดคาดทับผ้านุ่งซึ่งพับกลีบยาวลงมาครึ่งแข้ง และนิยมนุ่งผ้าสองชาย สวมมงกุฎทรงสูง ใส่ต่างหู กรองคอและสังวาล กำไลมือ และรัดแขน สิ้นสุดการนำเสนอ - ดับเบิ้ลคลิ๊กซ้าย


ดาวน์โหลด ppt โดย รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google